พูดถึง”ดอกมะไพ” มะไฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Baccaurea ramiflora; วงศ์: Phyllanthaceae) ภาคใต้เรียกส้มไฟ เพชรบูรณ์เรียกหัมกัง เป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ต่อมาจึงแพร่หลายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว รูปไข่ ดอกเป็นช่อสีชมพูอ่อนหรืออมเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ผลออกเป็นช่อ ผลอ่อนมีขนคล้ายกำมะหยี่ พอแก่ผิวเกลี้ยง เปลือกสีเหลือง เนื้อสีขาวขุ่นหรือขาวใสอมชมพู แล้วแต่พันธุ์ เมล็ดแบนสีน้ำตาล พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่
พันธุ์ไข่เด่า ผลกลมรี ก้นแหลม เนื้อสีอมชมพู หวานอมเปรี้ยว มี 3-4 พู
พันธุ์เหรียญทอง ผลใหญ่ ก้นเรียบ สีขาวขุ่น มี 2-3 พู ฉ่ำน้ำ หวานน้อยกว่าพันธุ์ไข่เต่า
ในสิบสองปันนา ประเทศจีน มีมะไฟสีม่วง โดยเปลือกเป็นสีม่วง
การใช้ประโยชน์ แก้ไข มะไฟกินสุกเป็นผลไม้สด ทำน้ำผลไม้ ผลอ่อนนำไปแกง ผลมะไฟช่วยให้ชุ่มคอ ขับและละลายเสมหะ เปลือกต้มแก้โรคผิวหนัง ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปใส่แกงปลา มีรสเปรี้ยว ดอกไฟเป็นสีเหลือง. ชาวไทยเพิ่มอกเอาไว้ชาวไทยเบิ่งโคกสลุง ลพบุรี. บางสะพานสีเหลืองสวยงามต้องคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. พูดถึง. “ดอกมะไพ” บานแล้วที่ไทยเบิ้งโคกสลุง ลพบุรี
ตำบลโคกสลุงเป็นชุมชนไทยเบิ้งในลุ่มน้ำป่าสักที่ได้สั่งสม สร้างสรรค์ และพัฒนาวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภูมิปัญญา (เช่น ภาษา การแต่งกาย การละเล่น ผ้าทอพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน เป็นต้น) ซึ่งเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมทั้งที่มีสภาพเป็นมรดกและยังเป็นวิถีชีวิตร่วมสมัยที่ยังใช้ประโยชน์อยู่มากมาย เป็นประจักษ์พยานที่แสดงถึงรากเหง้าความเป็นมาและพัฒนาการของชุมชน ที่สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวของท้องถิ่นให้คนในชุมชนได้เรียนรู้เข้าใจและภาคภูมิใจในความเป็นชุมชนได้มากยิ่งขึ้นชาวไทยเบิ้งโคกสลุงสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้มากมาย
รำโทน เป็นการแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ ดั้งเดิมของชุมชนชาวไทยเบิ้งโคกสลุง แต่เดิมไม่มีเนื้อร้อง ได้มีการพัฒนาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการใส่เนื้อร้องเข้ากับดนตรี มีโทนตีให้จังหวะ และตบมือ ส่วนผู้รำจะรำตามจังหวะ ปัจจุบันมีเนื้อร้อง หรือชาวบ้าน เรียก “เล่นเพลงโคราช” ตามประเพณีจะมีการละเล่นในวันสงกรานต์ วันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ในพิธีเลี้ยงเจ้าบ้านพ่อหลวงเพชร หรือวันที่มีกิจกรรมพิเศษ ปัจจุบันการรำโทนมีการเล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลอื่นแล้วแต่จะกำหนด เดิมเล่นตั้งแต่เดือน ๓ ถึงฤดูทำนา เล่นในเวลากลางคืนทุกวัน ชาวบ้านที่เป็นผู้เฒ่าเล่าว่า เล่นตอนกลับจากไร่นา เลี้ยงวัวควายแล้ว ตอนเย็นจะได้ยินเสียงโทนเสียงรำมะนาเล่นกันเป็นกลุ่มๆ หนุ่มสาวใช้เวทีแห่งนี้ได้เกี้ยวพาราสีกัน คนสมัยก่อนเล่นรำโทนไม่มีการกินเหล้าเมายา
เพลงพื้นบ้านที่ร้องรำกันในสมัยก่อนได้แก่ เพลงหอมดอกมะไพ (ต้นไม้ชนิดหนึ่ง) เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงโนเน เพลงแห่นาค เป็นต้น
ตัวอย่างเนื้อร้องเพลงหอมดอกมะไพ
“…หอมเอย แต่กลิ่น เอยมา หอมดอกมะไพ
หอมเอย แต่กลิ่น เอยมา หอมดอกมะไพ
เพลงหอมแต่กลิ่นนี้มีมานาน ตั้งแต่โบราณปู่ย่าตายาย
หอมเอย ดอกมะไพ ดอกมะไพ หอมเอย…”
“ดอกมะไพ” เป็นดอกไม้ที่เคยมีในชุมชนไทยเบิ้งและได้หายสาบสูญไปหลายสิบปี ประทีป อ่อนสลุง ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลโคกสลุง เพิ่งไปค้นหาและนำกลับมาปลูกใหม่ที่พิพิธภัณฑ์มีชีวิตไทยเบิ้งโคกสลุง อีกครั้งเมื่อปี ๒๕๕๓ และที่เห็นเป็นดอกชุดแรกที่ออกดอกเมื่อปีที่แล้ว และวันนี้ดอกมะไพบ้านโคกสลุงกำลังบานเต็มที่
ปัจจุบันในชุมชนมีพ่อเพลงแม่เพลง ชาวบ้านหนุ่มสาวทั่วไปร้องเพลงได้น้อย มีแต่ผู้สูงอายุที่ร้องได้สิ่งเหล่านี้เป็นภูมิปัญญาของชุมชนที่กำลังจะหายไปพร้อมกับผู้สูงอายุของชุมชน หากไม่มีผู้นำที่ให้ผู้เฒ่าผู้แก่รวมตัวกัน และส่งเสริมสนับสนุนให้คนหนุ่มสาวของชุมชนให้มีการอนุรักษ์และถ่ายทอดให้เด็กรุ่นต่อไป การอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า มีความโดดเด่นเหล้านี้ไว้ได้ ซึ่งปัจจุบันผู้นำชุมชนได้ส่งเสริมสนับสนุน เชื่อมโยงและถ่ายทอดให้นักเรียนภายในชุมชน
ปัจจุบันรำโทนของชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุง ยังดำรงความเป็นอัตลักษณ์อยู่เนื่องจาก ๑) เป็นเพลงพื้นบ้านเก่าแก่ที่มีมาช้านาน ๒) ผู้ร้องรำต้องมีปฏิภาณไหวพริบสามารถตอบโต้ได้ทันที เพราะบางครั้งเป็นเพลงร้องแก้หรือเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิง ๓) เป็นเพลงที่ร้องรำสดๆ ผู้ร้องต้องมีความจำดี หรือทั้งร้องทั้งแต่งในเวลาเดียวกัน และ ๔) เป็นการรวมตัวของผู้สูงอายุมากกว่า ๓๐ คน และแต่ละคนมีอายุมากกว่า ๗๐ ปี ผู้ที่ร้องรำเป็นพ่อเพลงแม่เพลงของชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุง
ชาวไทยเบิ้งโคกสลุงขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจ ประสงค์จะเรียนรู้และชื่นชมวัฒนธรรม ภูมิปัญญา. หรือติดต่อเป็นคณะมาดูความสวยงามของดอกไฟที่บานสะพรั่งสีเหลืองสวยงาม และอัตลักษณ์ไทยเบิ้งที่หลากหลายและทรงคุณค่านี้ ติดต่อที่คุณมืด (นายประทีป อ่อนสลุง) ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพัฒนานิคม โทร. ๐๘๔ ๙๗๘ ๖๗๘๒ ติดต่อมาได้ทุกวันไม่มีวันหยุดตามหมายเลขข้างต้น.
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ข่าว/ สมชาย เกตุฉาย. ภาพ/ ศูนย์ข่าว,5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี