เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 เมื่อเวลา 1130 น. ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเป็นประธานในพิธีงานแถลงข่าว”สืบสานประเพณีลอยกระทงเมืองปทุม” ภายใต้ โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประเพณีวัฒนธรรม
โดยมีนางดลวสา บุญเลิศ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี
รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ วัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี นายอำเภอทุกอำเภอภายในจังหวัดปทุมธานี
นายวีรวัฒน์ วงศ์ศุปชัย รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนงานราชการจังหวัดปทุมธานีและสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากจังหวัดปทุมธานี
โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีเตรียมจัดงานประเพณีลอยกระทงประจำปี 2561 เพื่อเล่าขานตำนานดอกบัวแห่งเมืองปทุมและสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชนชาติพันธุ์ไทยรามัญซึ่งอยู่อาศัยในจังหวัดปทุมธานีมายาวนานพร้อมกิจกรรมมากมายและการประกวดกระทงชิงถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีใน งาน ปทุมบูชาตระการตาเพ็ญเดือน 12 บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าปทุมธานีและงานตำนานสายน้ำปทุมธานีวิถีไทยรามัญบริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์อำเภอสามโคกในวันพฤหัสที่ 22 พฤศจิกายนนี้ด้านดรพินิจบุญเลิศผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีเปิดเผยว่าจังหวัดปทุมธานีมีนโยบายในการส่งเสริมขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมรวมทั้งอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบสานประเพณีท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และจะจัด งานในวันพฤหัสที่ 22 พฤศจิกายนนี้ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงจังหวัดปทุมธานีโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีจัดงานประเพณีลอยกระทง 2 แห่งด้วยกันคืองานปทุมบูชาตระการตาเพ็ญเดือน 12 บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานีหลังเก่าและงานตำนานสายน้ำปทุมธานีวิถีไทยรามัญบริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์อำเภอสามโคกจังหวัดปทุมธานีซึ่งงานที่จะจัดขึ้นทั้ง 2 แห่งจะสื่อสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นเมืองดอกบัวและเอกลักษณ์ของชุมชนชาติพันธุ์ รามัญซึ่งอยู่อาศัยในจังหวัดปทุมธานีมาเวลาช้านานภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆมากมายเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมและซึมซับในประเพณีอันดีงามของไทยงานประเพณีลอยกระทงทั้งสองแห่งจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาโดยตกแต่งบริเวณงานให้ได้บรรยากาศย้อนยุคผู้ที่มาร่วมลอยกระทงและเข้าชมงานจะได้รับความเพลิดเพลินจากกิจกรรมต่างๆทั้งการแสดงประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้านการสาธิตประดิษฐ์กระทงในลักษณะแบบการรักษาสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการออกร้านของผู้ค้าด่า ๆในท้องถิ่นการประกวดหนูน้อยนพมาศและการประกวดกระทงซึ่งปีนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพลฯ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีมอบถ้วยรางวัลมาให้สำหรับการประกวดกระทงโดยงานประทุมบูชาตระการตาเพ็ญเดือนสองป บริเวณศาลากลางจังหวัดหลังเก่าที่ได้รางวัลชนะเลิศจะได้รับถ้วยจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาและรองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยจากรองนายกรัฐมนตรีวิษณุเครืองามรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับถ้วยรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนายวีระโรจน์พจนรัตน์และรางวัลชมเชยได้รับถ้วยรางวัลจากนายกฤษพงศ์ ศิริปลัดจังหวัดวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมส่วนงานตำนานสายน้ำปทุมธานีวิถีไทยรามัญบริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์อำเภอสามโคกทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับถ้วยจากผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีและผู้บริหารระดับจังหวัดตามระดับเช่นกันนอกจากนั้นแล้วเพื่อให้เป็นการเชื่อมโยงวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามเข้ากับไฮไลท์ของคนยุคใหม่ยังได้จัดการประกวดภาพถ่าย ภายในงานอีกด้วยโดยตัดสินจากยอดไลค์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งรูปที่มียอด Like มากที่สุดจะได้รับรางวัลเงินสดพร้อมใบประกิจใบประกาศนียบัตรจากทางจังหวัดโดยผู้ที่อยู่ในงานจะได้ร่วมลุ้นกันอย่างสนุกสนานแน่นอนเมืองปทุมธานีเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 300 ปีมาแล้วตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตามประวัติจะเล่าถึงชุมชนมอญที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยหลายระลอกณชุมชนบ้านสามโคก ที่ต่อมากลายเป็นเมืองสามโคกหรืออำเภอสามโคกในปัจจุบันสำหรับที่มาของชื่อปทุมธานีมาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ร.2) ได้เสด็จประพาสเมืองสามโคกเราประสบนิกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมอญมีความปราบปลื้มใจเป็นล้นพ้นจึงได้พากันนำดอกบัวหลวงที่มีขึ้นอยู่มากมายขึ้นทูลเกล้าถวายเป็นราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัย (ร.2) และได้รับพระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่าเมืองประทุมธานีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2358 ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้ใช้คำว่า”จังหวัด”แทนคำว่า”เมือง” และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดปทุมธานีใหม่เป็น ปทุมธานีมาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับงานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดปทุมธานีในปีนี้มีการจัดขึ้น 2 งานโดยมีแนวความคิดแตกต่างกัน งานปทุมบูชาตระการตาเพ็ญเดือนสอง ซึ่งจะจัดขึ้นบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดปทุมธานีหลังเก่าความหมายถึงจังหวัดปทุมธานีและชาวปทุมธานีนอกจากนั้นคำว่าปทุมตั้งสื่อความหมายถึงดอกบัวหรือกระทงซึ่งมีรูปทรงคล้ายดอกบัวเปรียบได้กับการที่ชาวปทุมธานีนำดอกบัวมาบูชาเพื่อสักการะและขอขมาต่อแม่พระแม่คงคาในประเพณีวันลอยกระทงสำหรับงานตำนานสายน้ำปทุมธานีวิถีไทยรามัญซึ่งจะจัดขึ้นบริเวณวัดสุราษฎร์รังสรรค์ อำเภอสามโคกนั้นสื่อถึงการสืบทอดตำนานสายน้ำของเมืองปทุมในประเพณีลอยกระทงที่คงเอกลักษณ์และวิถีวัฒนธรรมของชาวไทยรามัญซึ่งเป็นพื้นเพดั้งเดิมของชุมชนริมน้ำในจังหวัดปทุมธานีมีความเป็นมาที่ยาวนานและมีเสน่ห์น่าประทับใจชวนให้มาสัมผัส
ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำรายงาน