ได้มีประชาชนทุกสารทิศ ทั่วไทย เดินทางมาไหว้ขอพรเจ้าพ่อพระกาฬ ก่อนไปทำงาน ที่แห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์ ขออะไรได้สมปรารถนา ลือลั่นไปทั่วสารทิศ เจ้าพ่อพระกาฬเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของลพบุรี และเป็นที่เคารพนับถือของชาวตรวจลพบุรีและประชาชนรวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วไปตั้งแต่ช่วงเช้าได้มีประชาชนชาวจังหวัดลพบุรีรวมถึงนักท่องเที่ยว ทุกสารทิศ. ได้นำไข่ต้มน้ำหวานแดงน้ำอัดลมและผลไม้นานาชนิด มากราบไหว้พ่อพระกาฬการเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ได้พาครอบครัวมากราบไหว้ด้วยเพื่อขอพรสร้างความเป็นศิริมงคลให้กับตัวเองและครอบครัวก่อนที่จะเดินทางกลับไปทำงาน ในวันอังคาร เพื่อให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขการทำงานในราบรื่น. ซึ่งหลังประชาชนและนักท่องเที่ยวได้กราบไหว้ขอพรพ่อพระกาฬ แล้วต่างก็นำไข่ต้มและผลไม้นานาชนิดมาเลี้ยงลูกศิษย์เจ้าพ่อพระกาฬ เจ้าต่อที่อาศัยอยู่ที่ศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอดทำให้พวกมันได้รับสายสูงอิ่มเอนไปด้วยใน ในวันนี้ ผู้สื่อข่าวสังเกต ว่า นักท่องเที่ยวทุกพื้นที่ทั่วไทยหลั่งไหลมาที่จังหวัดลพบุรี ไม่เคยขาดตลอดทั้งวัน
ศาลพระกาฬ ศาลพระกาฬ ตั้งอยู่ริมทางรถไฟทางด้านทิศตะวันออก เป็นเทวสถานเก่าครั้งขอมครองเมืองลพบุรีสร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง จึงเรียกกันมาแต่ก่อนอีกชื่อหนึ่งว่าศาลสูง ที่ทับหลังสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทำด้วยศิลาทราย 1 แผ่น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณ ส่วนด้านหน้าเป็นศาลที่สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2496 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานรูปพระนารายณ์ยืนทำด้วยศิลา 2 องค์ องค์เล็กเป็นแบบเทวรูปรุ่นเก่าในประเทศไทยองค์ใหญ่เป็นประติมากรรมแบบ ลพบุรี แต่พระเศียรเดิมหายไปภายหลังมีผู้นำเศียรพระพุทธรูปศิลาทราย สมัยอยุธยาสวมต่อไว้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
ในอดีตศาลพระกาฬร่มรื่นไปด้วยต้นกร่างขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มากมายให้ร่มเงาครึ้มทั่วบริเวณ และมีฝูงลิงอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีละครแก้บนไว้บริการผู้ที่ประสงค์จะมาแก้บน ณ สถานที่นี้ มีผู้กล่าวว่าใครก็ตามที่มาเมืองลพบุรีแล้วไม่ได้ไหว้เจ้าพ่อพระกาฬแล้วถือเสมือนว่าไม่ได้ไปเยือนเมืองลพบุรี
ศาลพระกาฬยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาจนถึงทุกวันนี้
ลิงศาลพระกาฬ
ลิงศาลพระกาฬหรือลิงเจ้าพ่อ หรือลิงลพบุรี เป็นกลุ่มลิงที่อยู่รวมกันเป็นฝูงประมาณ 500 ตัว ลิงเหล่านี้ได้มีการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. ลิงกลุ่มใหญ่เป็นลิงประจำศาลพระกาฬที่มีชีวิตและกิจกรรมในช่วงเวลากลางวันคอยต้อนรับผู้ มาเยือน อยู่ในบริเวณศาลพระกาฬ และใช้เวลาช่วงเช้าและเย็นอยู่ในพื้นที่บริเวณเทวสถานปรางค์สามยอดและพื้นที่มุมสนามของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ในยามค่ำจะพากันรวมฝูงกลับมานอนที่ศาลพระกาฬ ลิงกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มีผู้เลี้ยงดูและมีผู้นำอาหารมาเลี้ยงเพื่อเป็นการเซ่นไหว้ แก้บนตามความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อศาลพระกาฬอยู่เสมอ ชาวบ้านจะเรียกลิงกลุ่มนี้ว่า ” ลิงเจ้าพ่อ ” หรือ ” ลิงศาลพระกาฬ ” ลิงเหล่านี้ จะมีผู้นำฝูงซึ่งเป็นลิงที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับในฝูง
2. ลิงกลุ่มเล็กๆอีกกลุ่มหนึ่งแตกหลงฝูงออกไปและไม่ได้รับการยอมรับกลับเข้าฝูง จะมีชีวิตเร่ร่อนอยู่บริเวณนอกศาล ตามทางเท้าหรือชายคาร้านค้า บ้านเรือนในเขตชุมชนเมืองลพบุรี เป็นกลุ่มลิงที่สร้างปัญหาความเสียหายและความเดือดร้อนให้กับผู้อยู่อาศัย และผู้สัญจรไปมา บางคนเรียกลิงกลุ่มนี้ว่าลิงนอกศาล ลิงตลาด หรือลิงจรจัด ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำนาจ เป็นศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด
ประวัติ
ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดิน เป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม ศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ “อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา” ทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ 1 และศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม (จารึกหลักที่ 18) อักษรหลังปัลลาวะภาษามอญโบราณ
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้สร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ทรงตึกเป็นแบบฝรั่งหรือเปอร์เซียผสมผสานกับไทยบนฐานศิลาแลงเดิม ตัวศาลเป็นอาคารชั้นเดียวหลบแดดขนาดสามห้อง ภายในบรรจุทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับเทวรูปสีดำองค์หนึ่ง ประมาณกันว่าเป็นศาลประจำเมืองก็ว่าได้
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองลพบุรีในปี พ.ศ.๒๔๒๑ ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับศาลสูง ความว่า “ออกจากพระปรางค์สามยอดเดินไปสักสองสามเส้น ถึงศาลพระกาล ที่หน้าศาลมีต้นไทรย้อย รากจดถึงดิน เป็นหลายราก ร่มชิดดี เขาทำแคร่ไว้สำหรับนั่งพัก…ที่ศาลพระกาลนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไปมาก มีบันใดหลายสิบขั้น ข้างบนเป็นศาลหรือจะว่าวิหารสามห้อง เห็นจะเป็นช่อฟ้า ใบระกา แต่บัดนี้เหลืออยู่เพียงแต่ผนัง ที่แท่นมีรูปพระนารายณ์สูงประมาณ ๔ ศอก เป็นเทวรูปโบราณทำด้วยศิลา มีเทวรูปเล็กๆ เป็นพระอิศวรกับพระอุมาอีก ๒ รูป ออกทางหลังศาลมีบันใดขึ้นไปบนเนินสูงอีกชั้นหนึ่ง มีหอเล็กอีกหอหนึ่ง มีแผ่นศิลาเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑแผ่นหนึ่ง มีรูปนารายณ์ประทมสินธุ์แผ่นหนึ่งวางเปะปะ ไม่ได้ตั้งเป็นที่…”
ราวปี พ.ศ.๒๔๖๕ ศาลเทพารักษ์องค์เดิมขนาดสามห้องได้ทรุดโทรมลงมาก จึงมีการอัญเชิญเทวรูปองค์ดำดังกล่าวลงมาประดิษฐาน ณ เรือนไม้มุงสังกะสีบริเวณพระปรางค์ชั้นล่าง
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้มีการสร้างศาลพระกาฬขึ้นใหม่เนื่องจากเรือนไม้สังกะสีเดิมได้ทรุดโทรมลง ศาลพระกาฬหลังใหม่จึงถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมทรงไทยร่วมสมัยของกรมศิลปากรสมัยหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นหัวหน้ากองสถาปัตยกรรม มีชลอ วนะภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญร่วมกับองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งชาวลพบุรีและผู้ศรัทธาจำนวนมาก ก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๙๖ ใช้งบประมาณการก่อสร้างสามแสนบาทเศษ ซึ่งดูเด่นเป็นสง่า ณ บริเวณหน้าฐานพระปรางค์โบราณ. ลูกศิษย์เจ้าพ่อพระกาฬขอต้อนรับนักท่องเที่ยว อย่างเป็นกันเอง. ครั้งต่อไปแต่มีการหยุดยาวขอเรียนเชิญท่องเที่ยวจังหวัดลพบุรีดินแดนแห่งศักดิ์สิทธิ์ดินแดนแห่งความสุขมาท่องเที่ยวสระบุรีกันมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อยู่หลายแห่งหลายที่สมควรน่าศึกษา มาท่องเที่ยวทะเลกันเยอะๆนะครับ ท่านจะได้ พรของเจ้าพ่อพระกาฬกลับไปราบรื่น ทำให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขการงานดีการเงินดีสมปรารถนาทุกประการมาของพ่อพระกาฬการให้เยอะๆนะครับ. ความศักดิ์สิทธิ์เกิน คำบรรยาย. ในวันนั้นผู้สื่อข่าวได้เกิด อุทัยเหตุทางถนน ไปขับ รถไปทำข่าวต่างพื้นที่ ได้ห้อยรูปหล่อเจ้าพ่อพระกาฬเอาไว้ 1 องค์ในคอเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาไม่คาดฝัน ได้มีรถมาเฉี่ยวชน รอดจากอุบัติเหตุอย่างปาฏิหาริย์ เพราะ ผู้สื่อข่าวนับถือก็เพราะว่าการมาตั้งแต่ เยาว์วัย รูปหล่อสร้างโดยนายประเวศ พุ่มพวง อดีตนายกเทศมนตรีเมืองล ในสมัยนั้น เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างศาล เจ้าพ่อพระกาฬ. ความศักดิ์สิทธิ์ อยู่มากมาย ทำให้ประชาชนทั่วไปนับถือท่าน ขอพรอะไรได้สมปรารถนา ได้อย่างใจคิด ฝากนักท่องเที่ยวหรือประชาชนทั่วไปสนใจมาไหว้บูชาที่ ศาลพระกาฬ เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด.
ใจรัก. วงศ์ใหญ่ ข่าว สมชาย. เกตุฉาย ภาพ. ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี