เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2561ที่ผ่านมา ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ผอ.มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นไทย ในฐานะ “ผู้ประสานงานและส่งเสริมสินค้า OTOP” นายธฤษณุ ขจรโกวิทย์ ประธาน Biz Club จังหวัดนครราชสีมา นายกฤษด์บดิณทร์ จินตนาวรารักษ์ ประธาน Biz Club จังหวัดหนองคาย พร้อมคณะเครือข่าย MOC Biz Club ภาคอีสาน ได้เดินทางไปยัง เขตเศรษฐกิจพิเศษบึงธาตุหลวง หรือที่ชาวลาวเรียกว่า คนลาวเรียกว่า SPECIAL ECONOMIC ZONE (SEZ) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยมีผู้แทนนักธุรกิจจาก สปป.ลาว และ นักธุรกิจ ผจก.เจ้าของโครงการฯ มาให้การต้อนรับ นำเสนอโครงการ และ ชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับการสร้างเมืองเศรษฐกิจพิเศษบึงธาตุหลวง
สำหรับ”บึงธาตุหลวง” แห่งประเทศลาวจะเป็นเสมือนเมือง “ดูไบ” แห่งแรกในอาเซียน เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้มีมูลค่าการลงทุน 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 54,000 ล้านบาท (เฉพาะสาธารณูปโภค) พื้นที่แห่งนี้ เคยเป็นบึงน้ำที่ชาวลาว เรียกว่า บึงธาตุหลวง แต่ปัจจุบัน ได้ถมบึงบางส่วน และปรับพื้นที่เพื่อเตรียมพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยทางการลาวเปิดให้สัมปทานแก่บริษัท เซี่ยงไฮ้ วั่นเฟิง ของประเทศจีน เป็นผู้พัฒนา พ่วงด้วยสัญญาสัมปทานนาน 99 ปี
แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบึงธาตุหลวง จะเป็นเมืองใหม่ใจกลางกรุงเวียงจันทน์ ประกอบด้วย โรงเรียนนานาชาติระดับอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล สถาบันการเงิน ศูนย์วัฒนธรรม โรงแรมระดับ 3-5 ดาวขึ้นไป หอประชุมนานาชาติ ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัยทั้งในรูปแบบบ้านจัดสรรและอาคารชุด สนามกอล์ฟ นอกจากนี้ ยัง มีหอคอยแฝด 2 หอคอย ขนาดใหญ่สูง 150 เมตร พื้นที่ในเขตท่องเที่ยว สถานทูต วัฒนธรรมและธุรกิจการเงินนั้น จะเชื่อมต่อกันด้วยถนนและคลอง (คล้ายกันกับคลองเวนิสในอิตาลี) และแวดล้อมด้วยธรรมชาติของแหล่งน้ำและสวนสาธารณะขนาดใหญ่
ยิ่งกว่านั้นยังจะพัฒนาเขตศูนย์การค้าปลอดภาษี เขตนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเพื่อการส่งออก ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน เขตศูนย์กลางการบริการทางธุรกิจการเงินและการลงทุน รวมถึงท่าเรือขนส่งสินค้า ทั้งนี้บริษัทจีนที่เป็นผู้รับสัมปทาน จะรับผิดชอบการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค มูลค่าลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์ฯ จากนั้น จะเปิดให้เอกชนที่สนใจ รวมถึงนักธุรกิจไทยเข้ามาลงทุนตามแผนพัฒนาที่วางไว้ ซึ่งจีนตกลงแบ่งรายได้ให้ลาว ร้อยละ 50 ของรายได้ค่าเช่า ปัจจุบัน มีนักธุรกิจจากจีนและญี่ปุ่น จองพื้นที่ลงทุนบางส่วนไปแล้ว
ทางการลาว คาดหวังว่า โปรเจ็กต์นี้จะช่วยกระตุ้นจีดีพี ของประเทศให้ขยายตัวได้ถึง 10 เท่าในอนาคต จากปัจจุบัน ขยายตัวร้อยละ 6-7 ต่อปี ความได้เปรียบของลาว อยู่ที่การเป็นแลนด์ลิ้งค์ (Land link) เชื่อมต่อจีน ไทย เวียดนาม และกัมพูชา ช่วยอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ รวมถึงปัจจัยค่าแรงที่ค่อนข้างต่ำจึงดึงดูดนักธุรกิจให้เข้าไปแสวงหาการลงทุน แต่ด้วยจำนวนประชากรทั้งประเทศไม่ถึง 7 ล้านคน อาจทำให้เกิดคำถามว่า ลาว พร้อมหรือยังสำหรับการรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะตามมาในเร็วๆ นี้
ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ผอ.มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นไทย ในฐานะ “ผู้ประสานงานและส่งเสริมสินค้า OTOP” ได้กล่าวว่า ไม่ใช่แค่ไทยที่เตรียมพร้อมรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) แต่ สปป.ลาว ก็ตื่นตัวเรื่องนี้เช่นกัน โดยเปิดให้ภาคเอกชนจีน เข้ามาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบึงธาตุหลวง หรือที่ชาวลาวเรียกว่า คนลาวเรียกว่า SPECIAL ECONOMIC ZONE (SEZ) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเวียงจันทน์ เพื่อให้พร้อมรับการลงทุนอื่นๆ ที่จะตามมา นอกจากนี้ จะพัฒนาเขตศูนย์การค้าปลอดภาษี เขตนิคมอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเพื่อการส่งออก ภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน , เขตศูนย์กลางการบริการทางธุรกิจการเงินและการลงทุน รวมถึงท่าเรือขนส่งสินค้า ซึ่งจะทำให้พื้นที่แห่งนี้ อาจกลายเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าของอาเซียน โดยการเติบโตครั้งนี้ยังสามารถส่งประโยชน์ทำให้การค้าชายแดนไทย-ลาว มีโอกาสขยายตัวสูงขึ้น หนองคาย บึงกาฬ เลย หนองบัวลำภู นครพนม และอุดรธานี
ผศ.ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า บริษัทจีนที่เป็นผู้รับสัมปทาน จะรับผิดชอบการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค มูลค่าลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์ฯ จากนั้น จะเปิดให้เอกชนที่สนใจ รวมถึงนักธุรกิจไทยเข้ามาลงทุนตามคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ ซึ่งจีนตกลงแบ่งรายได้ให้ลาว ร้อยละ 50 ของรายได้ค่าเช่า ปัจจุบัน มีนักธุรกิจจากจีนและญี่ปุ่น จองพื้นที่ลงทุนบางส่วนไปแล้ว ทางการลาว คาดหวังว่า โปรเจ็กต์นี้จะช่วยกระตุ้นจีดีพี ของประเทศให้ขยายตัวได้ถึง 10 เท่าในอนาคต จากปัจจุบัน ขยายตัวร้อยละ 6-7 ต่อปี ความได้เปรียบของลาว อยู่ที่การเป็นแลนด์ลิ้งค์ (Land link) เชื่อมต่อจีน ไทย เวียดนาม และกัมพูชา ช่วยอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ รวมถึงปัจจัยค่าแรงที่ค่อนข้างต่ำ จึงดึงดูดนักธุรกิจให้เข้าไปแสวงหาการลงทุน เหมาะเป็นอย่างยิ่งที่ทาง ผู้ประกอบการธุรกิจสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะสินค้า OTOP ที่กำลังมองหาตลาด AEC แบบไม่ต้องเดินทางไปหลาย ๆ ประเทศ รวมการลงทุนทำเป็นแลนด์มาร์คสินค้า OTOP จากประเทศไทย ก็จะทำให้สินค้ากระจายไปสู่ภูมิภาคอาเซียน ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
ดร.อานนท์ แสนนาน ภาพ/ข้อมูล
ทศพร ก้อนแก้ว รายงาน