กลุ่มสตรีอาสาบ้านพวน ผ้ามัดหมี่ไทยพวนบ้านหินปัก ที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดลพบุรี ไประดับประเทศ รายได้เข้าสู่จังหวัดลพบุรีมาหลายครั้ง และสร้างชื่อเสียงให้กับ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มาแล้ว ขอ หนังประวัติย่อๆ
ประวัติความเป็นมา
แต่เดิมเมื่อคนสมัยก่อนซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวไทพวน ได้อพยพมาตั้งรกรากในบริเวณนี้ได้พบกับหินก้อนใหญ่แล้วปักหัวด้านแหลมลงพื้นจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “หินปัก” ตำบลหินปัก ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของ อ.บ้านหมี่ ประกอบไปด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่ 1.บ้านหินปักเหนือ 2.บ้านหินปักเหนือ 3.บ้านหินปักทุ่ง 4.บ้านหินปักทุ่ง 5.บ้านหินปักทุ่ง 6.บ้านหินปักใหญ่ 7.บ้านหินปักใหญ่ 8.บ้านหินปักใหญ่ 9.บ้านสำโรงน้อย 10.บ้านสำโรงใหญ่
พื้นที่
เป็นที่ราบลุ่มตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณคลองชลประทาน โดยในพื้นที่บริเวณนี้ชาวบ้านนิยมทอผ้าจนเป็นที่รู้จักกันโดยแพร่หลาย ซึ่งตำบลหินปักเป็นทางผ่านจากตัว อ.บ้านหมี่ที่มุ่งหน้าเข้าสู่ อ.โคกสำโรง
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.หนองเมือง , ต.ดอนดึง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
ทิศใต้ ติดกับ ต.หนองทรายขาว อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.บางกะพี้ อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.บ้านทราย อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
อาชีพ
อาชีพหลัก ทำนาและทอผ้า
อาชีพเสริม รับจ้างทั่วไป
สาธารณูปโภค
จำนวนบ้านที่มีโทรศัพท์ 500 หลังคาเรือน
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เข้าทางอำเภอบางปะหัน ผ่าน อำเภอนครหลวง แล้วเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3196 ผ่านอำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเข้าสู่จังหวัดลพบุรี แล้ววิ่งเลียบคลองชลประทานมุ่งหน้าสู่ อ.บ้านหมี่ โดยตัวตำบลหิกปักตั้ง. ผ้าทอมัดหมี่ลายโบราณไทยพวนหินปัก
เดิมการทอผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปักจะทำใช้กันเองในครอบครัว ต่อมาก็มีการขยายออกไปสู่ตลาด สมัยก่อนนี้จะทอด้วยหูกมือ ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นกี่กระตุก ซึ่งผ้าที่ได้มีคุณภาพดีเนื้อแน่น ได้ปริมาณมากขึ้น และได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับมาตรฐานต่างๆ และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ ลวดลายของผ้าทอที่ได้รับความนิยมมากก็คือลายหมากจับน้อย ลายพิกุล ลายข้าวหลามตัด และลายเชิงเทียน
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปัก เป็นฝีมือที่ต้องอาศัยความประณีต ความอดทน ความพยายาม ความอุตสาหะ ซึ่งเห็นได้จากความงดงามของลวดลายที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาการทางความรู้ และภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีค่ายิ่ง ความงาม ความซับซ้อนของลวดลาย จึงทำให้ผ้าทอมัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปักมีคุณค่างดงาม และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง นับเป็นคุณค่าของความงดงามที่ยังคงหลงเหลือที่คนในชุมชนตำบลหินปักได้ร่วมมือกันอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านให้ยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์กับชุมชน ทำให้คนในชุมชน สมาชิกในกลุ่ม เกิดความรัก ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดความซื่อสัตย์ เสียสละ มีความรับผิดชอบ มีความเห็นอกเห็นใจกัน เกิดความไว้วางใจ รวมถึงทำให้เกิดการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่าย เชื่อมโยงงานซึ่งกันและกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหา และร่วมกันรับผลประโยชน์ มีความเอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักใคร่ สามัคคี และมีความสมานฉันท์ของคนในชุมชน รวมทั้งมีความอุตสาหะในการประกอบอาชีพ ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของคนไทยพวน อีกทั้งเป็นการกระจายรายได้ให้กับสมาชิก และกลุ่มได้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทอผ้ามัดหมี่ นอกจากนี้ยังส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเกิดการแลกเปลี่ยน หมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
ผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปักมีจุดเด่นตรงที่เนื้อผ้าหนา แน่น เนียน สม่ำเสมอ ลายผ้าจับเป็นรูป คุณภาพดี สีไม่ตก ดูแลรักษาง่าย ผลิตโดยกลุ่มอาชีพที่มีประสบการณ์ ปัจจุบันผ้ามัดหมี่ได้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นของตำบลและสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับอำเภอบ้านหมี่มาโดยตลอด และก็จะมีเทคนิคในการย้อมสีด้าย คือ เวลาย้อมสีจะต้องดูเม็ดสีให้เนียนเข้ากับเนื้อด้ายเป็นสีเดียวกัน จะทำให้สีที่ย้อมติดเสมอกัน พอย้อมเสร็จต้องนำมาล้างน้ำเย็นหลายๆ ครั้งสีผ้าจะไม่ตกและติดทนนานเวลานำไปทอก็จะได้ลวดลายที่สวยงาม
การทอผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปัก แบ่งลวดลายการทอเรียกชื่อแตกต่างกันไป และยังมีความนิยมในการทอใช้สอยในครอบครัว ในหมู่บ้าน ซึ่งสามารถจำหน่ายเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ลวดลายการทอผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปักที่นิยมกันมี 4 ชนิด คือ
1. ผ้ามัดหมี่ลายโลด (หมี่โลด) หมายถึง ผ้ามัดหมี่นั้นจะมีลวดลายและดอกดวงต่างๆ ดังนี้ ลายหม่าจับดอกเล็ก ลายหม่าจับดอกใหญ่ ลายหม่าตุ๊ม ลายบัวศรี ลายขอใหญ่ ลายขอเล็ก ลายดอกผักแว่น ลายต่างๆ เหล่านี้ ช่างทอจะเลือกใช้เป็นลายๆ ไป ซึ่งในการทอผ้ามัดหมี่แต่ละผืน ดอกดวงต่างๆ จะกระจายอยู่ทั่วไปเต็มผืนผ้า
2. ผ้ามัดหมี่ลายเปี่ยง (หมี่เปี่ยง) หมายถึง ลวดลายบนผ้ามัดหมี่ผืนนั้น จะเป็นลายแถบทางยาวเป็นตัวบังคับ ดอกดวงต่างๆ ให้อยู่ภายในแถบนั้นๆ เป็นแถบ เป็นริ้วไปทั่วทั้งผืน แต่จะแยกออกเป็นแถบ เป็นทิวตามยาวของผืนผ้าให้เห็นเป็นทางยาวตลอดผืนอย่างสวยงาม
3. ผ้ามัดหมี่ลวดลาย (หมี่ลาย) หมายถึง ลวดลายที่เห็นปรากฏอยู่บนผืนผ้ามัดหมี่จะเป็นลายยาวเลื้อยติดต่อกัน เป็นเครือแถวทั่วทั้งแผ่น แต่ไม่แยกเป็นแถบลายบังคับดอกที่ชัดเจนเหมือนผ้ามัดหมี่ลายเปี่ยง
4. ผ้ามัดหมี่ลายตา (หมี่ตา) หมายถึง ผ้ามัดหมี่ที่ช่างทอได้ออกแบบลวดลายบนผืนผ้าให้แยกลายออกเป็นหมู่ เป็นพวก เป็นรูปตาสี่เหลี่ยม โดยมากจะจัดลวดลายให้อยู่ในรูปของตาสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีทั้งตาใหญ่และตาเล็ก ซึ่งสีสันต่างๆ มากมาย
ผู้ใหญ่วนิดา รักพรม หรือผู้ใหญ่น้อย ประธานกลุ่มสตรีอาสาบ้านพวน
ที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านหัตกรรมดีเด่น จากหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร
อดีตผู้ใหญ่
ลวดลายผ้าทอมัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปัก ในสมัยดั้งเดิมมี 17 ลาย ได้แก่ 1. ลายขาเปีย 2. ลายเอื้อง 3. ลายปลาซิว 4. ลายปล้องอ้อย 5. ลายเงือกน้อย 6. ลายโคมไฟ 7. ลายมะจับ 8. ลายมะตุ้ม 9. ลายเอี้ยงโมง (โพรง) 10. ลายผักแว่น 11. ลายดอกแก้ว 12. ลายหัวปลี 13. ลายขอ 14. ลายร้าย 15. ลายบัวสี 16. ลายเอื้องซด (ซ้อน) 17. ลายเต่าน้อย
การดูลวดลายผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปัก ว่าจะเป็นลายเล็กหรือลายใหญ่นั้น ให้ดูที่สีพื้นของผ้ามัดหมี่เป็นสำคัญ ถ้าพื้นของผ้าเหลือแถบเล็ก เรียกว่าหมี่ลายเล็ก ถ้าพื้นเหลือแถบใหญ่ เรียกว่า หมี่ลายใหญ่ ผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปักเป็นผ้าที่ต้องใช้ศิลปะในการมัดหมี่ ย้อมสีสัน ซึ่งต้องใช้ความประณีต ตลอดจนการทอลวดลายก็ต้องมีความชำนาญ เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีฝีมือ จึงจะทำให้ผ้ามัดหมี่ที่ทอเสร็จแล้วมีลวดลายเป็นระเบียบสวยงาม เรียกว่า ลายไม่เปรอะ ดังนั้น จึงเป็นงานที่ต้องใช้เวลา และฝีมือมาก ทำให้ผ้ามัดหมี่ของชาวไทยพวนบ้านหินปักราคาค่อนข้างสูง แต่ก็ไม่เป็นปัญหามากนัก เพราะยังได้รับความนิยมอย่างสูง จนทำให้บางครั้งผลิตออกจำหน่ายไม่ทัน. นางวนิดา. รักพรม. หรือ. ผู้ใหญ่น้อย. ประธานกลุ่มสตรีอาสาบ้านพวน. เปิดเผยว่า. ผ้ามัดหมี่ ที่จังหวัดลพบุรี เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของดีที่ขึ้นชื่อของจังหวัด มีชื่อเสียงเสียงความสวยงาม ประณีต ด้วยเป็นงานทำมือทุกชิ้น ผ้ามัดหมี่ของที่นี่ได้รับการสืบทอดมารุ่นต่อรุ่น โดยสมัยก่อนเมื่อว่างเว้นจากการทำนาปู่ย่า ตายายของชาวชุมชนที่แห่งนี้ ก็จะทอผ้าเพื่อนำมาตัดเย็บเป็นผ้าถุง ปลอกหมอน มุ้ง เพื่อใช้งานในครอบครัว จวบจนปัจจุบันผ้ามัดหมี่ที่จังหวัดลพบุรี ยังได้รับการสืบทอดวิชาไว้อย่างคงเดิม โดยกลุ่มสตรีอาสาชุมชนบ้านพวน ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี มีการรวมกลุ่มกันของคนทำผ้ามัดหมี่ราว 60 คนเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2543 สนับสนุนทุนการผลิตและจัดทำโดย อบต.กศน.ในพื้นที่ สมาชิกในกลุ่มก็จะเป็นคนในชุมชนเดียวกัน
ป้าน้อย หรือ วนิดา รักพรม อดีตผู้ใหญ่บ้าน บ้านสำโรงใหญ่ หมู่ 10 ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ และประธานกลุ่มสตรีสตรีอาสาบ้านพวน เล่าให้ทีมงาน สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ฟังว่า สมาชิกของกลุ่มสตรีอาสาชุมชนบ้านพวน ส่วนใหญ่เป็นคนในชุมชน ในหมู่บ้านด้วยกันเอง เข้าร่วมกลุ่ม มาแบ่งงาน แบ่งหน้าที่กันทำ บางคนถนัดมัดไหม บางคนถนัดกรอไหม หรือทอผ้า ก็จะแบ่งงานกันไปตามหน้าที่และความถนัด เมื่อได้ผ้ามัดหมี่สำเร็จ 1 ชิ้นทางกลุ่มก็จะรับซื้อไว้และจ่ายเงินตามสัดส่วนแต่ละคน
จุดเด่นของผ้ามัดหมี่ที่นี่ นอกจากความละเอียด ประณีตและความสวยงามแล้ว ยังชูความเป็นผ้าลวดลายโบราณ รวมไปถึงการคิดค้นลายใหม่ ลายที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี เช่น ลายพระปรางค์สามยอด ลายลิง ซึ่งความยากง่ายของการมัดหมี่แต่ละลายจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลวดลายที่คิดค้นออกแบบ จึงทำให้ผ้าแต่ละผืนใช้เวลาในกระบวนการผลิตออกมาช้าเร็วต่างกัน บางลวดลายเคยใช้เวลาทำนานที่สุดถึง 10 วัน ราคาขายก็จะตกที่ผืนละ 400-1,500 บาท
เมื่อสอบถามถึงที่มาของชื่อ ผ้ามัดหมี่ พี่สาวใจดีสมาชิกกลุ่มสตรีอาสาชุมชนบ้านพวน ที่กำลังขะมักเขม้นมัดหมี่วางมือหันมาเล่าให้เราฟังว่า มีที่มาจากการสร้างลวดลายของผ้าแต่ละผืน โดยการใช้เชือกมามัดเพื่อให้เกิดเป็นลวดลายจึงเรียกว่า การมัด ส่วนคำว่า หมี่ ก็มีที่มาจากเส้นด้ายผ้าสีขาวที่รวมกันจำนวนมากเพื่อมาเตรียมมัดสำหรับทำผ้าแต่ละผืน ดูคล้าย ๆ เส้นหมี่เลยเรียกว่า การมัดหมี่ นั่นเอง
จากการลงพื้นที่ ที่กลุ่มสตรีอาสาชุมชนบ้านพวนพร้อมเยี่ยมชมกระบวนการทำผ้ามัดหมี่ บอกเลยว่า ผ้ามัดหมี่เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่ต้องใช้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการทำทุกขั้นตอน กว่าจะสำเร็จออกมาเป็นผ้าสักหนึ่งผืน มีขั้นตอนและรายละเอียดที่มากมาย หากใครสนใจผ้ามัดหมี่คุณภาพดีและสวยงามของ กลุ่มสตรีอาสาชุมชนบ้านพวน สามารถเดินทางมาเลือกซื้อได้โดยตรงที่ กลุ่มสตรีอาสาชุมชนบ้านพวน หรือ ช่องทาง Facebook วนิดา รักพรม โทร. 089 0521899 , 036471872 รวมถึงการออกร้านตามงาน OTOP ต่างๆ.
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ข่าว/ สมชาย เกตุฉาย สำนักข่าวเดลิซันเดย์ ภาพ. ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี