ปัจจุบันการศึกษาอยู่ในยุค 4.0 โดยผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอนทุกรูปแบบ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล โดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการสืบค้นและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันมีจำนวนมาก ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการค้นหาและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ด้าน นายสุรวิทย์ เจียมจิตร
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลลพบุรี เปิดเผยว่่า ทางโรงเรียนอนุบาลลพบุรี ได้จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบีติการครู ทั้ง โรงเรียนฯ ตามโครงการผลิตสื่อการเรียนการสอน ในยุค 4.0
ให้คณะผู้บริหาร ทั้งครู โรงเรียนอนุบาลลพบุรี ให้มีความรู้ ความเข้าใจระบบการเรียนการสอน ในยุด 4.0 ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลลพบุรี กล่าว เพิ่มเติมอีกว่าจุดเริ่มการศึกษาในยุค Thailand 4.0การศึกษา จึงต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ให้กับเด็กไทย ได้เข้าก้าวสู่ Thailand 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมในหลายด้าน เช่นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ เป็นหัวใจสำคัญในการสื่อสารกับนานาชาติ ทั้งเพื่อการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนความรู้ การประสานความร่วมมือ และการค้าขาย ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการยกระดับภาษาอังกฤษของประเทศผ่านโครงการสำคัญต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาครูภาษาอังกฤษผ่านกระบวนการ Boot Camp, จัดทำแอพพลิเคชั่น Echo Hybrid, Echo English เป็นต้น
การส่งเสริม การศึกษา วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสะเต็มศึกษา (STEM Education) เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของโลกและวัตถุต่าง ๆ ในขณะเดียวกันเด็กไทยในอนาคตก็ต้องคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของไทยที่ดีงาม ควบคู่กับการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ ๆ ที่มีความทันสมัยด้วยเช่นกัน
การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สิ่งสำคัญหนึ่งที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ค้นพบเกี่ยวกับ Communication Thinking Skill คือการสอนเรื่องการคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถแยกวิชาสอนต่างหากได้ แต่จะต้องมีการเรียนวิชาการแต่ละเรื่องอย่างลึกซึ้งเสียก่อน หลังจากนั้นการคิดวิเคราะห์จะตามมาเอง เช่นเดียวกับการเรียนภาษาอังกฤษ ต้องมีความรู้เรื่องไวยากรณ์ควบคู่กับการอ่าน จนมีความรู้เรื่องคำและเรื่องภาษาจริง ๆ เมื่อนั้นเราก็จะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปใช้งานต่อได้ด้วย
การปรับหลักสูตรการเรียนการสอน ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังปรับปรุงหลักสูตรใหม่ เพื่อนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 จากเดิมเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ อาจจะปรับให้เรียนเป็นรายวิชาเฉพาะเช่นในอดีต โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเปลี่ยนไปตามองค์ความรู้ในโลกยุคใหม่ พร้อมกับการเรียนเฉพาะเรื่องที่สำคัญ ๆ และเรียนให้รู้อย่างลึกซึ้ง
ทั้งนี้อาจเกิดวิชาใหม่ ๆ เช่น Computing ที่จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับโปรแกรม ที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เครื่อง กล เพื่อให้เด็กสร้างนวัตกรรมและรู้เท่าทันเทคโนโลยี, ความรู้เรื่องวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมได้ในที่สุด รวมทั้งอาจจะนำวิชาเดิม ๆ กลับมาสอนอีก เช่น วิชาภูมิศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เรื่องของโลก เกี่ยวโยงไปสู่วิชาวิทยาศาสตร์และเกษตรกรรม คือความเข้าใจการเกิดของมนุษย์ เข้าใจพื้นที่ เป็นต้น
การพัฒนาปรับปรุงตำราเรียนให้มีมาตรฐาน 5 ดาว กระทรวงศึกษาธิการมีความพยายามที่จะสร้างตำราเรียน ให้มีมาตรฐาน เพราะตำราที่ดีจะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กอยากรู้ อยากเห็น อยากตั้งคำถาม ดังนั้น ตำราเรียนต้องตอบสนองต่อผู้เรียนจริง ๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐานตำราเรียน โดยจะมีการให้คะแนน (ดาว) ตามองค์ประกอบของตำราที่กำหนดขึ้น เช่น มีรูปเล่มสวยงาม มีภาพประกอบที่ดี มีหัวเรื่องบทเรียนและเป้าหมายที่ชัดเจน มีวิธีการและตัวอย่างในการแก้โจทย์-แก้ปัญหา
ตลอดจนมีแบบฝึกหัดและมีลิ๊งค์เชื่อมโยงแบบออนไลน์ เป็นต้น ล่าสุดได้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับสำนักพิมพ์ที่ผลิตตำราเรียนทั้งหมด เพื่อผลิตตำราเรียนที่ดีมีคุณภาพ และในอนาคตรัฐบาลก็จะใช้ตำราเรียนที่ได้ 5 ดาวเท่านั้น หากตำราใดมีมาตรฐานที่เท่ากัน ก็จะพิจารณาจากราคาต่อไป จากนั้นจึงส่งรายชื่อตำราเพื่อให้โรงเรียนไปจัดหามาใช้ต่อไป
การบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก ภายใต้โครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินโครงการแล้วในโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการรอบแรก ซึ่งจะเริ่มดำเนินในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 259 แห่ง โดยทุกอย่างต้องเกิดจากการยอมรับและตัดสินใจของคนในพื้นที่ ชุมชน พ่อแม่และผู้ปกครอง แม้ที่ผ่านมาเราจะมีความพยายามที่จะยกระดับโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ยังทำไม่สำเร็จ เพราะหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย
แต่ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ พยายามชี้แจงให้เห็นถึงทางเลือกที่ดีกว่าของบุตรหลาน โดยให้เด็ก ๆ ย้ายไปเรียนในโรงเรียนแม่เหล็กที่มีความพร้อมมากกว่าซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพและวิชาการให้สามารถรองรับนักเรียนและครูที่เพิ่มขึ้นได้
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า ในส่วนของระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือสอบเข้ามหาวิทยาลัยในยุคของ Thailand 4.0 นั้น อาจจะยังไม่ได้ตอบโจทย์ Thailand 4.0 โดยตรง แต่จะมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหา (Content) ในตำราเรียน ซึ่งเป็นเรื่องหรือเนื้อหาที่เด็กต้องเรียน เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการได้หารือกับผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อปรับระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ภายใต้หลักคิด “ลดภาระของเด็กและผู้ปกครองในการวิ่งรอกสอบ เพิ่มความยุติธรรมสำหรับเด็กด้อยโอกาสและเด็กยากจน และเพิ่มความเที่ยงตรงในการสอบคัดเลือก” เนื่องจากระบบเดิมให้โอกาสกับเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะ มากกว่าเด็กด้อยโอกาสและเด็กยากจน ที่ไม่มีเงินและไม่สามารถวิ่งรอกไปสอบได้หลายแห่ง รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยทำการคัดเลือกเด็กเอง ทำให้สร้างความไม่เท่าเทียมและไม่เที่ยงตรงให้เกิดขึ้นในการคัดเลือก เพราะมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เร่งที่จะช้อนเด็กเก่งไว้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเร็วๆ นี้ ระบบการสอบจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน โดยแนวโน้มคือการสอบจะต้องน้อยลง เพื่อให้เด็กได้เรียนจนครบหลักสูตร และไม่ต้องกังวลกับการเตรียมสอบต่าง ๆ มากจนเกินไป ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลลพบุรี กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ข่าว/ สำนักข่าวเดลิซันเดย์ ภาพ/ ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี