เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2561 ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน เข้ารับประทานรางวัล “พระกินนรี” โครงการปณิธานความดีแทนคุณแผ่นดิน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ประทานตราสัญลักษณ์พระนามย่อ ญสส. ไว้ประดิษฐานประจำบนโล่รางวัล เพื่อเป็นศิริมงคล และ เป็นเกียรติประวัติสืบไป คนดีคิดดีสังคมดี “งานพระราชทานรางวัลเกียรติคุณ พระกินรี” คนดีของแผ่นดิน ครั้งที่ 8 ประจำปี 2561 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่กรุงเทพฯ
ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน ได้กล่าวว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวม ซึ่งรวบรวมความรู้ต่าง ๆให้มาสัมพันธ์กันจนเกิดมิติ รอบด้าน สะท้อนความคิด ความเชื่อ ความใฝ่ฝัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว คนในชุมชนท้องถิ่นและจารีตประเพณีต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้น เป็นสรรพวิชาความรู้ทั้งหมดที่ชุมชนท้องถิ่นใช้แก้ปัญหา หรือจรรโลงชีวิต ในการดำรงชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ทำให้ชุมชนและชาติผ่านพ้นวิกฤต และ ดำรงความเป็นชาติหรือชุมชนไว้ได้ ในปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัตน์ และระบบทุนนิยมมีอำนาจและสร้างความเบี่ยงเบนในการพัฒนาประเทศให้เป็นไปตามกระแสจากประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ว่าจะเป็นประเทศจากฝั่งตะวันตกหรือประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก ภูมิปัญญาไทยซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการเป็นเอกลักษณ์ของไทย การสร้างสรรค์ของคนที่รวมกันเป็นวัฒนธรรมไทยถูกละเลยและแทนที่ด้วยเทคโนโลยีจากภายนอก แม้นว่าในขณะนี้รัฐบาลมีความพยายามจะนำทุนทางวัฒนธรรม ก็คือ ภูมิปัญญาไทย มาใช้ประโยชน์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการอนุรักษ์ สืบสานนั้น ความเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งรวมถึงองค์ความรู้ ทักษะ การปฏิบัติ การเป็นสัญลักษณ์ คุณค่าและความภาคภูมิใจไมได้มีการนำมาถ่ายทอด อนุรักษ์ สืบสานไปพร้อมกัน จึงทำให้เกิดการนำภูมิปัญญามาใช้อย่างขาดความรู้สึกและจิตวิญญาณที่บรรพบุรุษได้คิดค้นสร้างสรรค์และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและของชาติ มาสู่รุ่นลูกหลานในปัจจุบัน
ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน ได้กล่าวอีกว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือเป็นความรู้ที่เป็นองค์รวม ซึ่งรวบรวมความรู้ต่าง ๆ ให้มาสัมพันธ์กันจนเกิดมิติ รอบด้าน สะท้อนความคิด ความเชื่อ ความใฝ่ฝัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว คนในชุมชนท้องถิ่นและจารีตประเพณีต่าง ๆ ซึ่งเป็นรากฐานการดำรงชีวิตของคนในสังคมนั้น เป็นสรรพวิชาความรู้ทั้งหมดที่ชุมชนท้องถิ่นใช้แก้ปัญหาหรือจรรโลงชีวิต ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเลี้ยงชีพหรือประโยชน์ด้านอื่น ๆ ในการดำรงชีวิตของชุมชนท้องถิ่นและปัจเจกชน ซึ่งความสำคัญดังกล่าวได้รับความสนใจจากองค์กรต่าง ๆ เช่น องค์กรภาครัฐ องค์กรเอกชนและองค์กรชุมชนท้องถิ่น หรือองค์กรชาวบ้าน เพื่อให้คนไทยได้หันมาทำความเข้าใจภูมิหลังและรากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น หาใช่จะทวนกระแสความเจริญหันกลับไปหลงใหลได้ปลื้มกับชีวิตในอดีตก็หาไม่ แต่เป็นปฏิกิริยาเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้คนไทย สังคมไทย ดำรงอยู่และก้าวหน้าต่อไปอย่างมีดุลยภาพให้ทันโลก “…ทางเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชมท้องถิ่นอีสาน จึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนทราบของการนำเอา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านคุณค่าและความสำคัญต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรม กระบวนการเรียนรู้ และแนวทางในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืนต่อไป…”
ทศพร ก้อนแก้ว รายงาน