อีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะเข้า aec แล้ว ประเทศเพื่อนบ้านใช้สกุลเงินอะไรกันบ้าง ไปดูกัน
ในปัจจุบันประเทศที่จะเข้าร่วม AEC ยังไม่ได้กำหนดสกุลเงินกลางขึ้นมาใช้ เหมือนทางฝั่งยุโรป ซึ่งต้องไป
แลกเปลี่ยนเงิน กันตามประเทศนั้นๆที่เราไป วันนี้เราจะพามาดูว่าแต่ล่ะประเทศใช้สกุลเงินอะไรกันบ้าง
สกุลเงินของไทย – บาท (Thai Baht, THB)
เงินบาทของไทยมีสถานะค่อนข้างแข็งแกร่งในบรรดาสกุลเงินอาเซียนด้วยกัน เนื่องจากประเทศไทยมีเงินทุนสำรอง
ระหว่างประเทศสูงมาก อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยนั้นราว 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรเงินบาทไทยมีผลิต
ออกมาใช้งานในระดับราคา 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท
สกุลเงินของลาว – กีบ (Laotian Kip, LAK)
เงินกีบของลาวมีอัตรแลกเปลี่ยนราว 250 กีบต่อหนึ่งบาท หรือราว 8,000 กีบต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรเงินกีบ
ที่มีการผลิตออกมาใช้งานคือ 500, 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000 และ 50,000 กีบ
สกุลเงินของเวียดนาม – ด่ง (Vietnam Dong, VND)
สกุลเงินด่งของเวียดนามมีอัตราแลกเปลี่ยนราว 21,000 ด่งต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 650 ด่งต่อ 1 บาทไทย ธนบัตรเงินด่ง
ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 1,000 ,2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000, 100,000, 200,000 และ 500,000 ด่ง
สกุลเงินของสิงคโปร์ – ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar, SGD)
เงินดอลลาร์สิงคโปร์นับได้ว่าเป็นสกุลเงินที่แข็งแร่งที่สุดในบรรดาสกุลเงินอาเซียนทั้งหมด มีอัตราแลกเปลี่ยนราว 1.3 SGD
ต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 SGD ต่อ 25 บาทไทย ธนบัตรดอลลาร์สิงคโปร์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 2, 5 10, 50, 100, 1,000
และ 10,000 ดอลลาร์
สกุลเงินของพม่า – จ๊าต (Myanmar Kyat, MMK)
เงินจ๊าตของพม่ามีอัตราแลกเปลี่ยนราว 32 จ๊าตต่อ 1 บาทไทย หรือราว 1,000 จ๊าตต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการผลิตธนบัตร
ออกมาใช้งานหลายราคา คือ 1, 5, 20, 50, 100, 200, 500, 1,000, 5,000 และ 10,000 จ๊าต
สกุลเงินของกัมพูชา – เรียล (Cambodian Riel, KHR)
เงินเรียลกัมพูชา มีการผลิตทั้งเหรียญและธนบัตรหลายระดับราคาออกมาใช้งาน คือ 50, 100, 200, 500, 1,000, 2,000,
5,000, 10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 เรียล โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนราว 4,000 เรียลต่อดอลลาร์สหรัฐ
การค้าขายตามแนวชายแดนหรือแม้กระทั่งในเมืองใหญ่ๆของกัมพูชา เราสามารถใช้เงินบาทไทยและเงินดอลลาร์สหรัฐ
ในการซื้อสินค้าและบริการได้
สกุลเงินของบรูไน – ดอลลาร์บรูไน (ฺBrunei Dollar, BND)
เงินดอลลาร์บรูไนมีค่าเท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์ โดยทางการประเทศบรูไนมีการออกธนบัตรที่มีมูลค่า 1, 5, 10, 50, 100,
500, 1,000 และ 10,000 ดอลลาร์ มีอัตราแลกเปลี่ยนราว 1.3 BND ต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 BND ต่อ 25 บาทไทย
สกุลเงินของมาเลเซีย – ริงกิต (Ringgit, MYR)
เงินริงกิตมาเลเซียมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 1 ริงกิตต่อ 10 บาทไทย หรือราว 3.2 MYR ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
เงินริงกิตมาเลเซียถูกผลิตออกมาใช้งานหลายระดับราคาคือ 1, 5, 10, 20, 50 และ 100 ริงกิต
สกุลเงินของฟิลิปปินส์ – เปโซ (Philippine Peso, PHP)
เงินเปโซฟิลิปปินส์มีอัตราแลกเปลี่ยนราว 1.35 เปโซต่อหนึ่งบาทไทย หรือราว 44 เปโซต่อดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรเงินเปโซ
ที่ผลิตออกมาใช้งานมีหลายระดับราคาคือ 20, 50, 100, 200, 500 และ 1,000 เปโซ
สกุลเงินของอินโดนีเซีย – รูเปียห์ (Indonesian Rupiah, IDR)
เงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียมีอัตราแลกเปลี่ยนราว 11,700 IDR ต่อดอลลาร์สหรัฐ หรือ ราว 370 IDR ต่อบาทไทย
ราคาของธนบัตรรูเปียห์ที่ผลิตออกมาใช้งานคือ 1,000, 2,000, 5,000, 10,000, 20,000, 50,000 และ 100,000 รูเปียห์
สกุลเงินอาเซียนแต่ละประเทศมีความแข็งแกร่งตามภาวะเศรษฐกิจของสมาชิกแต่ละประเทศ โดยได้รับ
การความหมายไว้ว่าเมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ.2558 สกุลเงิน
อาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะมีความแข็งแกร่งขึ้นอีกมาก เนื่องมาจากความต้องการสกุลเงินเหล่านี้ในการ
ซื้อขายสินค้าและบริการมีมากขึ้น ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจของอาเซียนภายหลังการรวมตัวเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนจะมีความแข็งแกร่งขึ้น มีอำนาจการต่อรองในเวทีการค้าระหว่างประเทศสูงขึ้นนั่นเอง
ที่มา เกร็ดความรู้/สกุลเงินอาเซียน