โรงพยาบาลอนันทมหิดล. สังกัดกรมการแพทย์ทหารบก เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของกองทัพบกไทย ให้บริการทั้งข้าราชการทหารและพลเรือนรวมถึงประชาชนทั่วไป ใหญ่เป็นลำดับที่สามารถรอรับ จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลค่ายสุร นารี ใน ปัจจุบัน โรงพยาบาลอานันทมหิดล ตั้งอยู่พื้นที่ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเขาสามยอด ทีมข่าว ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี พร้อมด้วย ทีมข่าว สำนักข่าวเดลิซันเดย์ นายใจรัก วงศ์ใหญ่ ศูนย์ข่าว หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ชาติชาย ไข่หงส์ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค หนังสือพิมพ์มติชน นายไพรัตน์ ทองแก้ว ลพบุรีโพสต์ทีวี และนายสุรเดช แก้วไพร ลพบุรีทีวี เดินทางไปพบ
พลตรีชัชวาล บูรณรัช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล สัมภาษณ์ พิเศษ เมื่อมาทำเป็นสกู๊ปข่าว ความเป็นมาของโรงพยาบาลอานันทมหิดล ที่มีอายุ ยืนยาวกว่า 81 ปี ขอตั้งในสมัย จอมพล.ป พิบูลสงคราม เมื่อพ. ศ. 2480 นับถอยหลัง อายุ 81 ปี ด้าน
พลตรีชัชวาล บูรณรัช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล. ได้เล่าประวัติความเป็นมาของโรงพบาลฯ ว่า สร้างในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ในอดีตจังหวัดลพบุรียังเป็นขนาดจังหวัดเล็ก ชุมชนยังไม่หนาแน่นมากจากบริเวณท่าหินไปถึงท่าโพธิ์ ซึ่งในปีนั้นกระทรวงกลาโหมโดยมี พันเอกหลวงพิบูลสงคราม (ยศขณะนั้น) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีดำริที่จะย้ายหน่วยทหารบางส่วนจากกรุงเทพมหานครมาตั้งที่จังหวัดลพบุรี ใน พ.ศ. 2480 พร้อมกับเล็งเห็นว่า เมื่อมีหน่วยทหารและครอบครัวมาตั้งรกรากมากขึ้นในจังหวัดลพบุรี หากมีการเจ็บป่วยก็ย่อมเป็นปัญหาใหญ่ทางการรักษาพยาบาลจึงได้คิดวางแนวทางที่จะตั้งโรงพยาบาลไว้ในจังหวัดลพบุรีอีกแห่งหนึ่ง เพื่อรองรับการแก้ปัญหาการเจ็บไข้ได้ป่วยของทหาร, ครอบครัว, ประชาชนและพลเรือนในจังหวัดลพบุรี รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง เพราะในระยะเวลานั้นทั้งจังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรียังไม่มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด นับว่าเป็นความคิดที่รอบคอบในการวางแผนระยะยาวในสมัยนั้น ดังนั้นโรงพยาบาลอานันทมหิดลก็ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2480 และแล้วเสร็จในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ มากระทำพิธีเปิดเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับวันเปิดค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ปี พ.ศ. 2481โรงพยาบาลอานันทมหิดล ได้เปิดดำเนินการโดยสามารถให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยไม่เกิน 200 เตียงตัวอาคารของโรงพยาบาลไม่สามารถสร้างเสริมให้ครบตามแผนได้ เนื่องจากเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงมีเพียงอาคารศัลยกรรมหนึ่งหลังอายุรกรรมหนึ่งหลังและสูตินรีเวชกรรมหนึ่งหลังเท่านั้น
ปี พ.ศ. 2482อาคารอำนวยการทางเข้าโรงพยาบาลพลตรีหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ก็ได้มองเห็นว่าประเทศไทยยังขาดบุคลากรด้านการแพทย์อีกมากมาย จึงได้วางแผนผลิตแพทย์ชั้นหนึ่งภายใต้โครงการร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ห้กรมแพทย์ทหารบกจัดตั้งโรงเรียนเสนารักษ์เพื่อผลิตนายแพทย์ทหารไว้ใช้ในการสงคราม เป็นการเตรียมพร้อมกำลังพลในด้านการแพทย์ และความประสงค์ในอันดับต่อมาก็คือการกระจายแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งออกไปสู่ชนบททั่วประเทศโครงการผลิตแพทย์จากโรงพยาบาลอานันทมหิดลซึ่งนับว่าเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สอง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ผลผลิตไม่สามารถดำเนินการได้ตามโครงการ เพราะการผลิตแพทย์ไม่เหมือนกับการผลิตบุคลากรอื่น ดังนั้นเมื่อจบโครงการจึงสามารถผลิตบุคลากรสำเร็จออกมาเป็นแพทย์ได้เพียง 167 คน
ปี พ.ศ. 2486
เนื่องจากสงครามมหาเอเชียบูรพาได้ทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับประเทศอังกฤษ กองทัพไทยต้องส่งทหารเข้าร่วมในการรบด้วย เช่น กองทัพพายัพทำให้ทหารต้องเจ็บป่วยและบาดเจ็บมาก โรงพยาบาลในเขตแนวหน้าและเขตหลังคือกองพยาบาลมณฑลที่ 1 (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) ไม่สามารถรับผู้ป่วยได้เพียงพอ กรมเสนารักษ์กรมแพทย์ทหารบกจึงได้ดำเนินการปรับปรุงโรงพยาบาลอนันทมหิดล เพื่อให้มีขีดความสามารถรับทหารป่วยเจ็บเพิ่มขึ้นและจัดตั้งศูนย์พักฟื้นทหารป่วยเจ็บของกองทัพบก อีกทั้งได้อาคารชั่วคราวขึ้น 4 หลัง แต่ละหลังรับผู้ป่วยได้ 200 เตียง รวมอาคารเดิมแล้วสามารถรับผู้ป่วยได้ถึง 1,000 เตียง
ปี พ.ศ. 2514
ในการรับผู้ป่วยที่ส่งกลับจากโรงพยาบาลประจำถิ่นและหน่วยสนับสนุนทางการแพทย์ในเขตหน้าและในพื้นที่การรบ จากภารกิจซึ่งต้องสนับสนุนกองทัพบกตลอดมา รวมทั้งการต้องดูแลทหาร, ครอบครัวและพลเรือนที่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมากในพื้นที่จังหวัดลพบุรี พันเอกยง วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการ ได้เสนอแผนและโครงการต่อกองทัพบกขออนุมัติสร้างอาคารใหม่ 6 ชั้น ซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ครบสมบูรณ์ภายในอาคารเดียวกันและได้รับความเห็นชอบสนับสนุนจาก พลเอกสุรกิจ มัยลาภ (เสนาธิการทหารบกขณะนั้น) จัดสรรงบประมาณและกรุณามาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 เวลา 18.30 น. อาคาร 6 ชั้น ใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปีเศษ ใช้งบประมาณ 50 กว่าล้านบาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วนับว่าเป็นโรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลทั่วไปที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในยุคปัจจุบันนี้ ๘๑. ปี ขอสัญญาจะไม่หยุดนิ่ง จะพัฒนาในเรื่องการแพทย์ต่อไปจะรักษาประชาชนข้าราชการ จะไม่อยู่เฉย จะไม่หยุดนิ่งจะไม่เหนื่อยพัฒนาต่อไป. ด้าน
พลตรีชัชวาล บูรณรัช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล. ขอเชิญชวนเข้าชม
ห้องรวบรวมพระราชประวัติ ร.8 โรงพยาบาลอานันทมหิดล ด้วยความสำนึกในพระเมตตาคุณและพระมหากรุณาธิคุณในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่ทรงมีพระราชปณิธานที่จะช่วยเหลือข้าราชการ พลเรือนรวมถึงประชาชนในจังหวัดลพบุรี ให้มีสถานที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ในการรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย โดยพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาล พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลอานันทมหิดล” และเสด็จฯ ทรงทำพิธีเปิดเมื่อ 6ม.ค. 2481 ในวโรกาสอันเป็นวันครบรอบ 50 ปี ของโรงพยาบาลอานันทมหิดลเมื่อวันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๓๑ คณะข้าราชการโรงพยาบาลอานันทมหิดลจึงได้จัดสร้างห้องรวบรวมพระราชประวัติรัชกาลที่ 8 เพื่อถวายเป็นพระราชสักการะในพระองค์ท่าน และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณและแสดงกตเวทิตาคุณแด่พระองค์ท่านและเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติและเอนกประการ ภายในห้องจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายเรื่องราวพระราชประวัติของรัชกาลที่ 8 มีทั้งภาพถ่าย พระบรมรูป พระบรมสาทิสลักษณ์ รวมทั้งตํ้จัดแสดงเงินตรา ของสะสม หนังสือ เอกสารข่าว และแสตมป์ในสมัยรัชกาลที่ 8
บริหารจัดการ
หน่วยงานราชการ
ประเภทพิพิธภัณฑ์
ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ และ โบราณคดี
วัตถุจัดแสดงที่มีความสำคัญ / สิ่งที่น่าสนใจ
ภาพในพิธีเปิดโรงพยาบาลอานันทมหิดล
ที่อยู่และเบอร์ติดต่อ
โรงพยาบาลอานันทมหิดล ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
Telephone : 0-3641-4350-5
Fax : 0-3642-7401
Website : http://www.ananhosp.go.th/
วันและเวลาทำการ
การเข้าชมต้องติดต่อล่วงหน้าในวันและเวลาราชการ
ค่าเข้าชม
ไม่เสียค่าเข้าชม ทางโรงพยาบาลอานันทมหิดล โครงการดีๆๆ ทางโรงพยาบาลอานันทมหิดล ร่วมกับ มูลนิธิ โรงพยาบาลอานันทมหิดล จัดโครงการ ก่อสร้างอาคาร เพื่อ ทดแทนอาคารเก่าที่ชำรุด เลยคิดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อรับบริจาคประชาชน ทั่วประเทศสระเงิน คนละนิดคนละหน่อยมาร่วมสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติโรงพยาบาลฯ เปิดรับหรือจากทุกวัน วันเวลาราชการติดต่อโดยตรงที่โรงพยาบาลอานันทมหิดล วันเวลาราชการ. พลตรี ชัชวาล บูรณรัช กล่าวทิ้งท้ายนานที่สุด
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ข่าว/ ภาพ ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี