วันที่(26 พฤษภาคม 2561) นางประดิษฐ์ มีผลงาม ประธานกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านนาดี บ้านนาดี ต.นาดี อ.หนองแสง จ.อุดรธานี ได้ให้การต้อนรับ ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นอีสาน ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ผอ.มหาวิชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นไทย และ นางบุณณดา เลาหะดิลก รองประธานเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club อุดรธานี เพื่อเยี่ยมชมและพร้อมส่งเสริมการขาย
นางประดิษฐ์ มีผลงาม ประธานกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านนาดี ได้เล่าให้ฟังว่า สำหรับ “กลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านนาดี” ได้ทอผ้าเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวอีสาน เป็นภูมิปัญญาที่น่าภาคภูมิใจเป็นหน้าที่ของสตรีที่จะใช้เวลาหลังจากเก็บเกี่ยวการทอผ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน หรือในประเพณีต่างๆ โดยมีความเป็นมาของผ้าไหมที่สืบทอดกันมาเป็นของที่เป็นสิริมงคลเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ทั้งงานมงคลเช่นใช้สำหรับเครื่องแต่งกาย งานทำบุญที่วัดงานบวชนากการใช้ผ้าไทยกับอาสนะสงฆ์ห่อบาตรพระ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งในสมัยก่อนมีการใช้ผ้าไหมในการแลกสินค้าชาวอีสานรับอิทธิพลของธรรมชาติ รอบข้างมาใช้ให้เป็นศิลปะในการทอผ้าอะไรต่างๆเช่นลายสักรายต้นไม้เทคนิคและกรรมวิธีการผลิตผ้าไหมเป็นขั้นตอนที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านมาทางเทคโนโลยีพื้นบ้านที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานานเป็นภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดโดยรูปแบบที่เรียกชื่อว่า เทคนิคการทอผ้า เช่น ผ้าไหม ผ้าขิด และ ผ้ามัดหมี่
บ้านนาดี ตำบลนาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี โดยมีชาวบ้านที่เป็นคนไทยเชื้อสายลาว ที่อพยพมาจากถิ่นฐานและหลายจังหวัดเช่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี ขอนแก่น สกลนคร ซึ่งล้วนแต่มีฝีมือหลายด้านในการมัดหมี่ และทอผ้าไทยลายต่างๆ มากมาย แต่ละจังหวัดก็จะมีภูมิปัญญาด้านการมัดหมี่ และ ทอผ้าไหม ที่หลากหลายผสมผสานกัน กลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายหมู่ 10 ได้สืบทอดภูมิปัญญาของชาวอีสานทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ยกระดับผ้าไหมให้มีความแปลกใหม่ มีความสวยงาม มีจินตนาการ และศิลปะคงไว้ในลายผ้าของการทอแต่ละครั้ง
ประธานกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านนาดี ได้เล่าเพิ่มเติมอีกว่า อัตลักษณ์ (เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัญฑ์ ลักษณะโดดเด่นของผ้าไหม ผ้าฝ้าย บ้านนาดี หมู่ 10 นั้น คือเป็นลายที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเองตามยุคสมัยจินตานาการ โดยไม่ซ้ำใครของแม่ประดิษฐ์ มีผลงานโดยใช้ไหมพื้นบ้านทำเองจากทรัพยากรธรรมชาติ ในชุมชน เลี้ยงไหมเอง สาวไหมเอง และทอด้วยมือมีการหาแนวคิด ที่แปลกใหม่มานำเสนอที่มาในเรื่องราวของลายผ้าโดยยังคงเอกลักษณ์12ราศี และของดีที่เป็นเอกลักษณ์ในชุมชน พืชพรรณต่างๆ เช่น ลายตะไคร้ อ้อย กล้วย หรือแม้กระทั่งสวนป่า มีการระดมความคิดเรื่องการพัฒนาลายผ้ากับสมาชิก ควมาตรฐานการผลิตที่สม่ำเสมอ เช่นการทำเส้นไหมให้เรียบ(หวีหูก) การทอผ้ากระตุกฝืมต้องให้ได้จังหวะที่เหมาะสม ความถี่ของเส้นไหมจึงสม่ำเสมอ ลายที่ได้มีความอ่อนช้อย ประณีต สวยงาม
ประธานกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่บ้านนาดี กล่าวย้ำท้าย อีกว่า มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 สิงประดิษฐ์จากผ้าไทยประเภทของตกแต่งบ้าน ในงาน “ตรานกยูงพระราชทานสืบสานตำนานไหมไทย ปี 2551” ประเภทที่ 2 ประเภทผ้าไหมลายสร้างสรรค์การประกวดที่ภูพานราชนิเวศ(ผ้าไหมลาย12ราศี)ปี2545 รางวัลชนะเลิศ ประเภทผ้าไหมลายสร้างสรรค์ การประกวดที่ภูพานราชนิเวศ (ผ้าไหมลายเจ้าแม่กวนอิม) ปี 2547 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มพช.) ปี 2546 ผลการคัดสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น OTOP ปี 2547 ได้รัดับ 3 ดาว ปี 2549 ได้ 2 ดาว ปี 2552 ได้ระดับ4ดาวปี2555ได้3ดาวปี 2559 ได้ระดับ5ดาว รางวัลที่3ประเภทผ้าไหมลายโบราณ(ปี2547) ได้รับตรานกยุงพระราชทานเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทยนกยุงสีเงินและรางวัลชนะเลิศอันดับที่3ประกวดการประกวดเส้นไหมผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน และผลิตภัณฑ์หม่อนไหมประจำปี 2560 ได้รับตรานกยูงพระราชทานเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผ้าไหมไทยนกยูงสีทองประจำปี 2561 ณ วันที่ 15 มีนาคม 2561 และ รางวัลชนะเลิศ งาน“GMS FABRIC EXPO 2018 มหกรรมผ้าทอมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง”
ข้อมูลข่าว/ภาพ
ดร.อานนท์ แสนน่าน
ทศพร ก้อนแก้ว รายงาน