วัดสระอ้อย หรือ วัดหัวออ้อย เป็นวัดเก่าที่ล้างไปคราวเสียกรุงศรีอยุธย ที่หัวสำโรง จังหวัดลพบุรี ในยุคปัจจุบันนี้ได้ถูกลืม ความจนจำไปแล้ว. ในยุคนี้ไม่มีใครรู้จักวัดแห่งนี้แล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากลพบุรี ในวันนี้ว่า วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2561 โดยมีคณะ กรรมการบริหารชมรม รักลพบุรี สมาคมนักข่าวทีวีและผู้สื่อข่าว จังหวัดลพบุรี อาจารย์ผ่องศร ีธาราภูมิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี อาจารย์เมธี เข็มวงศ์ทอง นายใจรัก วงศ์ใหญ่ นายสมชาย เกตุฉาย ทีมข่าว สำนักข่าวเดลิซันเดย์- ข่าวสืบสวน พร้อมด้วยทีมงานข่าว ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบ วัดสรพอ้อย หรือ วัดหัวอ้อย เป็นวัดเก่าที่รักไปคราวกับศรีกรุงศรี อยุธยา ในสมัยนั้น ณ ที่หัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี วัดแห่งนี้ วัดหัวอ้อย(ร้าง) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 ตำบลหัวสำโรง อำเภอ ท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) และได้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าครั้งที่ ๒ (ราว พ.ศ. ๒๓๑๐) ไม่ปรากฏนามเดิมของวัด แต่ปัจจุบันเรียกว่า “วัดหัวอ้อย” เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่มีการปลูกอ้อยกันมาก จากแผนผังของวัดมีเจดีย์สามองค์เรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ เป็นประธานตั้งอยู่ด้านหน้าวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และลวดลายปูนปั้นแข้งสิงห์ที่ประดับบนฐานบัลลังก์เจดีย์องค์ทิศเหนือ
เจดีย์เป็นเจดีย์ ๓ องค์ ตั้งเป็นแนวเดียวกันตามทิศเหนือ-ใต้ โดยตั้งอยู่บริเวณหลังวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยม มีส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมและเทคนิคการก่อสร้าง ดังนี้ คือ ส่วนฐานก่อเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมขนาด ๕.๕๐ X ๕.๕๐ เมตร สูง ๖๐ เซนติเมตร ถัดขึ้นมาเป็นฐานรองรับองค์ระฆัง จำนวน ๓ ชั้น อยู่ช่วงละ ๕๐ เซนติเมตร ส่วนองค์มีลักษณะเป็นองค์ระฆังกลม ภายในองค์ระฆังมีห้องกรุ ๒ ชั้น ชั้นที่ ๑ ขนาดกว้าง ๗๐ เซนติเมตร สูง ๑๗๐ เซนติเมตร บนห้องกรุใช้แผ่นหินอ่อนหนา ๖ เซนติเมตร ปิดห้องกรุ ห้องกรุชั้นที่ ๒ ขนากว้าง ๔๐ เซนติเมตร สูง ๑๔๐ เซนติเมตร ปิดห้องกรุด้วยแผ่นหินอ่อนเช่นกัน ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยมประดับลวดลายปูนปั้นคล้ายที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ส่วนยอดประกอบด้วยส่วนก้านฉัตรถัดขึ้นไปเป็นปล้องไฉน ส่วนปลียอดหักหายไป รวมความสูงจากฐานถึงยอดส่วนที่เหลือประมาณ ๘ เมตร
จากการวางแผนผังวัดละเจดีย์ ๓ องค์นี้ต้องวางอยู่ในแนวเดียวกันขวางทิศทางกับแนวแกนวิหาร โดยมีวิหารตั้งอยู่หน้าเจดีย์องค์กลาง แตกต่างวัดอื่นที่มีเจดีย์ ๓ องค์ เช่น วัดพระศรีสรรเพชญ์มีเจดีย์ ๓ องค์ ตั้งอยู่ในแนวเดียวกับวิหาร จากรูปแบบเจดีย์วัดหัวอ้อยเป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับเจดีย์วัดกระชาย วัดจงกลม วัดตระไตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดไลย์จังหวัดลพบุรี
วิหารเป็นอาคารวางตัวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าทางทิศตะวันออก มีขนาด ๙ X ๑๖ เมตร วางตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก พบเหลือเพียงส่วนฐานและผนังอาคารบางส่วนโดยไม่พบส่วนเครื่องบน ส่วนฐานวิหารก่อเป็นฐานเขียงสูง ๑ เมตร ก่อเป็นผนังขึ้นเป็นเอ็นด้านละ ๘๐ เซนติเมตร ด้วยอิฐขนาด ๑๕ X ๒๘ X ๕ เซนติเมตร ห่างจากวิหาร ๕๐ เซนติเมตร มีร่องรอยก่อเป็นฐานสี่เหลี่ยม ลักษณะเป็นฐานตอม่อรองรับเสารับพาไลปีกนก ถัดขึ้นไปเป็นส่วนวิหารโดยผนังวิหารตั้งอยู่ห่างจากของฐานเข้ามาประมาณด้านละ ๑๕๐ เซนติเมตร ใช้อิฐก่อประสานกันกว้างขนด ๔๐ เซนติเมตร ส่วนผนังวิหารนี้เหลือเพียงผนังด้านทิศใต้อยู่สูงจากพื้นวิหาร ๕๐ เซนติเมตร ด้านอื่นไม่เหลือหลักฐาน ที่ผนังมีการก่อเสาหลอกกว้าง ๕๐ X ๕๐ เซนติเมตร พบเหลือเพียงต้นเดียวบนผนังด้านทิศใต้ โครงสร้างวิหารถมอัดดินจนแน่นเพื่อรองรับพื้นวิหาร พื้นวิหารใช้อิฐปูเรียงเป็นแถวต่อกันเป็นระเบียบ ตรงกลางพื้นวิหารมีร่องรอยขุดเป็นหลุมขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าเป็นร่องรอยลักลอบขุดเพื่อหาโบราณวัตถุฐานชุกชี ที่ท้ายวิหารเป็นที่ตั้งฐานชุกชีขนาด ๑๗๐ X ๔๐๐ เซนติเมตร ก่อเป็นฐานบัวคว่ำด้วยอิฐ เป็นฐานหน้ากระดานล่างจำนวน ๒ ชั้น ถัดขึ้นมาเป็นบัวคว่ำ ท้องไม้ยังมีร่องรอยการฉาบปูน สูง ๕๐ เซนติเมตร เทคนิคการก่อสร้างวิหารใช้อิฐก่อวางยาว ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของวิหารมีร่องรอยผนังล้มลงมา ส่วนเครื่องบนได้พุงทลายลงหมดแล้ว แต่จากโบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่ง สันนิษฐานว่าหลังคาวิหารคงมุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย.
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ข่าว/ สมชาย เกตุฉาย ภาพ/ ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี