Immersive : สมรรถนะเฮลิคอปเตอร์กองทัพบก
เริ่มที่เฮลิคอร์ปเตอร์รุ่นแรก คือรุ่นฮิวอี้ ผลิตโดยบริษัทเบลล์ เฮลิคอร์ปเตอร์ จำกัด จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ประจำการตั้งแต่ปี 2511 ตามโครงการช่วยเหลือทหารของสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเวียดนาม ถูกผลิตออกมา
ทั่วโลก 16,000 ลำ กองทัพบกมีประจำการ 90 ลำเป็นเฮลิคอร์ปเตอร์เครื่องยนต์เดี่ยว มีกำลัง 1,400 แรงม้า
ทำความเร็วสูงสุดที่ 223 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บรรทุกคนได้สูงสุด 11 คน บินได้นาน 2 ชั่วโมง 20 นาทีจุดเด่นมี
ความคล่องตัวสูงสามารถบินเลาะตามภูมิประเทศได้คล่องแคล่ว ซ่อมบำรุงและหาอะไหล่ทดแทนได้ง่าย
และราคาถูก ปัจจุบันกองทัพบกนำมาใช้ภารกิจด้าน ส่งกำลังบำรุง สนับสนุนการรบ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ขณะที่เฮลิคอร์ปเตอร์แบล็คฮอร์ก ผลิตโดยบริษัท Sikorsky Aircraft Corporation ประเทศสหรัฐอเมริกา
ถือเป็นเฮลิคอร์ปเตอร์ขนาดกลางที่ดีที่สุดแบบหนึ่งของโลก มีความสามารถการบินระดับสูงสมรรถนะมี 2 เครื่องยนต์
กำลัง 1890 แรงม้า นั่งได้ 14 ถึง 20 คน บรรทุกอุปกรณ์นอกเครื่องได้สูงถึง 9,000 ปอนด์ ทำความเร็วได้ 295 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง สามารถติดอาวุธได้หลากหลาย โดยเฉพาะจรวจนำวิถีด้วยเลเซอร์เข้าประจำการในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2545
จำนวน 7 ลำ ประจำการในกองบินปีกหมุนที่ 9 กองพันบิน ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี ภารกิจส่วนใหญ่ถูกใช้ภารกิจ
ให้บุคคลสำคัญเป็นพาหนะเป็นหลัก
ตามมาด้วยเฮลิคอร์ปเตอร์ MI 17 V 5 ซื้อจากประเทศรัสเซีย เพื่อมาทดแทนเฮลิคอร์ปเตอร์แบล็คฮอร์ก
ที่มีราคาแพงกว่าถึง 3 เท่าสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 36 คน รับน้ำหนักได้ 7 พันกิโลกรัม ตัวเครื่องทนทาน
ต่อกระสุนปืนเล็กจากพื้นดินเข้าประจำการที่ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่ปี 2554 รวมทั้งหมด 6 ลำ
ใช้งบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท โดยกองทัพบกใช้เฮลิคอร์ปเตอร์รุ่นดังกล่าวในภารกิจลำเลียง แต่สามารถ
ติดปืนกลสนับสนุนภารกิจสู้รบได้
เฮลิคอร์เตอร์ Agusta Westland หรือฮ.ท.139 ผลิตจากบริษัท ออกัสต้าเวสต์แลนด์ สาธารณรัฐอิตาลีสรรมถนะ
มี 2 เครื่องยนต์ 2 ใบพัด 1531 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 306 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางการบิน 927 กิโลเมตร
บินได้ประมาณ 5 ชั่วโมงโดยประจำการในประเทศไทย เมื่อปี 2557 จำนวน 2 ลำ มูลค่า 1,300 ล้านบาท
ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง
ผู้บัญชาการทหารบก เห็นว่าไม่เหมาะสมใช้เฮลิคอร์ปเตอร์แบล๊กฮอร์กมาใช้ภารกิจธุรการ
เพราะมีความสามารถด้านการรบ จึงขออนุมัติจัดซื้อเฮลิคอร์ปเตอร์รุ่นดังกล่าวมาใช้แทน
และเฮลิคอร์ปเตอร์รุ่นที่ตกคือ เบลล์ 212 ผลิตโดยบริษัท เบลล์ เฮลิคอร์ปเตอร์ จำกัด ประเทศสหรัฐอเมริกา
ถูกพัฒนาจากเฮลิคอร์ปเตอร์ฮิวอี้สมรรถนะมี 2 ใบพัด 2 เครื่องยนต์ บินได้ไกล 420 กิโลเมตร
ความเร็วสูงสุด 220 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง บรรทุกผู้โดยสารได้ 15 ที่นั่ง
กองทัพบกไทยจัดให้อยู่ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย เข้าประจำการตั้งแต่ปี 2535 มีอยู่ประมาณ 34 ลำ
ตกไปแล้ว 3 ลำ ที่เหลือกระจายตามหน่วยงานกองบินของกองพลและศูนย์การบินทหารบกตามแต่พื้นที่
ที่มา ไทยรัฐ