สำหรับชาวภาคกลาง ประเพณีหนี่ง ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และถือปฏิบัติกันมายาวนานแต่ครั้งโบราณกาลคือ “ประเพณีกวนข้าวทิพย์” หรือการกวนข้าวมธุปายาส ซึ่งเป็นประเพณีทางพุทธผสมกับพราหมณ์ โดยมีความเชื่อว่า สามารถถวายให้พระภิกษุสงฆ์ และ บูชาพระรัตนตรัย ตลอดจนเป็นการส่งบุญส่งกุศล ให้แก่ญาติพี่น้อง หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วได้ครับ
โดยประวัติแล้ว ประเพณีนี้เกี่ยวเนื่องกับ พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า คือเมื่อครั้งก่อนที่พระองค์จะได้บรรลุธรรมนั้นทรงประทับอยู่ที่ต้นนิโครธ ซึ่ง ณ เวลานั้น นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีในหมู่บ้านเสนานิคม ได้ทำการกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาส (ข้าวกวนเข้ากับถั่วและน้ำนม) มาถวายเทวดาอารักษ์ ที่โคนต้นนิโครธ และนางสุชาดาได้มองเห็นพระสิทธัตถะ และคิดว่าเป็นเทวดา จึงได้ทำการถวายข้าวมธุปายาสถาดนั้นแก่พระองค์
เมื่อพระสิทธัตถะได้เสวยพระกระยาหารถาดนั้นแล้ว จึงนำถาดไปเสี่ยงสัตย์อธิษฐาน ว่าจะทรงบรรลุธรรมหรือไม่ หากจะทรงบรรลุธรรมได้ ให้ถาดลอยทวนน้ำ ปรากฏว่าถาดลอยทวนน้ำขึ้นไปได้อย่างอัศจรรย์ ซึ่งต่อมาพระองค์ก็ได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณสำเร็จ จึงกล่าวได้ว่า ข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาสถาดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการบรรลุธรรม และเชื่อกันว่า หากได้ถวายข้าวทิพย์ แก่พระภิกษุสงฆ์ และพระรัตนตรัยแล้วไซร้ จะได้บุญมากๆ เลยทีเดียว
สำหรับประเพณีการกวนข้าวทิพย์นั้น จัดขึ้นในหลายพื้นที่ของทางภาคกลาง เช่น พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรี เป็นต้น ซึ่งประเพณีกวนข้าวทิพย์นั้นทำมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่เลิกไปช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง ในช่วง รัชกาลที่ 4 อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคกลางประเพณีนี้เสื่อมความนิยมลงไปเยอะ แต่ก็ยังมีการจัดขึ้นอย่างเหนียวแน่น ในพื้นที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสิงห์บุรี
การเริ่มพิธีนั้น จะจัดพิธีแบบพราหมณ์ คือการตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 6 โดยบายศรีที่ว่านี้ประกอบไปด้วย ไตรีจีวร 1 ชุด ถาดใส่อาหาร ไข่ ข้าว ขนมต้ม ผลไม้ โดยก่อนการเริ่มพิธี พราหมณ์ จะสวดมนต์ชุมนุมเทวดาเสร็จแล้วจึงจะเริ่มพิธี กวนข้าวทิพย์
การกวนข้าวทิพย์ จะคัดเลือกผู้กวนเป็นเด็กสาวพรหมจารีย์ (ใส่ชุดนุ่งขาวห่มขาวที่แสดงถึงความบริสุทธิ์) แล้วใส่ส่วนผสมคือข้าวที่ยังไม่สุก เป็นน้ำนมอยู่ และ อาหารกับธัญพืชมงคล 9 ประการ ที่ประกอบด้วย นม เนย ถั่ว น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง งา และ ผลไม้บางชนิด ใส่ลงไปในกระทะขนาดใหญ่ กวนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวเหนียวข้น ก่อนจะช่วยกันปั้นข้าวทิพย์เป็นก้อน เพื่อถวายให้แก่พระภิกษุสงฆ์ในวัดของพื้นที่ ในวันที่ 15 ค่ำเดือน 6 ส่วนข้าวทิพย์ที่เหลือจะแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ลิ้มรสกัน. พระครูบุญศิริวัฒร์ สิกุขกาโม(หลวงพ่อบุญ) เจ้าอาวาสวัดชีแวะ ตำบลงิ้วราย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี กล่าวว่า เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2561 ซึ่งตรงกับ วันอังคาร 29 พฤษภาคม 2561 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 วัดชีแวะ ได้ร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี จัดพิธีกวนข้าว
ธุปายาส(ข้าวทิพย์) ถวายเป็นพุทธบูชา เนื่องในวันวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม 2561 ทางวัดฯจะมีพิธีถวายมหาสังฆทาน ในเวลา 09.00 น. และทาง ทางวัดชีแวะ ตำบลงิ้วราย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ได้มีอาหาร จัดพิธีปฏิบัติธรรมในวันวิสาขบูชา ระหว่าง วันที่ 28-31 พฤษภาคม 2561
ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นพระราชพิธีกระทำในเดือน 10 ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะจัดในเดือน12 บางแห่งจะจัดในเดือน 1 ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกล้าในท้องนามีรวงข้าว และเครื่องกวนข้าวทิพย์ประกอบด้วยถั่ว นม น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย งา เนย น้ำกะทิ และนมที่คั้นจากรวงข้าว
ความสำคัญ
ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ที่สอดแทรกในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ บูชาพระรัตนตรัย และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
พิธีกรรม
การจัดพิธีกรรม ยังคงรักษาแบบเดิมไว้ โดยมีพราหมณ์ทำพิธี และมีสาวพรหมจารีซึ่งจะพิถีพิถันคัดเลือกจากหญิงสาวที่ยังไม่มีระดู ด้วยต้องการบริสุทธิ์สำหรับสาวพรหมจารีที่จะเข้าร่วมพิธี ต้องสมาทานศีล 8 และต้องถือปฏิบัติตามองค์ศีลอย่างมั่นคง
สาระ
ข้าวทิพย์เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ป้องกันโรคภัย ทางวัดชีแวะ ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ ถึ พุทธศาสนิกชน ที่สนใจ เข้าร่วมงานได้ที่วัดชีแวะ ตำบลงิ้วราย อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรือหากสนใจ ร่วมทำบุญ ตามกำลังศรัทธา. เป็นเจ้าภาพถวายมหาสังฆทานข้าวมธุปานาสหรือ ข้าวทิพย์ ติดต่อทางวัดชีแวะโดยตรง
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ข่าว/ สมชาย เกตุฉาย. ภาพ/ ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี