เมื่อเวลา11.00น.วันที่7พฤษภาคม2561 ผู้สื่อข่าวรายงานที่ศาลาวัดบ้านวังไทรทอง หมู่7 ต.ซับเปิบ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ ชาวบ้าน หมู่1-7 ร่วนกันทำบุญใหญ่ของหมู่บ้านประเพณีบุญสลากภัตของอำเภอวังโป่งนี้ นิยมปฏิบัติกันช่วงเดือน6ของทุกปี โดยชาวบ้านทั้งหมู่บ้านจะนำผลไม้ที่ปลูกอยู่ไร่นาสวนของตนเองและอาหารคาวหวานรวมทั้งเครื่องไทยทานต่างๆไปตั้งเป็นกัณฑ์สลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัด
จากนั้นมัคทายก ก็จะนำเบอร์มาติดที่กัณฑ์ฉลากของเจ้าภาพแต่ละรายแล้วเขียนเบอร์หมายเลขให้พระจับพระจับได้เบอร์อะไรของเจ้าภาพคนใดก็ไปรับกัณฑ์สลากที่เจ้าภาพคนนั้นนำมาถวาย เป็นการถวายทานแบบไม่เจาะจงตัวผู้รับเมื่อพระองค์ใดจับได้เบอร์ของเจ้าภาพ เจ้าภาพไม่ควรแสดงความยินดีหรือ ยินร้ายในผู้รับ เมื่อมีการจับสลากแล้วก็จะมีการฟังเทศน์อย่างน้อย1กัณฑ์ต่อจากนั้นก็จะมีการยกของประเคนตามสลากเมื่อเสร็จแล้วพระสงฆ์ก็จะอนุโมทนาและให้พรเจ้าภาพก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วเป็นอันเสร็จพิธี โดยมีพระสงฆ์จากวัดต่างๆในอำเภอวังโป่ง จำนวน 39 รูป ซึงเป็นประเพณีมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายแล้ว
ด้าน พระครูกิตติพัชโรภาส เจ้าอาวาสวัดเกตุสามัคคี รองเจ้าคณะอำเภอวังโป่ง กล่าวว่า สลากภัต เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎก เป็นชื่อเรียกวิธีถวายทานแก่พระสงฆ์วิธีหนึ่ง โดยการจับสลากเพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธาถวาย เพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธาที่มีปัจจัยวัตถุจำกัดและไม่สามารถถวายแก่พระสงฆ์ทั้งหมดได้ โดยสลากภัตนับเนื่องในสังฆทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะถือว่าแม้จะตั้งสลากถวายกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่จับสลากได้ ย่อมเท่ากับถวายกับพระสงฆ์ทั้งหมด เพราะสลากที่จับนั้นพระสงฆ์ทุกรูปในอารามนั้นมีสิทธิ์ได้ นอกจากนั้นสลากภัตยังเป็นหลักการในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเท่าเทียมกันและสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันแก่คณะสงฆ์การถวายโดยอุทิศให้แก่สงฆ์ โดยอุทิศให้เป็นเผดียงสงฆ์ (ไม่ระบุเฉพาะว่าจะถวายรูปไหน) เช่นการถวายสลากภัต แม้พระจะได้รับของที่ถวายแค่รูปเดียว แต่ถือได้ว่าพระสงฆ์ที่มารับถวายเป็นพระที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ก็นับเป็นสังฆทานที่สมบูรณ์
เดชา มลามาตย์ /มนสิชา คล้ายแก้ว ผู้สื่อข่าว จังหวัดเพชรบูรณ์