เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเยือน ประเทศเยอรมนี
วันที่14 กรกฎาคม พ.ศ.2477 หลังจากพระองค์ทรงสละราชสมบัติแล้ว3เดือน
– นี่คือการเสด็จเยือนเยอรมัน ของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวล้นเกล้า ฯ ร.๗ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว
เพราะภาพก็ปรากฎชัดเจนแต่พอจะอ้างอิงได้ นอกเหนือจากภาพ นั่นคือ…จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิน
ประพาสยุโรป พ.ศ.๒๔๗๖ – ๒๔๗๗ของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว .
– การเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเยอรมนี มีรายละเอียดปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มดังกล่าว ในตอนที่ ๑๒
(ในประเทศเยอรมนี) พอสรุปได้ว่า… ได้เสด็จไปถึงประเทศเยอรมนีโดยทางเรือจากประเทศเดนมาร์ก ถึงท่า
เรือเมืองแฮมเบิคในวันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ …… และในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๔๗๗ ได้เสด็จ
พระราชดำเนินไปเยี่ยมประธานาธิบดี ฟอน หิน เดนบูร์ค (Paul von Hindenburg ๑๘๔๗ – ๑๙๓๔
ประธานาธิบดีเยอรมนี ระหว่าง ๑๙๒๕ – ๑๙๓๔) ผู้ชรามีอายุถึง ๘๗ ปี เพราะแพทย์ไม่ยอมให้มาเฝ้าที่
กรุงเบอร์ลิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีฯ จึงเสด็จไปเยี่ยม
ประธานาธิบดี ณคฤหาสน์ที่เมืองเนยเดก … และในวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๔๗๗ เสด็จพระราชดำเนินไป
ทรงสนทนากับฮิตเลอร์ ผู้นำเยอรมัน (Adolf Hitler ๑๘๘๙-๑๙๔๕ นายกรัฐมนตรีหรือ Chancellor ต่อมา
เมื่อประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม ในเดือนสิงหาคม ๑๙๓๔ (๒๔๗๗) จึงรวมตำแหน่งประธานาธิบดีและ
นายกรัฐมนตรีเป็น (DerFuhrer) ณ ศาลาว่าการนายกรัฐมนตรีจากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชม
กิจการและเทคโนโลยีที่ทันสมัยอาทิ โรงไฟฟ้าของกรุงเบอร์ลิน โรงวิทยาศาสตร์และโรงผสมยาของบริษัท
เชอลิง ฆาห์ลโบม โรงงานกลั่นน้ำมันเบนซิน จากผงถ่านศิลาอ่อนที่เมืองเลอร์นา หอสอนดาราศาสตร์หรือ
ที่รู้จักกันว่าท้องฟ้าจำลอง ซึ่งเครื่องฉายดาวในเวลานั้น ทั้งโลกมีอยู่เพียง ๗ แห่ง เป็นต้น อันแสดงถึง
ความสนพระราชหฤทัยในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอย่างดี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ณ ศาลาไทย
เมืองบาดฮอมบวร์ก… ในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ เสด็จไปถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ตบน
แม่น้ำเมน เมื่อเวลา ๑๖.๑๕ นาฬิกา ประทับที่โฮเต็ลแฟรงเฟอร์เตอฮอฟ สถานที่เดียวกับที่
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ (คศ.๑๙๐๗) …
… และในวันรุ่งขึ้น (วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗) เวลา ๑๑นาฬิกาเศษ เสด็จพระราช
ดำเนินโดยรถยนต์ไปยังเมืองบาดฮอมบวร์ก(ซึ่งในจดหมายเหตุเรียกว่าเมืองฮอมเบิค) ระหว่างทาง
หยุดทอดพระเนตรการแข่งขันรถยนต์ทางไกล ๒,๐๐๐ กิโลเมตร เพื่อทดสอบสมรรถนะของรถยนต์
ยี่ห้อต่าง ๆ ในประเทศเยอรมนีโดยแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รถขนาดใหญ่และขนาดเล็ก …
– รายละเอียดของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองบาดฮอมบวร์ก หนังสือจดหมายเหตุได้บันทึก
รายละเอียดไว้อย่างละเอียด รวมถึงที่มาของแผ่นป้ายโลหะจารึกพระบรมนามาภิไธยของล้นเกล้า
ทั้ง ๒ พระองค์ความว่า”เวลาเที่ยงเศษ เสด็จถึงศาลาเริง (Kur Haus) เมืองฮอมเบิค ท่านหาร์ต
พ่อเมือง (Ober Burgomeister Hardt) กับนายหอฟเนอร์ (Herr Hofner) ผู้จัดการศาลาเริง
และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เชิญเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร ศาลาไทยรูปพลับพลา ซึ่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้นายช่างสร้างขึ้นและปิดทอง
ตบแต่งในกรุงเทพฯ และส่งออกมาคุมขึ้นที่นี่ประมาณ ๒๕ ปีมาแล้ว ยังคงงดงามดีมากดูเป็นสง่าแก่
สถานที่ มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนิน
ครั้งนี้ ท่านปรินศ วุลฟคางคฤหบดีผู้ใหญ่ (Leader) ของเมืองฮอมเบิค ได้ทำป้ายโลหะแผ่นใหญ่จารึก
พระบรมนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีตรึก
ติดไว้ที่กำแพงแก้วล้อมศาลาจากที่นี้เสด็จไปเสวยน้ำแร่ที่บ่อจุฬาลงกรณ์ และเสด็จพระราชดำเนินไป
ในสวนอันงาม และทรงซื้อของที่ระลึก แล้วมาประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันในศาลาเริง เจ้าหน้าที่
ถวายสมุดรูปต่าง ๆ ซึ่งถวายไว้เมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาประพาส พร้อมทั้งรูป
ศาลาไทยและอื่น ๆ เป็นที่ระลึก
– อนึ่ง ความสนพระราชหฤทัยในการรักษาสุขภาพด้วยน้ำหรือ Spa ยังปรากฏให้เห็นในการเสด็จพระราช
ดำเนินประพาสประเทศเชโกสโลวาเกียในระหว่างวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ถึง ๗ สิงหาคม ๒๔๗๗ ซึ่งในวันที่
๓๑กรกฎาคม ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองการ์ลสบาด (Karlsbad) ซึ่งเป็นเมืองที่มีน้ำแร่คุณภาพสูง
มีห้องอาบน้ำแร่ แก้โรคต่าง ๆ ตามแต่แพทย์จะแนะนำโดยจดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป
ได้กล่าวถึงคุณวิเศษของ “วารีบำบัด” ที่เมืองนี้ ความว่า “น้ำแร่ที่นี่แก้โรคต่าง ๆ ได้ คือ โรคลำไส้ โรคเรื้อรัง
ภายใน เนื่องจากรื้อไข้หรือ อ่อนเพลียจากการตัดผ่าอย่างใหญ่ โรคที่เกี่ยวกับตับ ปอด ม้าม และไต โรคเรื้อรัง
ซึ่งเคยป่วยมาจากประเทศร้อน…และอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ฟังเขาอธิบายแล้วดูเหมือนว่าจะไม่มีโรคชนิดไหน
ในโลก ที่น้ำแร่ที่ตำบลนี้จะรักษาไม่ได้” นอกจากนั้น พุ สะปรูเดล (Sprudel Spring) ซึ่งเป็นบ่อน้ำบ่อใหญ่ที่สุด
ของเมือง น้ำร้อนจากบ่อน้ำนี้ (๗๒ ดีกรีเซนติเกรด) ยังใช้ดื่มเพื่อผลทางสุขภาพอีกด้วย
จดหมายเหตุฯ ยังบันทึกไว้อีกว่า เคอเธ (Goethe, Johann Wolfgang von(๑๗๔๙ – ๑๘๓๒)) นักประพันธ์
ผู้มีชื่อเสียงของเยอรมนีเป็นผู้หนึ่งที่มารักษาตัวที่เมืองนี้ ถึงสิบสามครั้งมีความเห็นว่า “เพราะเหตุที่ได้อาบน้ำ
และกินน้ำที่นี่ ข้าพเจ้าจึงได้ความสุขกายอะโข”๒๔ การบันทึกเหล่านี้ในอีกนัยหนึ่งย่อมเป็นการสะท้อนถึง
พระราชนิยมและความสนพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อการรักษาโรคภัย
ไข้เจ็บด้วยน้ำแร่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถณ ศาลาไทย
เมืองบาดฮอมบวร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓
– ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จ
เยือนทวีปยุโรป ๕ ประเทศ คือ อังกฤษเยอรมนี โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ในระหว่าง
วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ถึงวันที่ ๑๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๓ โดยเป็นการเสด็จพระราชดำเนินต่อ
เนื่องจากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ได้เสด็จพระราชดำเนินถึงประเทศเยอรมนี
(เยอรมนีตะวันตก) เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ โดยเสด็จฯ ทางรถไฟพิเศษ ซึ่งรัฐบาล
เยอรมันจัดถวาย ในการนี้ ประธานาธิบดีลึบเค่(Heinrich Lubke ๑๘๙๔ – ๑๙๗๒ ประธานาธิบดีเยอรมนี
๑๙๕๙ – ๑๙๖๙หรือพ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๑๒) และนายกรัฐมนตรี อาเดเนาว์ (Konrad Adenauer
๑๘๗๖ – ๑๙๗๖ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ๑๙๔๙ – ๑๙๖๓ หรือ พ.ศ. ๒๔๙๒ – ๒๕๐๖) มารับเสด็จที่
สถานีรถไฟกรุงบอนน์ เมืองหลวงของเยอรมนี (ตะวันตก) ในขณะนั้นในการเสด็จพระราชดำเนินทอด
พระเนตรเทคโนโลยี และวิทยาการสมัยใหม่ของประเทศเยอรมนีเช่นเดียวกับ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโรงงานอุตสาหกรรม
ถลุงเหล็กของโรงงานบริษัทกรุปป์ในเมืองโบคุม โรงงานผลิตกล้องจุลทรรศน์และกล้องถ่ายรูป
ของบริษัทเอิร์นสต์ไลต์ซ เป็นต้น
ที่มาภาพเนื้อหา Bloggang