เช่นเดียวกับที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น เชื่อว่า “ลิฟต์อวกาศ” ไม่เพียงจะเป็นหนทางประหยัด
มากกว่าจรวดในการขึ้นสู่ห้วงอวกาศ
ดร. เจมส์ พาวเวลล์ ผู้ร่วมประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยี แม็กเลฟ ที่ใช้สนามแม่เหล็กในการขับเคลื่อนขบวนรถไฟความเร็วสูง
กับ ดร.จอร์จ เมส วิศวกรอวกาศยาน ซึ่งเคยทำงานอยู่กับห้องปฏิบัติการแห่งชาติ บรูคเฮฟเวน ของสหรัฐอเมริกา
ก็เชื่อเช่นเดียวกันว่าแนวความคิด “รถไฟแม็กเลฟสตาร์แทรม” ก็สามารถทำให้การเดินทางสู่อวกาศ ถูกลง และมี
ประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองอยู่เบื้องหลังแนวความคิดในการสร้าง”สตาร์แทรม” ระบบส่งอวกาศยานด้วยพลังงานแม่เหล็ก
ไฟฟ้าที่เชื่อว่ามีความเป็นไปได้แล้วด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ในทุกวันนี้เพียงผสมผสานความสามารถและความเชี่ยวชาญ
ของทั้งสองสาขาเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่จะใช้แนวความคิดนี้ไปในเชิงพาณิชย์ อย่างเช่น
การท่องเที่ยวอวกาศอีกด้วย
ตามแนวคิดรถไฟฟ้าอวกาศนี้จะแยกออกเป็น 2 เวอร์ชั่น เจเนอเรชั่นที่ 1 หรือเวอร์ชั่นแรกเป็นขบวนรถไฟฟ้าเพื่อส่งยาน
อวกาศสำหรับการจัดส่งพัสดุภัณฑ์เท่านั้น มูลค่าก่อสร้างเบื้องต้นที่ประเมินไว้ในตอนนี้เท่ากับ 20,000 ล้านดอลลาร์
อีกเวอร์ชั่น เจน 2 จะเป็นระบบส่งสำหรับยานอวกาศที่มีผู้โดยสารอยู่ด้วย ซึ่งมูลค่าการก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า
เป็นราว 60,000 ล้านดอลลาร์ ถ้าหากตัดสินใจในวันนี้ แบบแรกจะใช้เวลาอีก 10 ปีก็แล้วเสร็จ ส่วนเจน 2 จะต้องใช้
เวลาเพิ่มมากขึ้นเป็น 20 ปี และใช้ทรัพยากรเพื่อการก่อสร้างมากกว่าแบบแรกมาก
ตามแนวคิดเบื้องต้น เจน 1 ของสตาร์แทรม จะถูกสร้างขึ้นตามแนวด้านข้างของภูเขาสูง ในขณะที่เจเนอเรชั่นที่ 2 นั้น
จะเป็นการก่อสร้างแนวรางพลังแม่เหล็กยกระดับให้สูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่อยู่สูงเหนือพื้นดินราว 20 กิโลเมตร รวม
ระยะทางของรางทั้งหมดราว 1,609 กิโลเมตร
ตัวรางซึ่งแน่นอนจะมีส่วนที่ถูกยึดโยงอยู่กับพื้นดิน แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ตอม่อหรือเสาค้ำยันใดๆ เพราะใช้เทคโนโลยีแม็กเลฟ
ซึ่งอาศัยคุณสมบัติการเกิดแรงผลักของแม่เหล็กไฟฟ้าขั้วเดียวกันมาใช้ ยกระดับรางดังกล่าวให้ลอยอยู่กลางอากาศ แต่เพื่อ
ป้องกันไม่ให้ระบบเสียหายจากคลื่นสั่นสะเทือนที่จะเกิดขึ้นเมื่อสตาร์แทรมขับเคลื่อน ระบบทั้งหมดจะถูกหุ้มอยู่ภายในอุโมงค์
สุญญากาศ ซึ่งจะดูดซับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับ ไฮเปอร์โซนิค (ความเร็วเหนือเสียงมากกว่า
มัค 5 ขึ้นไป) ซึ่งจะทำระยะทางได้ 9 กิโลเมตรในระยะเวลาเพียงแค่ 1 วินาทีเท่านั้น
ในขั้นตอนสุดท้าย ตัวยานจะเร่งความเร็วขึ้นสูงสุดก่อนหลุดจากราง เมื่อถึงตอนนั้นมันก็จะอยู่ในระดับสูงพอที่จะเข้าสู่
วงโคจรระดับล่างของโลก (แอลอีโอหรือ โลเวอร์ เอิร์ธ ออร์บิท-หมายถึงวงโคจรใดๆ ที่อยู่ในระยะห่างจากพื้นผิวโลก
ระหว่าง 1600 กิโลเมตรถึง 2,000 กิโลเมตร) แล้ว
“สตาร์แทรม” สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายในอนาคต ตั้งแต่การปกป้องโลกจากดาวเคราะห์น้อย, การทำฟาร์ม
พลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศ, การทำเหมืองแร่บนดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง, การใช้อวกาศเพื่อการผลิตในเชิง
อุตสาหกรรม และการสร้างนิคมในอวกาศ เป็นต้น
ดร.พาวเวลล์และ ดร.เมสยอมรับว่า มูลค่าการลงทุนดังกล่าวสูงมาก แต่ถ้าเทียบกับค่าใช้จ่ายขององค์การบริหาร
การบินอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ในเวลานี้ ที่ต้องใช้เงิน 10,000 ดอลลาร์ (ราว 320,000 บาท) ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ของของใดๆ ที่ส่งขึ้นสู่ห้วงอากาศ แต่ระบบสตาร์แทรมสิ้นเปลืองเพียง 50 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม หรือ นาซาต้องจ่าย
เงิน 20 ล้านดอลลาร์ให้กับรัสเซียในการส่งนักบินอวกาศหนึ่งคนขึ้นสู่ห้วงอวกาศในตอนนี้
ในขณะที่ระบบสตาร์แทรมใช้เงินเพียง5,000 ดอลลาร์ต่อคนเท่านั้นเอง
ที่มา มติชน