เตรียมสร้างคลองกระ ถ้า…เกิดสงครามบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์
๕ เหลาทัพ ฉบับนี้ขอนำพระราชโอวาท ล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
เป็นอุทาหรณ์สอนใจมหาชนชาวไทยให้รวมใจกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อความมั่นคง และยั่งยืนตลอดไป ดังนี้
แม้หวังตั้งสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ์
ศัตรูกล้ามาประจัญ จะอาจสู้ริปูสลาย
หมู่เกาะสแปรตลีย์ ตั้งอยูใจกลางทะเลจีนใต้ มีพื้นที่รวมกันประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ ตารางไมล์ หรือคิดเป็นพื้นที่ ๓๘-๔๐%
ของพื้นที่ทะเลจีนใต้ มีเกาะเล็ก เกาะน้อย และ โขดหินมากกว่า ๔๐๐ เกาะ แต่มีเพียง ๓๓ เกาะ ที่โผล่พ้นน้ำทะเล
พี้นที่หมู่เกาะสแปรตลีย์ มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยส่วนที่เป็นทะเลจีนใต้เป็น กลุ่มของเกาะต่างๆ
กระจัดกระจายอยู่กลางทะเลระหว่างชายฝั่งของประเทศเวียดนามทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้
ของประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมาเลเซีย และบรูไน นอกจากนั้นบริเวณเหนือหมู่เกาะ
สแปรตลิย์ ยังรวมไปถึงหมู่เกาะพาราเซล ชึ่งตั้งอยูบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของประเทศเวียดนาม และชายฝั่งตะวันตก
ของประเทศฟิลิปปินส์ ขณะนี้มีกลุ่มประเทศต่างๆ ในเขต พื้นที่ทะเลจีนใต้อ้างกรรมลิทธิ์เป็นเจ้าของหมู่เกาะสแปรตลีย์
๖ ประเทศได้แก่ จีน เวียดนาม ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน โดยมีเหตุผลสำคัญ ดังนี้
ประเทศจีน อ้างว่า เป็นผู้ค้นพบหมู่เกาะนี้ ตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อ ๒,๐๐๐ ปึมาแล้ว และได้ครอบครอง หมูเกาะดังกล่าว
โดยปัจจุบันได้ขึ้นไปสร้างอาคารบนเกาะ (โขดหิน) Fiery Cross Reef และ Mischief Reef
ประเทศไต้หวัน อ้างเหตุผลทางประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับประเทศจีน เพราะสมัยก่อนมีเพียงจีนเดียว ขณะเดียวกัน
ไต้หวันก็อ้างว่า ในระหวางสงครามโลกครั้ง ที่ ๒ ประเทศญี่ปุ่นได้มอบหมู่เกาะสแปรตลีย์ให้!ต้หวันดูแล และประกาศ
ครอบครองเกาะ Ita Abu ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญที่สุด
ประเทศฟิลิปปินส์ อ้างเหตุผลทางภูมิคาสตร์ เนื่องจากหมู่เกาะนี้อยูใกล้ฟิลิปปินส์มากที่สุด โดยใน ค.ศ. ๑๙๕๖
นักสำรวจชาวฟิลิปปินส์ได้ค้นพบและครอบครอง หมู่เกาะเล็กๆ ประมาณ ๕๐ เกาะ พร้อมกับตั้งชื่อวา TheKalayaan
หรือ Freedom Land Group ซีงบัจจุบัน รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ผนวกหมู่เกาะนี้เป็นพื้นที่อยู่ในอาณาเขตทางทะเล
ของจังหวัด Palawan
ประเทศเวียดนาม ได้อ้างเหตุผลทางประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับจีนและไต้หวัน ซึ่งต่อมา ในปี ค.ศ .๑๙๗๗
รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศว่า หมู่เกาะดังกล่าวอยู่ในเขต เศรษฐกิจจำเพาะของตน
ประเทศมาเลเซีย อ้างเหตุผลทางภูมิศาสตร์ว่า มีพี้นที่ของบางเกาะแห่งนี้ อยู่ในเขตไหลทวีปของรัฐ Sarawak
ทั้งนี้ในปี ค.ศ. ๑๙๘๓ รัฐบาลมาเลเซียได้สร้าง รีสอรทและค่ายทหารบนเกาะ Swallow Reef พร้อมกับ มีทหาร
ประจำการบนค่ายแหงนี้ ประมาณ ๗๐-๘๐ คน นอกจากนั้น สถานที่ดังกล่าวได้กลายเป็นแหลงท่องเที่ยวสำคัญ
ของรัฐบาลมาเลเซีย
ประเทศบรูไน อ้างว่า พื้นที่ของหมู่เกาะนี้อยูในเขต ไหล่ทวีปของบรูไน แต่ขณะนั้นบรูไนยังไม่ได้เข้าครอบครอง
หมู่เกาะใดๆ ในพื้นที่
ความสำคัญทาง ยุทธศาสตร์ของหมู่เกาะสแปรตลีย์ มิปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์
เป็นประเด็นทางการเมืองและการทหาร ที่เกิดความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคโลก เกิดการกระทบ
กระทั้งกันทางทหารระหว่างประเทศต่างๆ หลายครั้ง ที่มีการแสดงท่าทีข่มขู่และแข็งกร้าวทางทหาร ที่จะตอบโต้
ประเทศอื่นๆ หากรุกลํ้าหรือเข้าครอบครอง หมู่เกาะเหล่านี้เพิ่มเติม ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ความสำคัญ
ของหมู่เกาะสแปรตลีย์ ได้ดังนี้
๑. การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งในการสำรวจทางธรณีวิทยาของหมู่เกาะนี้ คาดว่าจะมีนํ้ามัน แก๊สธรรมชาติ
และแร่ธาตุจำนวนมหาศาล โดยสำนักงานพลังงานแห่งชาติ ของสหรัฐฯ (EIA) ประมาณการไว้ว่า หมู่เกาะดังกล่าว
เป็นแหล่งขุมทรัพย์ (ทองคำลีดำ) หรือน้ำมัน จำนวนกว่า ๒๘,๐๐๐ ล้านบาร์เรล และมีแก๊สธรรมชาติสูงถึง ๒๕ ล้าน
ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกันประเทศจีนได้ประเมินว่าจะมีนํ้ามันจำนวนมากกว่า ๒๑๓,๐๐๐ ล้านบาร์เรล มากกว่า
แหล่งน้ำมันสำรองของสหรัฐฯ ถึง ๑๐ เท่าตัว
๒. ประเทศจีนใต้ ได้เป็นเส้นทางคมนาคมหลักของเรือเดินทะเลทุกประเภทย่านระหว่างมหาสมุทรอินเดีย
(ผ่านช่องแคบมะละกา ซุนดา และลอมป็อก) กับมหาสมุทร แปซิฟิก โดยเฉพาะอยางยิ่ง หากเกิดปัญหาความขัดแย้งใดๆ
ของประเทศต่างๆ ที่อ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ นำไป สู่สงครามทางเรือ เส้นทางเดินเรือหลักดังกล่าวย่อมถูก ปิดลง
และส่งผลกระทบต่อการขนส่งนํ้ามันและสินค้าทั่ว ภูมิภาคโลก
เตรียมสร้างคลองกระวันนี้ หากมีวิกฤติสงคราม…บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย้
แม้ว่าประเทศไทยจะไมได้เป็นประเทศคู่ขัดแย้งกับ ประเทศต่างๆ ที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์
ก็ตาม แต่หากเกิดความขัดแย้งของการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติบริเวณพื้นที่ดังกล่าว นำไปสู่สงครามทางทะเล
ย่อมส่งผลให้เส้นทางเดินเรือหลัก หรือเส้นทางคมนาคม หลักของภูมิภาคนี้ถูกปิดลง
ขณะเดียวกัน ประเทศคู่สงครามในการแย่งชิงกรรมสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรตลียอาจขยายผลของสงคราม
โดยการใช้กำลังทางเรือปิดช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และช่องแคบลอมบ็อก ยอมส่งผลให้การคมนาคม
ทางทะเลระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับ มหาสมุทรแปซิฟิกเป็นอัมพาต ขนส่งสินค้าและนํ้ามัน ไม่ได้
ดังนั้น หากเราคนไทยรวมใจเตรียมความพร้อม สร้างเส้นทางเดินเรือโลกแห่งใหม่ผ่านประเทศไทย หรือ ที่พวกเรา
เรียกติดปากว่า “คลองกระ” หรือ “คลองไทย” ซี่งอยูในอาณาเขตและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย
ย่อมเกิดผลดีมีประโยชน์ของประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคโลก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรป ตะวันออกกลาง
อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และแอฟริกา เป็นต้น จะสามารถขนสงสินค้าทางทะเลทุกชนิดผ่าน ประเทศไทย
โดยมีประชาชนคนไทยเป็นผู้บริหารการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อยางมหาศาลเข้าประเทศเรา…