คณะกรรมกฺารแห่งชาติศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ
จากเกิดวิกฤตการณ์สหรัฐฯ ที่เรียกกันว่า วิกฤติ “แฮมเบอร์เกอร์” เมื่อ ๔-๕ ปีที่ผานมา ก็เพราะ รัฐบาลสหรัฐฯ ชะลอใน
การลงทุนด้านสาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐาน ส่งผลให้ประชากรชาวสหรัฐฯ ตกงานหรือ ว่างงานจำนวนนับล้านคน ดังนั้น
ในห้วงที่ประธานาธิบดี บารัก โอบามา บริหารประเทศ จึงได้เร่งสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้ประชาชน
อเมริกัน มีงานทำ พร้อมกับแก้ปัญหาการวางงานแบบครบวงจร ด้วยการสร้างถนนหนทางทั้งประเทศ สร้างอาคาร
ที่พักอาศัยจำนวนมาก พัฒนาพลังงานของประเทศ และพัฒนาระบบการเงินการธนาคาร ฯลฯ ส่งผลให้
ระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ พยุงอยู่ได้ตราบจนปัจจุบันนี้
ขณะเดียวกัน จากการเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ และสังคม ของกลุ่มประเทศยูโรโซน ล้วนมาจากสาเหตุ ขาดการ
พัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ประชากรของกลุ่มประเทศดังกล่าวไม่มี งานทำหรือ
ว่างงาน ทั้งนี้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอ แอล โอ) จึงเป็นหน่วยงานด้านแรงงานในสังกัด องค์การ
สหประชาชาติ ชาติต่างๆ ที่ใช้สกุลเงินยูโรโซน ๑๗ ชาติ หากยังไม่เร่งดำเนินการ การสร้างงาน เสียตั้งแต่บัดนี้
จะส่งผลให้ภายใน ๔ ปีข้างหน้า มีคนว่างงานเพิ่มขึ้น ๔.๕ ล้านคน ทำให้จำนวนคน ที่ว่างงานอยู่แล้วในปัจจุบัน
จำนวน๑๗.๔ ล้านคน สูงรวมถึง ๒๒ ล้านคน และส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก โดยรวมตกต่ำ
สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะ ประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค ด้านภูมิรัฐศาสตร์
ย่อมจะได้รับผลจากสภาวะ เศรษฐกิจตกต่ำ รวมทั้งสหรัฐฯ และยูโรโซน เพราะ เศรษฐกิจไทยยังอาศัย
การส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศ
การเกิดมหาอุทกภัยในปึที่ผานมาของประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมเป็น อย่างยิ่ง
ทำให้ประเทศไทยต้องกู้หนี้ยืมสินเป็น จำนวนกว่า ๓ แสนล้านบาท มาใช้เป็นกองทุนพื้นฟู และเยียวยา
ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งก็ยัง ไม่สามารถประเมินผลลัพธ์ออกมาในอนาคตได้ ชัดเจนนัก
ผู้เขียนในฐานะกรรมการแห่งชาติ ศึกษา ความเป็นไปไต้ใน การขุดคลองกระ (ตามมติ คณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๔)
มีความคิดเห็นว่า ยุทธศาสตร์ในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญ แบบยั่งยืนก็คือ การสร้างงาน สร้างรายได้
ให้ประชาชนมากที่สฺด และลดปัญหาการว่างงานให้มากที่สุดด้วย ผู้เขียนจึงมองเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ว่า
ควรจะดำเนินการ สร้างคลองกระ เชื่อมสองฝั่งทะเล (อันดามันและอ่าวไทย) ให้เกิดเป็นเส้นทางเดินเรือของโลก
เหตุผลที่สมควรดำเนินการสร้างคลองกระ
๑. ลดอัตราการวางงานได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นโครงการใหญ่ที่ขยายออกไปได้ เนื่องจาก เป็นการใช้แรงงาน
กำลังกาย กำลังความคิดเห็น ของประชาชน รวมกับหน่วยราชการ ทหาร ตำรวจ เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีอยู่ของทาง
ราชการที่ไม่ก่อเกิด ประโยชน์สูงสุด นำมาใช้ในโครงการทั้งสิ้น เพี่อให้เกิด ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทย
อย่างมหาศาล ที่มี ความต้องการ (demand) จากทั่วโลกรองรับอยู่แล้ว
๒. ก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศระยะยาว ในทุกด้าน เพี่อเป็นศูนย์กลางโครงข่ายการค้าโลก ในระยะยาว ทำให้
เศรษฐกิจในภาคใต้ดีขึ้นทัดเทียม ประเทศใกล้เคียงหรือดีกวา มีรายได้มากกว่า คุณภาพ ชีวิตชองประชาชนสูงขึ้น
๓. พัฒนาที่ดินชายฝังเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพื้นฐาน และภาคเกษตรกรรมอย่างตอเนื่อง
๔. ทำให้ประเทศเป็นศูนย์กลางการค้าโลก มีรายได้จากการผ่าคลอง การขนส่ง การพัฒนาท่าเรือ พาณิชย์นาวี
ทำให้หลายประเทศ เชน จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ได้รับผลประโยชน์จากการขยายตัวทางการค้า ความสะดวกของ
การเดินเรือเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย เฉกเช่น คลองปานามา คลอง สุเอซ และคลองศีล
๕. เป็นความระบายความแออัดของช่องแคบ มะละกา ซึ่งมีเรือผ่านหลายแสนลำ ทำให้ลดอุบัติเหตุ
และมีความปลอดภัยมากขึ้น
๖. เป็นการลดต้นทุนค่านํ้ามัน ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ของการผลิตจากตะวันออกกลางสูญี่ปุ่น ไทย และ ประเทศข้างเคียง
๗. ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิด (Commodity Market)
๘. เป็นศูนย์กลางการเงินนานาชาติที่สำคัญ ของเอเชีย ซึ่งมีประชากรมากกวา ๒ ใน ๓ ของ ประชากรโลก
มากกว่า ๓,๐๐๐ ล้านคน ซึ่งเป็นฐานที่มั่นคง เพื่อเป็นการสนับสนุนการขยายตัว และ ความเจริญก้าวหน้า
ทางท่องเที่ยวที่มั่นคงแข็งแกรงในอนาคต
๙. ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่ง และขนถ่ายสินค้า (Transhipment Centre) ของโลก
๑๐. ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการบริโภคเพื่อการส่งออก
๑๑. พัฒนาเป็นอุตสาหกรรมต่อเรือ และ ซ่อมแซมเรือที่สมบูรณ์แบบ
๑๒. ศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่รวบรวมศีลป วัฒนธรรม จิตรกรรม และประติมากรรมไทยโบราณ
เพื่อนำรายได้เข้าประเทศผ่านทางทะเลและสนามบิน นานาชาติ
๑๓. พัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางแปรสภาพ วัตถุดิบ ซึ่งขนส่งจากตะวันออกกลาง อินเดีย เพื่อ ส่งตอไปญี่ปุ่น
ไต้หวัน เกาหลี จีน และออสเตรเลีย พัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งใช้ทรัพยากรในประเทศ เชน แร่ธาตุ ยางพารา
การเกษตร ฯลฯ
๑๔. พัฒนาอุตสาหกรรมที่ใข้ภายนอกประเทศ เชน นํ้ามัน พลาสติก เคมี เหล็ก ไม้แปรรูป กระดาษ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ
๑๕. เป็นศูนย์กลางการพัฒนาแรงงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ ศูนย์กลางการศึกษา มากกว่า
๕-๑๐ ล้านคนในอนาคต ซึ่งเป็นหัวใจของ ความมั่นคงและการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนา แรงงานทั้งเป็น
เกษตรกรกว่า ๗๐% ของประชากร ของประเทศ ควบคู่ไปกับแรงงานภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มรายได้ประชาชาติ
อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง และแข็งแกรงในอนาคต เป็นการวางแผนระยะยาว อย่างมีระบบ
๑๖. การพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย ศูนย์วัฒนธรรมและศูนย์ศิลปกรรม
และจิตรกรรมของชาติไทยออกสูสายตาของชาวโลก
๑๗. พัฒนาท่าเรือเดินทะเลที่ทำให้ระบบการค้า ระหว่างประเทศทางทะเลสมบูรณ์แบบและครบวงจร เช่น
กิจการพาณิชย์นาวี การประกันภัยทางทะเล กิจการอู่ต่อเรือ
๑๘. พัฒนาระบบขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เป็นศูนย์กลางของโลกทั้งทางบก ทางทะเล และทาง อากาศอย่างต่อเนื่อง
๑๙. เป็นการเชื่อมมหาสมุทรอินเดียและ แปซิฟิก ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าโลกระหว่าง ประเทศที่มีประชากร
ติดอันดับของโลก ๒ ประเทศ คือ จีนและอินเดีย จะเห็นได้วาภายในรัศมี ๒ ,๔๐๐ กิโลเมตร รอบบริเวณคลองกระ
จะครอบคลุมพื้นที่ทาง เศรษฐกิจหลายประเทศที่มีประชากรรวมคันมากกวา ๒,๐๐๐ ล้านคน และมีปริมาณการค้าขาย
มูลค่า ประมาณ ๒๘๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐตอบิ หรือ ประมาณ ๑,๐๓๖,๐๐๐๐ ล้านบาทต่อปีทีเดียว
๒๐. เป็นศูนย์กลางการพัฒนาสิ่งต่อไปนี้
– ศูนย์กลางการเงินระหวางประเทศ (Offshore Financial Centre)
– ท่าเรือน้ำลึกระหวางประเทศ (Internation Deep-Sea Port)
– ศูนย์รวมสินค้าเพื่อการส่งออก (Export Processing Zone)
– ศูนย์กลางการพัฒนาและการจัดการแหล่ง ทรัพยากรของชาติ (Development of National Resources)