เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 น. ที่ อาคารศาลารักษ์ปทุม ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี นายผล ดำธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ หาที่สุดมิได้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เข้าร่วมพิธี
ตามที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริ ที่จะนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการบังคับเมฆให้เกิดเป็นฝน จนเกิดเป็นเทคโนโลยีฝนหลวง ที่ประสบภัยแล้ง และเป็นองค์ประกอบในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศจนถึงปัจจุบัน
โครงการฝนหลวง เป็นโครงการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยาก ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำใช้เพื่ออุปโภคและ บริโภค รวมไปถึงการใช้ในทางเกษตรกรรม เนื่องมาจากสภาวะแห้งแล้ง ซึ่งพบได้บ่อยในฤดูหนาวและ ฤดูร้อน ซึ่งความแห้งแล้งนี้เกิดจากการคลาดเคลือนของฤดูตามธรรมชาติ เช่น ฤดูฝนล่าช้าหรือหมดไวกว่าปกติด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงศึกษาสภาพอากาศ ลักษณะต่างๆ รวมไปถึงภูมิประเทศของไทย ที่อยู่ในภูมิภาคเขตร้อน ทำให้อยู่ในอิทธิพลของมรสุมทวีปเอเซีย โดยเฉพาะมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพราะปลูกประจำปีของประเทศไทย พระองค์จึงดำริคิดว่าจะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อให้เกิดฝนตกได้ นั้นเอง ดังนั้นตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า วิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนมั่นประทัย ก่อนที่จะพระราชทานแนวคิดนี้ให้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล หาลู่ทางทำให้เกิดการทดลองต่อไปบนท้องฟ้าจนกระทั่ง พ.ศ. 2512 พระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อสนับสนุนโครงการฝนหลวง อีกทั้งในปีเดียวกันนี้เอง ที่ได้มีการทดลองปฏิบัติจริงบนท้องฟ้าครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 1512 โดยเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรกใน
ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ รายงาน