ขายก๋วยเตี๋ยวไส้เนื้อเนื้อเปื่อย ยืนหนึ่งในเรื่อง
งานจักสานจากไม้ไผ่ ชุมชนตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มีทั้งฝาฉี่ ตะกร้า กระเป๋า
และอีกมากมาย
ต้องลองไปชิม ก๋วยเตี๋ยวไส้เนื้อ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเปื่อย”เจ๊มูล”
ที่บริเวณหน้าวัดสระแก
หมู่ที่ 4 ตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ขอบอกว่าหากไปลองแล้วจะติดใจเป็นลูกค้าประจำหากอยู่ต่างจังหวัดผ่านมาเที่ยวช่วงงานแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประจำปี 2568
ขอบอกว่าต้องลงไปชิมก๋วยเตี๋ยวไส้เนื้อ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเปื่อย ที่อร่อยฟิน หอมนุ่ม ละมุนลิ้นมีทีเด็ดเคล็ดลับสูตรจากคุณแม่ของเจ๊มูล
ที่ขายมานาน 20 ปี และได้ส่งต่อถึงรุ่นลูกสาว
ก๋วยเตี๋ยวเจ๊มูล
จะมีทั้งน้ำใสและน้ำข้น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเปื่อยเนื้อสด ก๋วยเตี๋ยวหมู ขายในราคาชามละ 30 บาท พิเศษ 40 บาท หากเป็นก๋วยเตี๋ยวไส้เนื้อ ราคาชามละ 40 บาท พิเศษ 50 บาท และยังมีผักกะเพรา เนื้อสด เนื้อเปื่อย ไส้เนื้อ หมู ตับ ไก่ ในราคา 50 บาท
ไว้บริการลูกค้า โดยเปิดขายทุกวัน ตั้งแต่ 08.00 น. ไม่เกิน 14.00 น. ก็หมดแล้ว
ทางด้าน เจ๊มูล
วัย 53 ปี
อยู่บ้านเลขที่ 3/2 หมู่ที่ 4 ตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
แม่ค้าก๋วยเตี๋ยว”เจ๊คนสวย”
เล่าให้ฟังว่า
ได้เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยวไส้เนื้อและเนื้อเปื่อยน้ำใส
ประมาณ 20 ปี แล้วมีลูกค้าประจำและขาจรจำนวนมาก หากผ่านมาในตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี หน้าวัดสระแก
แวะมาลองชิม ก๋วยเตี๋ยวไส้เนื้อ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเปื่อย”เจ๊มูล”
เป็นทีเด็ดของทางร้าน รับประกันอร่อยฟิน บอกต่อ หอมนุ่ม ละมุนลิ้นมีทีเด็ดเคล็ดลับ วัตถุดิบสดใหม่สดวันต่อวัน ก๋วยเตี๋ยวแน่นเต็มชามให้เยอะ และยังมีกากหมูที่เจียวเองชิ้นใหญ่เต็มคำ
มีทั้งให้เลือกมากมายเช่นเส้นเล็ก หมี่ขาวและหมี่เหลือง เส้นเหนียวนุ่มไม่แข็งลวกอย่างมืออาชีพ และมีทั้งลูกชิ้นเนื้อเอ็นเนื้อลูกใหญ่เต็มคำ
เจ๊มูล เล่าให้ฟังว่า นอกเหนือที่ร้านขายก๋วยเตี๋ยวแล้ว ที่นี่ก็เป็นศูนย์ฝึกอาชีพ
การจักสานไม้ไผ่ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผิวไม้ไผ่ บ้านพรหมมาสตร์ ที่นี่ก็จำหน่ายด้วย สั่งทำตามใจลูกค้า
เจ๊มูล เล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า
งานจักสานจากไม้ไผ่ ชุมชนสร้างรายได้
2-8 ปีที่ผ่านมา โดย เจ้าของร้าน
เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือ หวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่าง
กันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆ
คำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้าน
ใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วท าให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมา
เป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านน าตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า
สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถน าไปใช้สอยได้
ตามต้องการ
ด้านการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญา
ผู้นําชุมชน คนในชุมชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ พัฒนาชุมชนอําเภอ พัฒนาชุมชนจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัดและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสําคัญ ส่งเสริมสนับสนุนและอนุรักษ์ภูมิปัญญางานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน
ผู้นําชุมชน คนในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างบทเรียนหรือถอดบทเรียน ในการเรียนรู้ภูมิปัญญางาน
หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ให้กับเยาวชนในท้องถิ่นและผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษา
ด้านการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์
ผู้ออกแบบควรศึกษาความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อนํามาใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบพัฒนารูปทรงลวดลายและ
สีสันงานผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานไม้ไผ่ ให้มีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจแล้วถ่ายทอดมาสู่งานหัตถกรรม จักสานไม้ไผ่
ให้มีความสวยงาม สร้างความน่าสนใจและสร้างแรงจูงใจในการเลือกซื้อของผู้บริโภคให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วิถี
ชีวิตความเป็นอยู่ตามยุคสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ไพรัตน์ ทองแก้ว
ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ