คณะ คสช.ลงตรวจสอบพื้นที่ในอุตสาหกรรมมาบตาพุด พร้อมผลักดันเร่งด่วนในการพัฒนา
พื้นที่ในจังหวัดระยอง
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ที่สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง และคณะพร้อมด้วย ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย(กนอ.)นั่งเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ บินสำรวจพื้นที่ภาพรวมของจังหวัดระยอง ดูงานศูนย์เฝ้าระวัง
EMCC จากนั้นเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ได้ลงจอดบริเวณสนามหน้าศูนย์ราชการ จ.ระยอง
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตองพร้อมคณะได้เดินทางโดยรถยนต์เข้าร่วมประชุมและติดตามโครงการเร่งด่วน
ภายใต้แผนการแก้ไขปัญหามาบตาพุดแบบครบวงจรและสำรวจพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
และบริเวณท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่บริเวณหาดพยูน หาดน้ำริน ศูนย์กำจัดขยะรวมแบบครบ
วงจร จังหวัดระยอง ที่ห้องสมเจตน์โดยมีนายธานี สามารถกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานกรรมการ กนอ. ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย(กนอ.)พร้อมคณะผู้บริหารกนอ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมต้อนรับ และในที่
ประชุมจังหวัดระยองได้เสนอโครงการของบประมาณเร่งด่วนมี
1.โครงการก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย รวมแบบครบวงจรจังหวัดระยอง 327.58 ล้านบาท
ของ อบจ.ระยอง
2.โครงการศูนย์บัญชาการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินและกระจายข่าวงบประมาณ 64.56 ล้านบาท
ของเทศบาลเมืองมาบตาพุด
3. โครงการก่อสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง (แนวกำแพงดินคอนกรีตเสริมเหล็ก) บริเวณหาดพยูน
ม.4 ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง มูลค่า 27.87 ล้านบาท ของเทศบาลตำบลบ้านฉาง
4.โครงการก่อสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง (แนวกำแพงดินคอนกรีตเสริมเหล็ก) บริเวณหาดพยูน
ม.4 ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง มูลค่า 22.14 ล้านบาท ของเทศบาลตำบลบ้านฉาง
5.โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลมาบตาพุด จ.ระยอง เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก 200 เตียง
มูลค่า 23.7 ล้านบาท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง 6.โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลระยอง
เพิ่มรองรับผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยจากอุบัติเหตุการระเบิด รั่วไหล และมลพิษจากการพัฒนาอุตสาหกรรม
มูลค่า 73.79 ล้านบาท ของโรงพยาบาลระยอง
7.โครงการตรวจสุขภาพและเฝ้าระวังโรคของประชาชนในเขตควบคุมมลพิษของจังหวัดระยอง มูลค่า
30.37 ล้านบาท สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง 8. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนอุปกรณ์
สงเคราะห์ราษฎร์ 125.61 ล้านบาท ของเทศบาลเมืองมาบตาพุด จากนั้นคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชม
ศูนย์ EMCC และได้เดินทางไปตรวจท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด โรงพยาบาลมาบตาพุด
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. /รองหน.คสช. /หน.ฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ได้กล่าวว่าในการประชุม
ครั้งนี้มีความสำคัญอยู่หลายเรื่อง
เรื่องที่ 1.ทางคณะกรรมการเห็นชอบที่จะให้การสนับสนุน ประกอบด้วยการดูแลโรงงานอุตสาหกรรม
และนิคมอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับมาตรการลดการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศ
2.นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมจะต้องเชื่อมข้อมูลกับเทศบาล อบต. อบจ. จังหวัด
เพื่อแจ้งเตือนประชาชน ชุมชนได้ทันท่วงที ถือว่าเป็นการเรื่องจัดตั้งศูนย์ EMCC กับศูนย์ป้องกัน
เผชิญกับเหตุการณ์กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถกระจายข่าวได้รวดเร็วและควบคุมพื้นที่ในเขต
มาบตาพุด
3.แก้ไขปัญหาขยะมีระบบการกำจัดอย่างยั่งยืน เริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะนำขยะที่ใช้ประโยชน์ได้
เพื่อทำรีไซเคิล ทำวัตถุดิบชนิดใหม่ การที่จะนำขยะส่วนหนึ่งไปทำปุ๋ย และขยะส่วนที่เหลือไปเผาเพื่อ
เป็นพลังงานไฟฟ้า
4.การปรับปรุงโรงพยาบาลมาบตาพุด และโรงพยาบาลระยอง ให้สามารถให้บริการประชาชนโดยเป็น
การเพิ่มอุปกรณ์เฉพาะทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง กับโรคเฉพาะที่เกิดจากผลกระทบของมลพิษ
และการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่
4.1คือการออกไปตรวจสภาพพื้นที่และสุขภาพของประชาชนมากที่สุด
4.2 ขยายโรงพยาบาลให้รองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น
4.3 จัดหาเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยเข้ามา
5.เร่งปรับปรุงผังเมืองให้ประกาศใช้โดยเร็ว เนื่องจากผังเมืองหมดอายุตั้งแต่ปี 2553 ในปัจจุบันใช้
พระราชบัญญัติแทน โดยเราใช้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ให้กับสีเขียวและแนวป้องกันทางด้านกลิ่น
และมลพิษ เนื่องจากผังเมืองจะได้แมทซ์กับการรองรับการเจริญเติบโตของเมือง จะใช้เรื่องของ
พระราชบัญญัติแทนไปก่อน จะเร่งรัดให้ประกาศผังเมืองโดยเร็ว ให้สอดคล้องกับโซนนิ่งอุตสาหกรรม
โซนนิ่งที่อยู่อาศัย โซนนิ่งที่เป็นพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ เป็นที่พัก หรือเป็นแหล่งน้ำต่างๆ ก็จะเร่งให้ทาง
กระทรวงมหาดไทยออกผังเมืองโดยเร็ว
6.การปรับปรุงและแก้ไขการจราจรในพื้นที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง เรื่องการจัดระเบียบพื้นผิว
จราจรสำหรับรถบรรทุก และรถส่วนตัวเพื่อให้เกิดความมั่นใจเรื่องของการเดินเท้าและความปลอดภัย
ซึ่งจะต้องพัฒนาเส้นทางขนส่งทางรถไฟประกอบไปด้วย และทางน้ำถ้าทำได้ก็จะทำคู่ขนานกันไป
จะเห็นได้ว่ามีการขยายตัวมากขึ้น มีการขนส่งสินค้าจากมาบตาพุดไปมากขึ้น จะต้องทำให้เส้นทางนั้น
มีความแข็งแรงและปลอดภัยทางด้านการจราจร รวมทั้งในเรื่องของการติดตั้งสัญญาณไฟต่างๆ เพื่อให้
เกิดความปลอดภัย วางระบบทางรถไฟให้เข้าถึง เพิ่มเติมเรื่องระบบทางน้ำเพื่อให้สะดวกที่จะขนถ่ายสินค้า
ทางน้ำหมายถึงว่าทางด้านท่าเรือที่จะมีเฟสที่ 2 -3 เกิดขึ้นมา
7.การปรับปรุงเรื่องสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ โดยเฉพาะน้ำสะอาดและไฟฟ้า สิ่งหนึ่งที่จะนำขยะ
ส่วนหนึ่งมาเผาและทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งทาง ปตท.ได้เสนอโครงการที่จะเข้ามาร่วมกับจังหวัดระยอง
ในการนำขยะส่วนหนึ่งไปเผาให้เกิดพลังงานไฟฟ้าของ ปตท.เองทั้งหมด วงเงิน 1,200 ล้านบาท
8. การมีส่วนร่วมของชุมชน
8.1 ต้องมีระบบการทำงานร่วมกันระหว่างโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม ส่วนของชุมชน สถาบันการศึกษา
ส่วนของเทศบาล จังหวัด และรัฐบาลส่วนกลางต้องเข้ามาช่วยกันดูแล จะเห็นได้ว่ามีหลายหน่วยงานที่
รับผิดชอบในพื้นที่ และมีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนกลาง เช่นในส่วนของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน เช่นเดียวกับที่จังหวัด ก็จะมี
จังหวัด นิคมอุตสาหกรรม ทางด้าน อบจ. อบต. เทศบาล สาธารณสุขในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้จะบูรณาการกัน
โดยจะมีคณะทำงานพื้นที่เข้ามาดูในทุกประเด็นทุกปัญหา และจะพยายามผลักดันงบประมาณส่วนกลาง
ให้มากที่สุด
8.2ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้ประกอบการ นิติบุคคลต่างๆเข้ามาหาหนทางในการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ว่ามีส่วนใดบ้างที่แต่ละผู้ประกอบการจะมีส่วนร่วม เช่นโครงการซีเอสอาร์ที่จะขยายตัวต่อไปให้กว้างมากขึ้น
ครอบคลุมทั้งมาบตาพุดและจังหวัดระยอง ทั้งหมดจะเป็นส่วนที่ผลักดันให้เกิดขึ้นในปี 2557-2558
ข่าวระยองTV