ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือวัดเขาพระงาม (พระอารามหลวง) ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
เทศบาลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี ร่วมกับวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร จัดงานตักบาตรเทโวโนหณะ
ผู้สื่อข่าวรายงาน ว่าในวันที่ 6 ตุลาคม 2560 .ที่ วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือวัดเขาพระงาม (พระอารามหลวง) ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี นายชรินทร์ ทองสุข นายอำเภอเมืองลพบุรี และนายพูลสวัสดิ์ ถือคง นายกเทศมนตรีตำบลเขาพระงาม ได้นำเหล่าพุทธศาสนิกชนชาวลพบุรีกว่า10,000 ร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เนื่องในเทศกาลวันออกพรรษา และร่วมฉลอง 105 ปีพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาลหรือหลวงพ่อใหญ่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ด้าน นายพูลสวัสดิ์. ถือคง. นายกเทศนมตรีตำบลเขาพนะงาม. เปิดเผยว่า ในวันนี้ เป็น วันตักบาตรเทโวโรหณะ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก
ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ ๗ นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ ๔) โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ ๒) จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า เพื่อให้โอกาสฟังธรรมแก่เทวดาเหล่านั้น)
ครั้นถึงวันมหาปวารณา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก เมื่อทรงแลดูข้างล่าง สถานที่นั้นก็มีเนินอันเดียวกันจนถึงอเวจีมหานรก ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียง จักรวาลหลายแสนก็มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาก็เห็นพวกมนุษย์ แม้พวกมนุษย์ก็เห็นเทวดา สัตว์นรกก็เห็นมนุษย์และเทวดา ต่างก็เห็นกันเฉพาะหน้าทีเดียว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี ขณะที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวเมืองจึงพากันทำบุญตักบาตรเป็นการใหญ่ เพราะไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้ามาถึง ๓ เดือน การทำบุญตักบาตรในวันนั้นจึงได้ชื่อว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ ต่อมามีการเรียกกร่อนไปเหลือเพียง ตักบาตรเทโว เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น จึงนิยม ตักบาตรเทโว กันจนเป็นประเพณีสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้