วันนี้ (26. กันยายน. 2560. ) เวลา 15.30. น. ณ ห้องรับรองศูนย์สงครามพิเศษ พ.อ.เซษฐา ตรงดี รองผู้บัญชาการศูนยสงครามพิเศษ ได้รับมอบเมล็ดพันธุ์ทานตะวัน จาก. นายพาโชค. พงษ์พานิช กรรมการผู้จัเการบริษัทแปปซิฟิคเมล็ดพันธุ์จำกัด นายยงค์ยุทธ ปานสูง ผู้อำนวนการฝ่ายขายและการตลาดบริษัทแปซิฟิคเล็ดพันธ์ จำกัด และ นายกำจัด สัตพัน ผู้จัดการฝ่ายขายบริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด เพื่อให้ทางศูนย์สงครามพิเศษ นำไปเพาะต้นกล้าปลูกเพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในจังหวัดลพบุรี เพื่อ ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศในช่วงต้อนรับช่วงปีใหม่ 2561.
โดยทางบริษัทแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด. ได้จัดมอบเมล็ดพันธุ์ทางตะวัน คัดพิเศษคุณภาพดี พันธุ์อะควอร่า 6. ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนแล้งมห้ดอกใหญ่ ผลผลิตสูง จำนวน 300. กิโลรัม คิดเป็นมูลค่าประมาณ 141,000บาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดิกทานตะวันให้แก่ทาง ศูนย์สงครามพิเศษ. และทางจังหวัดลพบุรี เพื่อใช้ปลูกการสนับสนุนในด้านการท่องเที่ยว ในพื้นที่จังหวัดลพบุรีอีกทางหนึ่งด้วย นายยงค์ยุทธ ปานสูง กล่าาต่อไปอีกว่า การเตรียมดินก่อนปลู ควรไถดินให้ลึกในระดับ 30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่าเมื่อฝนตกดินจะสามารถรับน้ำให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทำลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทำให้น้ำซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วยเสริมธาตุอาหารต่าง ๆ เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์
การปลูก หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทำร่องสำหรับหยอดเมล็ดโดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แล้วกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8 เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นต่ำควรใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการน้ำมาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายน้ำดีก็ไม่จำเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่อง การปลูกวิธีนี้ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจำนวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่ และปลูกตามระยะที่แนะนำนี้จะได้จำนวนต้น 6,400-8,500 ต้นต่อไร่
การใส่ปุ๋ย ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดินที่ปลูกด้วยสำหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนำคือสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูกและใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกำลังจะออกดอก หากมีการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุโบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทำให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น
การให้น้ำทานตะวัน น้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทำให้ผลผลิตลดลงด้วย การให้น้ำที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทำให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้น้ำควรปฏิบัติดังนี้ ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้น้ำทันที หรือควรทำการปลูกทันที หลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดน้ำ ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก ครั้งที่ 5 ระยะกำลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้น้ำควรให้น้ำอย่างเพียงพอ