นันท์นภัส ใน
ฤดูหนาว จะมีลมแรง
เป็นช่วงที่มีปริมาณการใช้ไฟฟ้ามากกว่าปกติ หากอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าเสื่อมสภาพ จะส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดเพลิงไหม้ อีกทั้งในช่วงฤดูฤดูหนาว
มีสภาพอากาศแห้งแล้ง และจะมีลมแรง
เมื่อเกิดเพลิงไหม้ไฟจะลุกลามอย่างรวดเร็ว…ยากต่อการควบคุม
เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 22 ธันวาคม 2567 นายนันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์ หรือ นันท์ 5 เหล่าทัพ ผู้อำนวยการ ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
ที่ปรึกษาสำนักข่าว is News+
ในฐานะ ประธานชมรมผู้สื่อข่าวออนไลน์ส่วนภูมิภาค เผยว่า
ในสถานการณ์การเกิดอัคคีภัยว่า เป็นภัยที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ซึ่งมีแนวโน้มเกิดบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม – พฤษภาคมของทุกปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้มากกว่าช่วงปกติประมาณ 2 เท่า และเป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดเพลิงไหม้สูงที่สุดของปี เพราะอยู่ในช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องฤดูร้อน ซึ่งมีสภาพอากาศแห้ง และลมพัดแรง เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ไฟจึงลุกลามอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย
“จากการประสานข้อมูลสถิติการเกิดอัคคีภัยกับสมาคมประกันวินาศภัย ระบุว่า ช่วงเดือนเมษายนมีสถิติอัคคีภัยสูงที่สุดของช่วงฤดูร้อน เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดและแห้งแล้ง จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย โดยในช่วงฤดูร้อนเกิดเพลิงไหม้เฉลี่ยเดือนละ 300 ครั้ง
โดยช่วงเวลาที่เกิดเพลิงไหม้มากที่สุด คือ ช่วงเวลา 10.00 – 14.00 น. เพราะเป็นช่วงที่ประชาชนออกจากบ้านไปทำธุระ หรือทำงาน เมื่อเกิดเพลิงไหม้จึงไม่มีคนควบคุมเพลิงในเบื้องต้น ทำให้ไฟลุกลามขยายวงกว้างและไหม้บ้านเรือน
สำหรับ จุดเสี่ยงที่มักเกิดเพลิงไหม้บ่อยครั้งในบ้านเรือน ได้แก่ ห้องครัว เนื่องจากเป็นจุดที่มีการใช้เชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร หากไม่ระมัดระวัง เปิดแก๊สอุ่นอาหารทิ้งไว้เป็นเวลานาน หรือลืมปิดวาล์วถังก๊าซ ไม่ดูแลถังก๊าซ สายท่อนำก๊าซให้อยู่ในสภาพปลอดภัย รวมถึงการใช้เตาถ่านในการประกอบอาหาร ก็อาจมีความเสี่ยงที่สะเก็ดไฟจะกระเด็นไปติดวัสดุที่ติดไฟง่าย ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ซึ่งห้องครัวถือเป็นจุดเสี่ยงที่เมื่อเพลิงไหม้แล้วจะรุนแรงและยากต่อการควบคุม เนื่องจากเป็นจุดที่มีถังก๊าซ เมื่อมีประกายไฟกระเด็นไปติดจะทำให้เกิดระเบิด รวมถึง ตามพื้นหรือผนังของห้องครัวมักมีคราบน้ำมันสะสม จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็วมากขึ้น
จุดต่อมา คือ ห้องพระ เนื่องจากเป็นจุดที่มีการจุดธูปเทียนในการไหว้พระและมีวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ธูป เทียน เชิงเทียน โต๊ะหมู่บูชา หิ้งพระ เป็นต้น หากจุดธูปเทียนทิ้งไว้ อาจทำให้ไฟไหม้เชิงเทียน กระถางธูป หรือหิ้งพระที่เป็นไม้ ส่งผลให้ไฟลุกลามไหม้พื้นที่อื่น ๆ ของบ้านได้
ห้องนอน เป็นอีกห้องหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ เนื่องจากบางคนมักนิยมสูบบุหรี่ในห้องนอน หรือจุดยากันยุงทิ้งไว้ ประกอบกับห้องนอนมีฟูก ผ้าห่ม ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีที่ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว หากเผลอหลับโดยไม่ดับไฟให้สนิท ไฟอาจลุกลามไปติดที่นอน ซึ่งปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้งว่ามีผู้เสียชีวิตจากการถูกไฟคลอกในห้องนอน ตลอดจน บริเวณแผงสวิตช์และระบบควบคุมวงจรไฟ โดยเฉพาะหากสายไฟเก่า ชำรุด เสื่อมสภาพ หรือการใช้ไฟฟ้าเกินปริมาณ บริเวณดังกล่าวจึงถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่มักเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
ในส่วนของ จุดเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้นอกบ้านเรือน
นันท์นภัส กล่าวว่า จะเป็น บ่อขยะ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของขยะทุกประเภท โดยเฉพาะหากเป็นขยะประเภทสารเคมีอันตรายที่กำจัดอย่างไม่ถูกวิธี นำมาทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น เมื่อเกิดการหมักหมมในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะเกิดความร้อนสูงและทำปฏิกิริยาทางเคมีจนเกิดเปลวไฟ ซึ่งขยะอื่น ๆ ที่อยู่กองรวมกันจะเป็นวัสดุที่ติดไฟง่ายและเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีที่ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว
อีกทั้ง ทุ่งหญ้า พงหญ้าแห้ง ตอซังข้าว ซึ่งมักเกิดจากการจุดไฟเผาขยะหรือหญ้าแห้งแล้วไม่ดูแลอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ไฟลุกลามไหม้บ้านเรือนหรือพื้นที่ใกล้เคียง การทิ้งก้นบุหรี่ที่ดับไฟไม่สนิทลงบนพงหญ้าแห้ง รวมถึง การจุดไฟเผาเศษวัชพืช ตอซังข้าว เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ทุ่งหญ้าได้เช่นกัน
“ในขณะที่อาคารที่อยู่อาศัย ตึกแถว อาคารพาณิชย์ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูงเช่นกัน เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพ และโครงสร้างอาคารที่ไม่มั่นคงแข็งแรง อาจเกิดการทรุดตัวได้ง่ายเมื่อเกิดเพลิงไหม้”
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
ที่ปรึกษาสำนักข่าว is News+
กล่าวทิ้งท้ายว่า ในช่วงฤดูหนาวมีลมแรง
ซึ่งเป็นช่วงที่มีสภาพอากาศแห้งแล้ง อุณหภูมิสูง และมีอากาศหนาวจัดจัดจึงเป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดเพลิงไหม้สูง ทั้งจากความประมาท การขาดความระมัดระวัง และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันเพลิงไหม้ในช่วงฤดูหนาว จึงขอฝากให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวังกิจกรรมที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เช่น ไม่จุดไฟเผาขยะในที่โล่งแจ้ง บริเวณพงหญ้าแห้งหรือใกล้บ้านเรือน ดับไฟบุหรี่ให้สนิทก่อนทิ้ง
ตรวจสอบและใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันการเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงดูแลพื้นที่รอบบ้านและในบ้านให้มีสภาพปลอดภัยจากเพลิงไหม้ โดยจัดให้มีถังดับเพลิงเคมีในจุดที่หยิบใช้งานสะดวก รวมถึง ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติที่แผงสวิตช์ควบคุมไฟ พร้อมต่อสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้ารั่วไหลและลัดวงจร
สำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยในอาคารสูง อาคารเก่า ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายสูง หากเกิดเพลิงไหม้ ควรเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดเพลิงไหม้อย่างถูกต้อง จะช่วยควบคุมเหตุการณ์ เพลิงไหม้มิให้ลุกลามรุนแรง และทำให้สามารถเอาตัวรอดจากเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างปลอดภัย
ฝากประชาสัมพันธ์ประชาชนที่พบเห็นเพลิงไหม้หรือแจ้งเหตุไฟไหม้บ้านเรือนประชาชนกรุณาแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ 191 และ 199 ในพื้นที่จังหวัดลพบุรีและอำเภอใกล้เคียงติดต่อกันได้ 24 ชั่วโมง
นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ