วันจันทร์ ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรุงเทพฯ
พลตำรวจโท บุญจันทร์ นวลสาย ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย และการยุติธรรม วุฒิสภา นำคณะกรรมาธิการการกฎหมาย และการยุติธรรม ศึกษาดูงาน ที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ทาง พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มอบหมายให้ พันตำรวจตรี วรณัน ศรีล้ำ ผู้อำนวยการกองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และ นางสาว อรุณศรี วิชชาวุธ ผู้อำนวยการกองบริหารคดีพิเศษ มาต้อนรับ และตอบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อคณะกรรมาธิการฯ ในการนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้หารือในประเด็น
1.หลัก เกณฑ์ขั้นตอน และแนวทางการทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่ามีภารกิจและหน้าที่อย่างไร
- หลักเกณฑ์ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินคดีที่สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเป็นที่สนใจของประชาชน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
- หลักเกณฑ์ขั้นตอนและแนวทางการดำเนินคดี เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบขายตรง พ.ศ. 2545 รวมทั้งการดำเนินคดีกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ในคดีความผิดทาง อาญาฐานฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์
- แนวทางการป้องกันปราบปราม เพื่อมิให้ประชาชนถูกหลอกลวง และได้รับความเสียหาย จากการหลงเชื่อ และเข้าร่วมประกอบธุรกิจขายตรง หรือธุรกิจที่เป็นในลักษณะแอบแฝง ทั้งนี้ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้หารือ เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไข
- อุปสรรคต่างๆ ในการทำงานของ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) อย่างเช่น กำลังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ ข้าราชการ 1,168 อัตรา พนักงานราชการ 173 อัตรา มี 19 กองงานกับอีก 2 กลุ่ม มีเครื่องไม้เคริ่องมือ อย่างเพียงพอหรือไม่ รวมทั้งงบประมาณของหน่วยงาน
ทั้งนี้ การหารือ เป็นไปอย่างชื่นมื่น สามารถให้ข้อมูล และตอบข้อซักถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทาง ท่านประธานคณะกรรมาธิการฯ พลตำรวจโท บุญจันทร์ นวลสาย กล่าวขอบคุณ และให้กำลังใจในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าที่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ( DSI ) ทุกๆท่าน เพราะเจ้าหน้าที่ DSI เป็นที่พึ่งของประชาชน ในยามที่ประชาชนเดือดร้อน ไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร ปัจจุบันการหลอกลวงในลักษณะนี้ เกิดขึ้นเยอะมาก และผู้กระทำความผิดก็มีวิธีการโกงรูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ เมื่อกระทำความผิดแล้ว ก็โยกย้ายถ่ายเททรัพย์ไปยังต่างประเทศ เสวยสุขบนกองเงินกองทอง ของพี่น้องประชาชน ต้องมีมาตรการบทลงโทษที่รุนแรง และหลาบจำ ยึดทรัพย์ที่กระทำผิด กลับคืนให้ผู้เสียหาย ถือว่าเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ ระดับหนึ่ง ที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน