วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 น. ณ บริเวณริมเขื่อน จุดชมวิวพนังกั้นน้ำรถไฟลอยน้ำ ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุง ได้จัดแถลงข่าวสื่อมวลชน แจ้งเรื่องการจัดงานของดีตำบลโคกสลุง ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2568 วันที่ 13 – 15 ธันวาคม 2567 บริเวณริม เขื่อนจุดชมวิวพนังกั้นน้ำรถไฟลอยน้ำ
นายธนณัฐ อาจิณกิจ นายอำเภอพัฒนานิคม เชิญท่องเที่ยวของอำเภอพัฒนานิคมว่า พัฒนานิคม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี จัดตั้งขึ้นโดยโอนพื้นที่ของ 4 อำเภอ คือ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และอำเภอแก่งคอย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มาจัดตั้ง และเป็นอำเภอที่ตั้งของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นพื้นที่จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดลพบุรี แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล และ 11 อปท. คำขวัญ: เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์งามตระการ สูงตระหง่านเขาพระยาเดินธง ดงน้ำผึ้งโคนมไก่เนื้อ งามมากเหลือทุ่งทานตะวัน พิพิธภัณฑ์บ้านโป่ง มะนาว ซึ่งตำบลโคกสลุงนี้ถือว่าเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และทุ่งทานตะวัน รวมทั้งยังมี วัฒนธรรมประเพณีดั่งเดิมชาวบ้านในอดีตคือชุมชนไทยเบิ้งที่อพยพมาจากโคราช และที่สำคัญยังมีช่วงเทศกาลน้ำเต็มอ่างเก็บน้ำ เกือบถึงรางกว่า 2 กิโลเมตร ทำให้เห็นรถไฟวิ่งบนน้ำกลางอ่าง เป็นที่มาของคำว่ารถไฟลอย น้ำ และในขณะนี้ ยังค้นพบแหล่งหินตัดเสาดิน ที่เป็นอันซีนน่าทึ่งอีกด้วย
สำหรับวิถีชีวิตของคนไทยเบิ้งบ้านโคกสลุงว่าเป็นกลุ่มชนอีกท้องถิ่นหนึ่ง ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก และยังตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ ป็นกลุ่มที่ใช้ภาษาไทยภาคกลางเพี้ยน เหน่อ น้ำเสียงห้วนสั่น ภาษาที่นิยมพูดจะลงท้ายประโยคด้วยคำว่า ‘เบิ้ง’ วัฒนธรรมคล้ายกลุ่มชนไทยภาคกลาง แต่ยังมีลักษณะบางอย่าง ที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชน เช่น ภาษา ความเชื่อ เพลงพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพ การทอผ้ารวมทั้งการละเล่นต่าง ๆ ความคิด ความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนตลอดเป็นประเพณี จึงเป็นรากฐานส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตของคนในสังคม และปรากฏ ในทุกขั้นตอนของการดำรงชีวิต ซึ่งโบราณได้กำหนดขั้นตอนที่สำคัญของชีวิต มี 4 ครั้ง คือ ตอนเกิด บวช แต่งงาน และตอนตาย จึงนิยมจัดทำพิธีเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคล โดยในการแสดง แสง สี เสียง ครั้งนี้ จะเป็นการแสดงเรื่องความเชื่อของคนในท้องถิ่น ด้านความศรัทธาของ พ่อหลวงเพชร ที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและกำลังใจ และพิธีการบูน ของหมอถิ่นประจำบ้าน
โดย Soft Power ในตำบลโคกสลุง (อาหาร) มุมแนะนำเรื่องอาหารไทยเบิ้ง บ้านโคกสลุง แบ่งเป็น
อาหารคาว = ต้นยำไก่บ้าน อาหารหวาน = ลูกอม (วันตักบาตรเทโว) , อาหารทานเล่น = พริกตะเกลือ
รวมถึงการยกระดับ ชุดอีหิ้ว ให้เป็นสินค้าวัฒนธรรม ประจำตำบลโคกสลุง โดยชุดอีหิ้ว คือเสื้อสายเดียว หรือ เกาะอก ซึ่งเป็นเสื้อที่ใส่กันมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบัน แต่ปัจจุบันจากเสื้ออีหิ้ว ชาวบ้านทั่วไปจะเรียกว่า เสื้อคอกระเช้า กันมากกว่า และการแต่งกายของชาวไทยเบิ้งคือนิยมนุ่งจูงกระเบน ในเสื้ออีหิ้ว หรือเสื้อสายเดี่ยว นำผ้าขาวม้ามาพันไหล่
นายรัชพล เอื้อสลุง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุง ได้กล่าวชี้แจงรายละเอียดว่า การจัดงานครั้งนี้เพื่อส่งเสริมชุมชน ทีมีอัตลักษณ์ท้องถิ่นไทยเบิ้งของคนโคกสลุง สร้างการมีส่วนร่วม โดยยังคงยึดของดี ประเพณี ผลิตภัณฑ์ การละเล่น อาหาร เพื่อให้คนทั่วไปได้รู้จักท้องถิ่นเก่าดั่งเดิมก่อนจะมาเป็นตำบลโคกสลุงในปัจจุบัน และยังสร้างรายได้ให้กับชุมชนชาวบ้านทั้ง 11 หมู่บ้านในเขตตำบลโคกสลุง
โดยในงานจะมีกิจกรรมดังนี้
การแสดง Light & Sound แสงสีเสียง ประกอบการแสดงย้อนรอยประวัติศาสตร์ อารยธรรมลุ่มน้ำป่าสักความเจริญรุ่งเรืองของชาวไทยเบิ้งโคกสลุง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชมการแสดง แสง-สี-เสียง วัฒนธรรมไทยเบิ้งและจากกลุ่มโรงเรียนในตำบล ชิมอาหารอร่อยด้วยการใช้ปิ่นโตช้อปตามร้าน สนุกสุดเหวี่ยงช่วงกลางคืนกับวง “ข้าวเปลือก” สุดฮ๊อต พักกางเต้นท์ แคมปิ้ง คนรักธรรมชาติแบบชิว ๆ ริมอ่างเก็บน้ำ ร่วม Workshop ฝึกวาดรูปโดยเหล่าอาจารย์ศิลปินระดับชาติ เลือกซื้อของฝาก ของที่ระลึก ผลิตภัณฑ์ชุมชนมากมาย
เลือกชิม ช้อป อาหารพื้นบ้าน และซื้อผลิตภัณฑ์ของฝากในชุมชน จากร้านค้าชุมชนกว่า 50 ร้านค้า ชิว ๆ กับการบรรยากาศแสดงสดดนตรี ทุกคืน และถ่ายภาพสวยๆ จุดเช็คอิน สะพานรถไฟลอยน้ำ
ประดับตกแต่งแสงไฟในยามค่ำคืน → รณรงค์ให้ใส่ชุดแบบไทยเบิ้ง.. ผู้หญิงใส่เสื้ออีหิ้ว และนุ่งโจงกระเบน มีผ้าทอมือสไบไหล่ซ้าย
โดยในทุกวันของการจัดงาน “ใส่อีหิ้ว กินข้าวล่อ เที่ยวเขื่อนพ่อ คิดถึงเอ๊อะ” ระหว่างวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ช่วงเวลา 16.00-18.00 น. จะเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจยิ่ง อาทิเช่น การทำอาหารพื้นบ้านยกระดับอาหารพื้นบ้านสู่สากล, เดินแบบผ้าทอไทยเบิ้ง, การแสดง ของวัฒนธรรมท้องถิ่นไทยเบิ้งของนักเรียนในเขตพื้นที่ 5
โรงเรียน ช่วงเวลา 19.00-20.30 น. ชม Light & Sound ย้อนรอยประวัติศาสตร์ อารยธรรมลุ่มน้ำป่าสัก
จากนั้น เพลิดเพลินฟังเพลงดนตรีสดจนถึงเวลาเที่ยงคืน เราจะเห็นคำว่า #ล่ออีหิ้ว เป็นคำที่สื่อในการโปรโมทงานในทุกแฟลตฟอร์มของการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อบต.โคกสลุง 036-483 242 , 089-194 6211 หรือ นายกรัชพล เอื้อสลุง 095-282 9291
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ