จากความเชื่อ “เด็กทุกคนพัฒนาได้” ช่วยมุ่งมั่นเป็นครูสอนเด็กบกพร่อง
ลำพังแค่การอบรมสอนหนังสือเด็กนักเรียนปกติก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ยิ่งหากต้องมาสอนเด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านต่างๆ ยิ่งจำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะด้าน และใช้ความมุ่งมั่นตั้งใจเป็นพิเศษเพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาของเด็กแต่ละรายให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ตามปกติ ครูผู้สอนต้องมีความอดทนและพยายามอย่างมาก เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีระดับ สติปัญญาต ่า มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย และมักจะมี ความพิการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความบกพร่องทาง ร่างกาย ทางการพูด และปัญหาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ ครูผู้สอนจะต้องมีความเข้าใจและแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย
มารู้จักคุณครูผู้เสียสละขั้นนี้กันว่าเขา คือใครมาจากไหน และพี่มาสอนเด็กพิการเพื่ออะไร
ตาม ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จะนำท่านมารู้จักให้มากกว่านี้เขาคือใครตามมาตามมา
คล้ายกับความเชื่อของ คุณครู
ทิวากร สงวนพวก ครูผู้สอน โรงเรียนลพบุรี ปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี
พวกเด็กๆเรียกว่า ครูเก่ง
ที่ยืนหยัดมาตลอดว่า “เด็กทุกคนพัฒนาได้” และเป็นแรงขับให้เดินหน้าทำงานด้านนี้มาอย่างแข็งขันต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลมากมาย
คุณครูเก่ง ไม่ใช่คำว่าครู เป็นพ่อแม่คนที่ 2 ของพวกเด็กๆ บ่องเพราะความรู้ให้กับพวกเด็ก ใช้ชีวิตประจำวันได้ก็ต้องเป็นภาระใคร
คุณครูเก่ง ปัจจุบันต้องทำงานประสานกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเด็กเช่น ได้รับการสนับสนุนจากเอกชน เรื่องการทำโครงการ “อาชาบำบัด” ส่งเด็กไปที่ฟาร์มสัปดาห์ละครั้งโดยเน้นเด็กออสทิสติกที่มีปัญหาพฤติกรรมเพราะเด็กไฮเปอร์เขาจะมีภาวะอื่นผสมเราต้องทำให้นิ่งต้องแก้ไปทีละจุด หรือโครงการ “ธาราบำบัด” ด้วยการทำสระว่ายน้ำที่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนจนสระว่ายน้ำใกล้สร้างเสร็จ จากเดิมที่ต้องไปสระข้างนอกสัปดาห์ละครั้งหากมีสระของตัวเองก็สามารถใช้ได้ทุกวัน
“ทั้งหมดเรามีวามตั้งใจจริง มีความเชื่อว่าเด็กทุกคนพัฒนาได้ ครูจะต้องเป็นนักคิดเป็นนักออกแบบ จึงมีความเชื่อเสมอว่า เด็กทุกคนพัฒนาได้ และจากที่เห็นเด็กมีความสำเร็จก็เป็นการยืนยันว่าเราคิดไม่ผิด ต้องทำสิ่งนี้ไปตลอด ปลูกฝังสิ่งนี้ เด็กของเราต้องพัฒนาได้ ส่วนใครจะพัฒนาได้มากได้น้อยหรือใช้เวลาสั้นยาวแตกต่างกัน ตรงนี้ไม่ใช่ปัญหาต้องมีวิธีการเป้าหมายระยะสั้นระยะยาว”
นายทิวากร สงวนพวก คุณครูเก่ง
กล่าวเสริมเพิ่มเติมว่าวิถีชีวิตของคนพิการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าทุกคนทั่วไปในสังคมให้โอกาส และเรียนรู้เรื่องคนพิการ มีเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ ยอมรับในศักยภาพของคนพิการ ส่งเสริมคนพิการให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อย่างสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละคน พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้คนพิการได้ดำรงชีวิตในสังคมอย่างเท่าเทียมกับเหมือนกับคนทั่วไปเด็กพิการส่วนใหญ่พลาดโอกาสในการพัฒนา แต่สิ่งที่มนุษย์เราทุกคนมีความต้องการเหมือนกันคือต้องการความรัก ความเอาใจใส่และเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกสังคม มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ครูจึงได้นำเด็กคนนี้มาทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ ที่พิการด้วยกัน”
ส่วนวิถีชีวิตความเป็นครูนั้นคุณครูเก่ง ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
ครูเก่งสอนเด็กพิการกับปาฏิหาริย์ที่มีจริงสูงและไม่มีคนที่ใกล้เคียง แต่อุปสรรคเหล่านี้ก็ไม่ได้ทำให้
ครูเก่ง ท้อถอย เพราะที่ๆ
ครูจะไปที่โรงเรียนฯ ยังมีเด็กพิการที่รอคอยครูเก่งของพวกเขาอยู่ด้วยใจจดจ่อว่า “วันนี้ครูเก่ง จะมาหาพวกเขาหรือเปล่า”
จะมาสอนหนังสือให้พวกเขาหรือเปล่า ทำให้อยู่ในหัวใจลูกศิษย์ทุกคนว่าเพราะคุณครูเก่งอยู่ในหัวใจลูกศิษย์ทุกคนเหมือนลูกศิษย์เป็นลูกชายคนหนึ่งลูกสาวคนหนึ่งที่รอคอยคุณพ่อมาสอนหนังสือเหมือนเดิมทุกครั้ง
จิตวิญญาณของครูอยู่ในสายเลือดไปแล้วของคุณครูเก่ง ทิวากร สงวนพวก
จากก้นบึ้งหัวใจ ‘ครูเก่ง สอนเด็กพิเศษ’
ไม่มีหรอกคำว่าพูดที่ว่า ลูกศิษย์
ผมจะเป็นอะไร มาจากไหน ลูกคนจนหรือคนรวย นั่นก็คือลูกศิษย์ของผม
เพราะลูกศิษย์ผมอยู่ เราอาจจะไม่ได้เป็นจำนวนเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลูกศิษย์จะเป็นอะไร แต่ความภูมิใจ มันอยู่ในใจครูตลอด…จนถึงปัจจุบันนี้
อยู่ในสายเลือดของผมไปแล้ว
จากก้นบึ้งหัวใจ ‘ครูสอนเด็กพิเศษ’ ไม่มีหรอกลูกศิษย์เป็นอะไร ตำแหน่งอะไร
ครู คือ ผู้สั่งสอนศิษย์ เป็นผู้ที่ถ่ายสอนศิลปศาสตร์วิชาให้แก่ศิษย์ เปรียบเสมือนแม่และพ่อคนที่สอง ที่คอยดูแล อบรม สั่งสอน รวมไปถึงอยากเห็นเราประสบความสำเร็จไม่ต่างจากพ่อแม่ที่แท้จริงของเรา ดังส่วนเริ่มต้นในบทไหว้ครู ที่กล่าวว่า “ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา” ซึ่งแปลว่า ครูบาอาจารย์เป็นผู้มีคุณยิ่ง เป็นผู้พร่ำสอนศิลปวิทยา ที่เหล่านักเรียนจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เมื่อถึงวันไหว้ครู นั่นเอง
คุณครูเก่งกล่าวเอาไว้
คุณครูเก่ง
ผู้เสียสละ ผู้ที่มีหัวใจแกร่ง เปี่ยมไปด้วยกุศลมากมาย จาก
โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล
ซึ่งเป็นโรงเรียนศึกษาพิเศษ จัดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา บุคคลออทิสติก รวมไปถึงบกพร่องทางการได้ยิน นั้นคือ
ครูเก่ง นายทิวากร สงวนพวก
ครูสอนเด็กพิเศษ ที่เล่าถึงประสบการณ์
ถ้าพูดถึงเรื่อง ความประทับใจ ตั้งแต่สอนเด็กพิเศษมา ก็น่าจะเป็นการที่เขาจำเราได้ ครั้งหนึ่งครูเก่งเคยไปลพบุรีปัญญานุกูล พอลงจากรถปรากฏว่า มีเด็กคนหนึ่งวิ่งมากอดแน่นมาก แล้วบอกว่า “ครูเก่งคิดถึงจังเลย” พอเราได้ยินก็รู้สึกดีนะ รู้สึกหายเหนื่อย เพราะอย่างน้อยเด็กก็ยังจำเราได้ ส่วนอีกคนที่ได้ยินข่าวมา เขาไปเป็นพนักงานพับผ้าที่โรงงาน คอยพับผ้าแล้วนำใสแพ็กใส่ห่อ ก็ได้รับคำชมจากผู้จ้างว่า เขาเป็นเด็กพิเศษก็จริง แต่สามารถทำงานได้ดีกว่าคนปกติ ตรงที่เขาเป็นคนตรงต่อเวลา ทำงานก็คือทำงาน ไม่มีแอบอู้ นี่ก็ทำให้เรารู้ว่า ลูกศิษย์ของเราสามารถพัฒนาได้จริงๆ สิ่งที่ครูพูดหรือสอนไม่ได้เสียเปล่า
สิ่งประทับใจในการสอนเด็กพิเศษ? ครูเก่งเล่าว่า “มีนักเรียนคนหนึ่ง เขาจบไปนานแล้ว ตอนเรียนเขาชอบร้องเพลงมาก โดยเฉพาะเพลงคู่ เขามักจะมาชวนครูร้องด้วยกัน มีครั้งหนึ่งครูเก่งแกล้งร้องผิด เขาก็บอกว่า ไม่! ไม่ใช่! ต้องร้องแบบนี้ต่างหาก แล้วเขาเป็นคนพูดไม่ชัด สำหรับครูมันเลยมองว่า เป็นภาพที่น่ารัก”
ครูเก่งอยากให้สังคมภายนอกเข้าใจเด็กพิเศษ อย่าเพิ่งไปตัดสินพวกเขาที่ภายนอก กว่าที่ครูจะทราบว่า เขาชอบอะไรหรือเป็นคนแบบไหนก็ต้องใช้เวลา เพราะฉะนั้นอยากให้ใช้เวลาในการมองพวกเขา
ในฐานะที่เป็นครูสอนเด็กพิเศษ ไม่มีหรอกคำว่าพูดที่ว่า ลูกศิษย์ฉันเป็นนายกฯ ตำรวจ หมอ เวลาไม่สบายไม่ต้องคิดเลยว่า ฉันจะไปโรงพยาบาลนั้นเพราะลูกศิษย์ฉันอยู่ เราอาจจะไม่ได้เป็นจำนวนเงิน อาจจะไม่รู้ว่าลูกศิษย์จะเป็นอะไร แต่ความภูมิใจ มันอยู่ในใจครูตลอด อยากให้ครูสู้ต่อไป พวกท่านมีกุศลในตัวอยู่แล้ว เพื่อเด็กพิเศษ เพื่อการพัฒนาของพวกเขา เพราะเขาก็คืออนาคตของชาติคนหนึ่ง”
แม้ว่าความสำเร็จของเด็กพิเศษ คือ การมีพัฒนาการมากขึ้น แต่มันเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ครูผู้สอนเกิดกำลังใจหายเหนื่อย อีกทั้งทำให้ได้ข้อคิดเพิ่มขึ้นที่ว่าในสังคมไทยว่า ยังมีเด็กอีกหลายคนที่ยังรอการให้โอกาสและความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาเป็น การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ “จึงเปรียบเสมือนเขาอยู่ในโลกที่มืดแล้วเราก็เป็นคนที่จุดเทียนแล้วส่งให้เขา” หากคนในสังคมจุดเทียนต่อๆ กันไปคนละเล่มโลกที่เคยมืดมิดก็จะสว่าง
นายทิวากร สงวนพวก อายุ 50 ปี
สำเร็จการศึกษา ศิรูปศาสตรบัณฑิต สถาบันราชภัฏเทพสตรี ปัจจุบันเป็นครูผู้สอน โรงเรียนลพบุรี ปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี และทำงานด้านสื่อสารมวลชนในตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต บรรณาธิการ-เจ้าของหนังสือพิมพ์มิตรสาร
นายทิวากร สงวนพวก ได้มีบทบาทสำคัญในทางสังคมของจังหวัดลพบุรี หลายลักษณะ เช่น นายกสโมสรโรตารีบ้านหมี่ นายกสมาคมสื่อปลอดภัยและ สร้างสรรค์ จังหวัดลพบุรี อนุกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จังหวัด ลพบุรี กรรมการสงเคราะห์เด็กและเยาวชนสำหรับสถานพินิจคุ้มครองเด็กและ เยาวชน จังหวัดลพบุรี และอุปนายกสโมสรโรตารีบ้านหมี่ เป็นต้น
นายทิวากร สงวนพวก ได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ได้รับรางวัล วัฒนคุณาธร ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ประจำปี ๒๕๕๗ รางวัล คนดีศรีอำเภอเมืองลพบุรี ประจำปี ๒๕๖๑ และรางวัลเพชรเมืองบ้านหมี่ ปี ๒๕๖๕ เป็นต้น
แม้ว่าความสำเร็จของเด็กพิเศษ คือ การมีพัฒนาการมากขึ้น แต่มันเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ครูผู้สอนเกิดกำลังใจหายเหนื่อย อีกทั้งทำให้ได้ข้อคิดเพิ่มขึ้นที่ว่าในสังคมไทยว่า ยังมีเด็กอีกหลายคนที่ยังรอการให้โอกาสและความเข้าใจในสิ่งที่พวกเขาเป็น การช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ “จึงเปรียบเสมือนเขาอยู่ในโลกที่มืดแล้วเราก็เป็นคนที่จุดเทียนแล้วส่งให้เขา” หากคนในสังคมจุดเทียนต่อๆ กันไปคนละเล่มโลกที่เคยมืดมิดก็จะสว่าง
อย่างไรก็ตาม อาชีพครูที่เปรียบเหมือนเรือจ้าง ระหว่างทางอาจพบอุปสรรคหนักหนา คนพายเรือก็จะฝ่าฟัน เพื่อให้นักเรียนของตนไปถึงจุดหมาย แม้จุดหมายของหน้าจะไม่ใช่เงินทองมากมาย ชื่อเสียงที่โด่งดัง แต่การเห็นความสำเร็จของเด็กๆ นั้นแหละ คือ สิ่งมีค่าสำหรับคนที่เรียกตัวเองว่า “ครู”
“ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมครูบาอาจารย์ผู้ให้โอวาทเหล่านั้น”
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ