เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทารา จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะกรรมการ กตป. จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ Public Hearing ครั้งที่ 4 โครงการจ้างที่ปรึกษาติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สำคัญในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2567 โดยมี นางสาวอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผล การปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นประธานเปิดการประชุมร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาโครงการฯ การจัดการประชุมเวทีในวันนี้เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ Public Hearing ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุบลราชธานี) เพื่อรับฟังความคิดเห็นของ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้แทนองค์กรผู้บริโภค ผู้แทนกลุ่มคนพิการ กลุ่มเปราะบาง ผู้แทนสภาเด็กและเยาวชน ผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภค ผู้แทนจากการใช้บริการโทรคมนาคม นักสื่อสารมวลชน และผู้ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจาก กทปส. เพื่อให้ผู้บริโภค ประชาชน ได้รับทราบ และได้ประโยชน์จากการควบรวมกิจการในครั้งนี้ ซึ่งความสำคัญคือการคุ้มครองผู้บริโภค และนำข้อคิดเห็นจากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคที่ได้ ไปจัดทำรายงานและนำเสนอต่อ กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.)ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กสทช. และหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องในประเด็นเรื่องการควบรวมกิจการ และในเรื่องกองทุน กทปส.ต่อไป
ด้านนางสาวอารีวรรณ จตุพร กรรมการติดตามและประเมินผลการปฎิบัติงาน (กตป.) ได้ให้รายละเอียดกับผู้สื่อข่าวว่า “ ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคเนื่องจากทาง กตป. ได้มอบหมายให้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำรายงานโดยรายงานฉบับนี้ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ต้องทำตามระเบียบวิธีวิจัย ตามหลักวิชาการโดยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจะต้องไม่รับฟังเฉพาะภาคใดภาคหนึ่ง ต้องฟังให้ครบทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อ กสทช. ในส่วนของการแสดงความคิดเห็นของประชาชนและผู้บริโภค อย่างไรก็ตามสามารถสร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในกระบวนการทำงานของ กตป. ว่า ทุกๆ ท่าน ที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้ไม่ได้มาเพื่อการอบรมแต่มาในฐานะตัวแทนขององค์กรเพื่อมารับทราบข้อมูลและสะท้อนข้อมูล ส่งกลับให้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งข้อมูลที่สังเคราะห์ วิเคราะห์แล้ว จะนำคืนกลับไป เพื่อเผยแพร่ และสำหรับปัญหาเร่งด่วนที่เราพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมนับร้อยคนทุกเวที ทั่วทุกภูมิภาคไม่รู้จักภารกิจของ กสทช. ถือว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน ที่ต้องรีบแก่ไข เพราะประชาชนโดยไม่รู้ว่าอำนาจหน้าที่ กำกับ กิจการ กสทช. คืออะไรแท้จริงหากเกิดปัญหากับค่ายสื่อสารสื่อโทรทัศน์ผู้บริโภคต้องร้องเรียน กสทช. อยากให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่าสามารถร้องเรียนได้ที่โทร 1200 โดย กสทช. จะได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายแก่ผู้ประกอบกิจการให้เกิดประโยชน์กับประชาชนผู้บริโภคมากที่สุด ส่วนด้านผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.กล่าวเพิ่มเติมว่า“ สิ่งที่ต้องสร้างคุณค่าและความสำคัญในการมาร่วมเวที Public hearing. สิ่งแรกคือการสร้างความเข้าใจ สิ่งที่สองเมื่อประชาชนได้รับรู้แล้ว สะท้อนความคิดเห็นแล้ว จะส่งต่อความคิดเห็นนี้ไปที่ไหนอย่างไรอย่างเช่นในกรณีนี้มีหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่ไม่ใช่ของรัฐ ดูแลคุ้มครองผู้บริโภค ฉะนั้นข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับมา จะต้องถูกส่งต่อไปให้ยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ สำหรับในความโปร่งใสและความเชื่อมั่นในกระบวนการทำงานของ กตป.ในการจัดเวทีประชุมมี ความคิดเป็นอิสระไม่มีการจำกัดความคิดและชี้นำความคิดเห็นแต่อย่างไร“
ภาพ/ข่าว วะจะนะชัย วาจาพารวย/รายงาน