วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567
เวลา 11.30 น.ห้องประชุม CA 326 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านกิจการทหาร วุฒิสภา ได้เรียนเชิญ ผู้แทนจาก กรมการสรรพกำลังกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงกลาโหม มาให้ข้อมูลและชี้แจงการทำงาน และการใช้ พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง ข้อกฎหมาย และอุปสรรค ในการเรียกกำลังพลสำรอง มาใช้งาน ในทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือภัยพิบัติ แก่ประชาชน
โดยทางกรมการสรรพกำลังกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ส่งผู้แทนกรมฯ มาชี้แจง ดังต่อไปนี้
- พันเอก อภิชาติ นิตุธร รอง ผอ.สกส.กกส.กห.
- พันเอก นพรัตน์ ศุภวัชระ ผอ.กสร.สกส.กกส.กห.
3.พันเอก สาโรจน์ ธีรเนตร ผอ.กนผ.กกส.กห
- พันโท สิงหา แก้วรุ่งเรือง หน.ควบคุมกำลังสำรอง สกส.กกส.กห.
- พันตรี หญิง ศศิประภา เลี่ยมประเสริฐ ปประจำแผนกควบคุมกำลังสำรอง สกส.กกส.กห.
- นาวาเอก หญิง เป่งศรี ประชารัตน์ ร.น.
- นาวาเอก หญิง ปารมี มันตฃัมภะ ร.น.
โดยเจ้าหน้าที่ จากกรมฯ ได้ชี้แจงในเรื่องหลักเกณฑ์ การได้มาซึ่งกำลังพลสำรอง การฝึก และการใช้งานกำลังพลสำรอง และข้ออุปสรรคต่างๆ ตามราชบัญญัติกำลังพลสำรองพ.ศ. 2558
ทั้งนี้ทาง ทางคณะกรรมาธิการฯ ได้ซักถามการทำงานที่เกี่ยวข้องรวมไปถึง การนำกำลังพลสำรองไปใช้งาน โดยตลอดระยะเวลา ตั้งแต่มีพรบ.กำลังพลสำรอง พ.ศ.2558 จนถึงทุกวันนี้ เกือบ 10 ปีอยากให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีระบบการควบคุมกำลังพลสำรอง การเตรียมความพร้อม การฝึกศึกษา การสร้างปฎิสัมพันธ์ กับหน่วยทหารที่ตนเองสังกัดอยู่ และพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่สามารถช่วยงานได้ทันอย่างท่วงที เมื่อมีการร้องขอ อย่างเช่น ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ของการช่วยเหลือประชาชน ในด้านภัยพิบัติก็ดี สามารถทำงานปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างเร่งด่วน มีประสิทธิภาพถือว่าเป็นหน่วยทหารหน่วยหนึ่ง ที่มีความพร้อม ในการที่จะออกรบยามศึกสงคราม และยามสงบและช่วยเหลือประชาชน ทั้งนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายาม ให้เกิดการปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น อาจจะภายในปี 2568 จะเห็นกำลังพลสำรองออกไปช่วยประชาชน อุทกภัย วาตภัย และที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ รวมทั้งการแก้ไขข้อปัญหาการใช้กฎหมาย การให้ผลตอบแทนแก่กำลังพลสำรอง ที่ร่วมปฎิบัติหน้าที่รวมทั้ง การทำความเข้าใจกับนายจ้าง ที่กำลังพลสำรองปฏิบัติหน้าที่อยู่เมื่อโดนเรียก ก็สามารถที่จะให้ความร่วมมือให้ลูกจ้างของตนเองได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความภาคภูมิใจ ทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้าง จะได้ไม่วิตกกังวล เมื่อกลับไปทำงานในภารกิจที่นายจ้างมอบหมายต่อไปด้วย