คณะสงฆ์อำเภอพัฒนานิคม
ต้อนรับคณะกรรมการตรวจเยี่ยม และประเมินผลโครงการ”วัด ประชา รัฐ สร้างสุข” ประจำปี ๒๕๖๗ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค.3 เขตปกครองมี 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาทและจังหวัดอุทัยธานี
ณ วัดเมตตาธรรม ตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
เมื่อเวลา 14.00 นาฬิกา ในวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2567
พระพรหมกวี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 3 หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 2 วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติศาสนกิจ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจเยี่ยม และประเมินผลโครงการ”วัด ประชา รัฐ สร้างสุข” ประจำปี 2567 ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค.3
ปฏิบัติศาสนกิจ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจเยี่ยม และประเมินผลโครงการ”วัด ประชา รัฐ สร้างสุข” ประจำปี ๒๕๖๗ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค.3
ซึ่งเขตปกครอง
4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาทและจังหวัดอุทัยธานี
โดยมีคณะกรรมการเมตตาลงตรวจเยี่ยมและประเมินผล ฯ ดังนี้
พระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ ในฐานะเจ้าคณะภาค 3
เป็นประธาน
พระเทพเสนาบดี
(ประเทือง อาภาธโร ป.ธ.๔)
เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี
เจ้าอาวาสวัดกวิศราราม
ราชวรวิหาร
รองประธาน
พระภาวนาวชิรมงคล วิ.
(สมพร ฐิตธมฺโม ป.ธ.๕)
รองเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี
เป็นกรรมการ
โดยมี
พระครูภัทรธรรมคุณ (ดร.) เจ้าคณะอำเภอพัฒนานิคม เจ้าอาวาสวัดพัฒนาธรรมาราม
พระใบฎีกาสมบัติ ชิตจิตโต เจ้าอาวาสวัดเมตตาธรรม
เจ้าคณะตำบล
ตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
เจ้าคณะพระสังฆาธิการ พระเถรานุเถระในเขตอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เข้าร่วมถวายต้อนรับอย่างพร้อมเพรียงสมานฉันท์
และมี
นายธนณัฐ อาจิณกิจ นายอำเภอพัฒนานิคม
เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
พร้อมด้วย
นาย พัลลภ ภัทรบดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา
ส่วนราชการในท้องถิ่นทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โรงเรียน รพ.สต.
องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ลพบุรี พุทธศาสนิกชนตำบลช่องสาริกา
ร่วมต้อนรับและประเมินผลอย่างสมัครสมานสามัคคี
เพื่อตรวจเยี่ยมประเมินผลการดำเนินโครงการ เพื่อคัดเลือกวัดต้นแบบ ระดับอำเภอ และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเป็นการขับเคลื่อนลงสู่วัด และชุมชน ตามแนวปฏิบัติ 3 พันธกิจ 5 เครื่องมือ 7 ขั้นตอน และ 9 พื้นที่
โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นหนึ่งในงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา มุ่งพัฒนาวัดและชุมชนให้เรียบร้อย เป็นศูนย์การเรียนรู้และการพัฒนาจิตใจของประชาชน มีแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 หัวใจของโครงการ คือ กลไกการสร้างสายสัมพันธ์ความร่วมแรงร่วมใจกันของวัด ชุมชน และภาคเครือข่ายในท้องถิ่นด้วยอุดมการณ์ร่วมกัน คือ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเจตจำนงให้วัดเป็นสถานที่สัปปายะ เป็นสถานที่พักแก่ผู้เข้ามาพึ่งพาบำบัดทุกข์และเสริมสร้างความสุขทั้งแก่กายและใจ อันจะนำไปสู่ความวัฒนาสถาวรของชาติและสถาบันพระพุทธศาสนา โดยหวังว่า โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข จะนำไปสู่การพัฒนาวัดและชุมชนให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการมรดกวัฒนธรรมของวัดให้มีความเจริญรุ่งเรือง สำหรับการดำเนินการโครงการระยะที่ 2 มีแผนการดำเนินงาน 5 หมวดเป็นนโยบายหลักในการดำเนินงาน คือ 1.การบริหารจัดการโครงการ 2.การพัฒนาพื้นที่ในวัด 3.การส่งเสริมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมภายในวัด 4.การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม 5.การจัดการพื้นที่ทางจิตใจและปัญญา.
พระเทพเสนาบดี
(ประเทือง อาภาธโร ป.ธ.๔)
เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี
พูดในวงเสวนาบ่อย ๆ ว่า 3 -5 -7-9 ก็ไม่ได้สนใจว่ามันคืออะไร เวลามาถอดรหัสตัวเลขเหล่านี้แล้ว “เข้าท่า” หมายเลข 3 คือ พันธกิจ 3 ด้านได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านสังคม และด้านปัญญา หมายเลข 5 คือ เครื่องมือพัฒนาตามหลัก 5 ส.ที่พวกเราได้ยินบ่อย ๆ คือ สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย หมายเลข 7 คือ คือ ขั้นตอนที่ต้องทำให้วัดเป็นสถานที่สัปปายะ
ความหมายของสัปปายะ ก็คือ สัปปายะสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ที่มาเกื้อกูลให้การประพฤติปฎิบัติธรรม เป็นไปด้วยความสบายกาย สบายใจ โดยหลักสัปปายะมีอยู่ด้วยกัน 7 อย่างคือ 1.ที่อยู่เหมาะสม สงบ พื้นที่สะอาดสะอ้าน ไม่พลุกพล่านจอแจ 2. การเดินทางเหมาะสม ไปมาสะดวก ถนนหนทางเรียบร้อย ไม่ซับซ้อนวกไปวกมา 3. การพูดคุยเหมาะสม สนทนาแต่เรื่องดีๆ สร้างประโยชน์ให้ตัวเอง ไม่มอมเมาไปในทางที่ผิด 4. บุคคลเหมาะสม มีผู้รู้ ครูบาอาจารย์ และกัลญาณมิตร คอยชี้แนะชักนำไปในทางที่ถูกที่ควร 5. อาหารเหมาะสม 6. อากาศเหมาะสม สดชื่น ร่มรื่น ร่มเย็น ไม่ร้อน ไม่หนาวเกินไป 7. อิริยาบถเหมาะสม จัดการพื้นที่ให้ยืน นั่ง เดิน ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่อึดอัดระหว่างการปฎิบัติธรรม
ส่วนหมายเลข 9 ก็คือ สถานที่ 9 จุดในวัดได้แก่ ป้ายวัด ถนน ห้องสุขา คลังสงฆ์ ขยะ โรงทาน สภาพแวดล้อม ระบบไฟฟ้า และสุขาภิบาล เวลาไปประเมินคณะกรรมการชุดนี้ก็จะไปดูตามความหมายของเลขชุดนี้เป็นหลัก
ตามไปดู “วัด ประชารัฐ สร้างสุข”
ไม่กี่วันที่ผ่านมาติดตาม “พระเทพเสนาบดี” เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี ในฐานะประธานติดตาม ตรวจเยี่ยม และประเมินผล โครงการ วัด ประชารัฐ สร้างสุข ระดับหนกลาง ไปที่ “วัดชลประทานรังสฤษฏ์” จังหวัดนนทบุรี มีพระเถระผู้ใหญ่หลายรูปเข้าร่วมประชุม ในส่วนของภาครัฐเห็น “พระเทพเสนาบดี”บอกว่า มีรองผู้ว่าจังหวัดนนทบุรี หัวหน้าส่วนราชการและผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเข้าร่วมประชุม เพื่อประเมินติดตาม หลังจากประเมินติดตามแล้ว หากวัดไหนพอเป็น “โมเดล” แบบอย่างเพื่อให้วัดอื่น ๆ นำไปปรับปรุงต่อยอด ให้วัดตนเองได้ เหมือนกับวัดที่ได้รับคัดเลือก ให้เป็นอย่าง เวลาประชาชนเข้าไปทำบุญ เข้าไปพักผ่อน เข้าไปสนทนาธรรมก็จะเจริญหูเจริญตา ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการวัดประชารัฐสร้างสุขที่วางระบบไว้เป็นตัวเลขคือ 3 -5 -7-9
ความจริงคณะกรรมการโครงการวัดประชารัฐสร้างสุข ระดับหนกลางนี้ ท่านมิได้ลงดูแค่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ เท่านั้น ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 66 ท่านลงไปดู 6 วัน มีทั้งจังหวัดสระบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นนทบุรี และจังหวัดชลบุรี
ที่ผ่านมามีหลักธรรมคำสอนอยู่ในตัวเลขนี้แล้ว
“โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข” เป็นหนึ่งในงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา เป้าหมายเพื่อมุ่งพัฒนาวัดให้เรียบร้อยรื่นรมย์ เป็นศูนย์การเรียนรู้ และการพัฒนาจิตใจของประชาชน มีแผนการดำเนินงานเป็นระบบและระยะอย่างชัดเจน
หัวใจของโครงการนี้ คือ กลไกการสร้างสายสัมพันธ์ความร่วมแรงร่วมใจกันของวัด ชุมชน และภาคเครือข่ายในท้องถิ่น ด้วยอุดมการณ์ร่วมกัน คือ ศรัทธาปสาทะในบวรพระพุทธศาสนา และเจตจำนงให้วัดเป็นสถานสัปปายะ อำนวยสันติรสแก่ผู้เข้ามาพึ่งพาบำบัดทุกข์ และเสริมสร้างความสุขทั้งแก่กายและใจ อันจะนำไปสู่ความวัฒนาสถาวรของชาติ และสถาบันพระพุทธศาสนา ดังที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มอบนโยบายไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560 ไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ดังความตอนหนึ่งว่า
ขอมอบภาษิตนี้ให้ท่านทั้งหลายไปปฏิบัติดู ภาษิตนั้นเป็นภาษาบาลี คำว่า สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา ความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความเจริญวัฒนาถาวรให้สำเร็จ คำนี้ใช้ได้ทุกกาลเวลา ทุกรัชสมัย จนในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบันก็ทำได้ เราทั้งหลายในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทยสืบมา บางท่านก็หลายรัชกาล บางท่านก็สองรัชกาล บางท่านก็หนึ่งรัชกาล จงรักษาคำนี้ไว้ ความพร้อมเพรียงแห่งชนผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ ยังความวุฑฺฒิสาธิกา ยังความเจริญรุ่งเรืองให้สำเร็จได้ ขณะนี้เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า ประเทศของเรากำลังต้องการพัฒนา ต้องการให้ชาติของเรา ประเทศของเราพัฒนาเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ก็ขอให้ท่านทั้งหลายนำธรรมภาษิตนี้ไปนึกดู ไปคิดดู แล้วไปกระทำร่วมกับความปกติกาย ความปกติวาจา ความตั้งใจทำงานในสิ่งที่เรากระทำ และมีปัญญาควบคุมรวมอยู่ในนี้เสร็จหมด เพราะฉะนั้นหวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจ และยึดถือคำสอนของพระพุทธองค์ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อมีหลักศีล หลักสมาธิ หลักปัญญา และความสามัคคี ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก็จะทรงอยู่ได้ตลอดกาลนาน”
วัดก็เปรียบเสมือนบ้าน เจ้าอาวาสก็เปรียบเสมือนพ่อบ้าน วัดหากสะอาดเรียบร้อย เหมาะแก่กันพักผ่อน เหมาะแก่กันเข้าไปทำบุญ ญาติโยมก็อยากจะเข้าไป แต่ หากวัดใดสกปรก ไม่สัปปายะ มองไปทางไหนก็มีแต่หมาขี้เรื้อน วางสิ่งของรกรุงรัง ห้องน้ำมีแต่คราบเปรอะเปื้อน ไม่สบายหู สบายตา พระเณรใส่จีวรไม่เคยซักตัวเหม็น อย่าว่าแต่คนรุ่นใหม่ที่ไม่อยากเข้าวัดเลย บางคราวคนเฒ่าคนแก่คนวัดก็เมิน
โครงการวัด ประชารัฐ สร้าง สุข มหาเถรสมาคม ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมกันทำขึ้นถือว่าเป็นสิ่งดีงามที่พวกเราต้องร่วมมือร่วมใจกัน โดยเฉพาะคณะสงฆ์ เวลาเราไปกิจนิมนต์บ้านใดสกปรกรกรกรุงรัง ที่นั่งแทบไม่มี ส่งกลิ่นเหม็น โยมกินเหล้าเมายาส่งเสียงดังโหวกเหวก พระสวดก็ไม่ฟัง พระก็หงุดหงิด ฉันใด วัดก็เปรียบเสมือนบ้าน เวลาชาวบ้านเข้าวัด วัดสกปรก หาห้องน้ำก็ไม่เจอ ป้ายบอกทางก็ไม่มี พระ -เณร หน้าตาก็ไม่รับผู้มาเยือน ความรู้สึกโยมมาครั้งเดียวพอ ฉันใดก็ฉันนั้นแล พระคุณเจ้า!!
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ไพรัตน์ ทองแก้ว
ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ