เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2567 : นายธนากร ดอนเหนือ อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มอบหมายให้ นางสาวเอื้อมพร ศรีภูวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมกิจการการศึกษาและเครือข่าย เป็นหัวหน้าคณะทำงานลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานติดตามผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ ระยะที่1 ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในพื้นที่ศกร.ตำบลโคกสี บ้านบึงโนใน สังกัดสกร.ระดับอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พร้อมด้วย คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานฯ ในระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน 2567
เพื่อรับทราบความก้าวหน้า และผลการดำเนินงาน อุปสรรค ปัญหาที่พบในการขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าว รวมทั้งให้ข้อแนะนำ สนับสนุนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อเสนอแนะของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมติดตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามเพื่อตอบโจทย์คู่ขนานของโครงการศูนย์ฝึกอาขีพชุมชน ในการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ สกร. ตามแผน “Mood board” ของผลิตภัณฑ์โดยมุ่งให้มีการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น วัตถุดิบหรือทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น (Area–Based Development) มาสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ผ่านการบูรณาการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งเทรนด์โลกในปัจจุบันจะเน้นใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และมีแนวโน้มไปในด้าน Health & Wellness ตลาดสินค้าสุขภาพและความงาม จะมีการเติบโตทั่วโลก เนื่องจากประชากรที่มีอายุมากขึ้น รายได้ที่เพิ่มขึ้น และความสนใจในการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งโรคภัยต่างๆ ที่เป็นความเสี่ยงของคนยุคใหม่ จึงให้ความสำคัญกับการป้องกันและควบคุมได้ด้วยการดูแลสุขภาพที่ดี ใช้ผลผลิตจากธรรมชาติและบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น
สำหรับการติดตามการดำเนินงานในครั้งนี้จะนำไปสู่การรวบรวม วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบให้เป็นไปตามแผน “Mood board”ที่มีคุณภาพ ภายใต้การขับเคลื่อนการพัฒนาในการแก้ไข ปรับปรุงการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ที่ สอดรับกับนโยบายพัฒนาอาชีพ การมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) โดยการจัดอบรมอาชีพในชุมชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะใหม่ (New Skill) เพิ่มสมรรถนะ (Up Skill) หรือทบทวนทักษะ (Re Skill) ให้แก่ผู้เรียนและประชาชนทั่วไป ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” และเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาล 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพประชาชนไทยให้มีทักษะฝีมือ โดยเปิดโอกาสให้คนไทยทุกครัวเรือน สามารถเข้าฝึกอบรมผ่าน “ศูนย์บ่มเพาะสร้างสรรค์” ทั้งในรูปแบบ online และ onsite ในกลุ่มอุตสาหกรรม 11 สาขา เพื่อยกระดับศักยภาพสร้างสรรค์ของตนเองให้สูงขึ้น และตอบโจทย์การพัฒนาทักษะ และสมรรถนะวิชาชีพของคนในชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาครู ศกร.ตำบลให้มีทักษะ ความรู้และสมรรถนะด้านอาชีพ เพื่อนำไปสู่การต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนต้นแบบ ระยะที่ 2 ในปี 2568 อันเป็นการขยายผลสู่ประชาชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ ได้รับมาตรฐาน ตอบโจทย์การมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้านพัฒนาอาชีพให้กับประชาชน ให้มีผลิตภัณฑ์สินค้าและการบริการเป็นที่ยอมรับของตลาดและผู้บริโภคต่อไป