ธรรมชาติ “มนุษย์” ย่อมมีความกลัวติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ทั้งกลัวภัยธรรมชาติ ภัยจากสิ่งอื่น…
สัตว์ร้าย โรคร้าย ภูตผีปีศาจ ฯลฯ จึงได้มีการสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวขึ้นมาเพื่อเป็นที่พึ่ง ปกป้องภัยอันตรายต่างๆ เป็นที่มาของการเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้าต่างๆ
แม้ว่าความเชื่อในกฎแห่งกรรม “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ดูจะเป็นเหตุและผล หากแต่ผู้คนไม่น้อยก็ยังมีความเชื่อ ศรัทธาเครื่องยึดเหนี่ยว พิธีกรรมต่างๆผสมผสาน สืบต่อความเชื่อและศรัทธากันมา
นับรวมไปถึง “วัตถุมงคล” หรือ “เครื่องรางของขลัง” ที่เกิดขึ้นมากมายทั่วฟ้าเมืองไทยหลายรุ่น หลายแบบ หลายสำนักนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มุ่งหวังบำรุงขวัญกำลังใจให้กับลูกศิษย์ลูกหาไม่น้อย กลายเป็นของเก่าที่มีคุณค่าอย่างมากล้น สื่อสะท้อนถึงความงดงามด้านศิลปะและความเข้มขลัง ศักดิ์สิทธิ์
“พระเครื่อง” หรือ “วัตถุมงคล” เป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อ ศรัทธา ให้เกิดกำลังใจ ความปลอดภัยในชีวิต ผู้ที่นับถือบูชาเชื่อกันว่าจะเป็นสิ่งคุ้มครองให้ปราศจากภยันตรายทั้งมวล
ว่ากันด้วยมูลเหตุ อาจสนใจ ศรัทธา บูชาพระเครื่องแตกต่างกันไป หากแต่หัวใจสำคัญที่สะท้อนความจริงที่เป็นอยู่ก็คือ “ความเชื่อ” และ “ความศรัทธา” ยังคงมีอยู่แน่นหนาเข้มข้น ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี นวัตกรรมสมัยใหม่…
“สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ยังคงมีผล สามารถบันดาลให้เกิดสิริมงคล ความปลอดภัยในชีวิตได้
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่ หรือ “โหน่ง” วัย 50 ปี
เป็นนักธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน
ดีกรีไม่ธรรมดา ดำเนินตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ และ เจ้าของสำนักข่าว ข่าวสืบสวน
เป็นอีกคนที่มีความเชื่อและศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อ “พระเครื่อง” ที่คล้องคอบูชาอย่างยิ่งยวด
วันวานที่ผ่านมา “นันท์นภัส” เคยดำเนินตำแหน่ง บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สังคมไทย ประจำจังหวัดลพบุรี และบรรณาธิการผู้ช่วยหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น พลเมือง
ซึ่งอยู่ในสายเลือดบนถนนสื่อสามมวลชนมาตลอด 30 ปี จนอายุ 50 ปี แน่นอนว่าหากจะถามถึงงานอดิเรก ก็คงหนีไม่พ้นคำตอบที่ว่า… “ชอบสะสมพระเครื่อง ครับ” ยังไม่ทันจะพูดจบก็หยิบพระที่คอออกมาให้ดู
ตั้งแต่ได้ “พระสมเด็จ” องค์นี้มาบูชา สิ่งที่ไม่คิดว่าจะได้ก็บังเกิดผลขึ้นมากับตัวเองอยู่หลายต่อหลายครั้งด้วยกัน โดยเฉพาะแคล้ว คลาดจากอันตรายต่างๆ โดยส่วนตัวเป็นคนใจร้อน แต่พอได้คล้องพระองค์นี้ทำให้ผมมีสติมากขึ้น ใจเย็นขึ้น และมีอีกหลายเหตุการณ์ที่พบเจอ…ราวปาฏิหาริย์
“พระองค์นี้ ผมได้มาจากเพื่อนคุณแม่ แต่ชอบสะสมพระเครื่องตลอดถึงพระสมเด็จวัดระฆัง
ที่ท่านเก็บรักษาไว้มายาวนาน เคยไปขอเช่าบูชาอยู่หลายครั้ง แต่ทางเพื่อนก็ยังไม่ยอมสักที” นันท์นภัส ว่า
“ผ่านไปราวเจ็ดปี
เพื่อนแม่ แกเลยถอดจากคอของแกมาให้ผมฟรีๆไม่ต้องเช่าเลย
ที่ผมจำได้เมื่อปี 2539 เมื่อปีนั้นที่แกถอดพระสมเด็จวัดระฆังมาให้ผม.ผมไม่ทราบวันที่เท่าไหร่จำไม่ได้
ประวัติที่มาที่ไปพระสมเด็จวัดระฆัง องค์นี้พอจะเล่าได้เพียงเท่านี้ ส่วนชื่อท่านเจ้าของจริงๆขอไม่เปิดเผยชื่อ นามสกุลจริงนะครับ
ผมขอสงวนเอาไว้ครับ
หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในชีวิต แม้ว่าจะผ่านมานานระยะหนึ่งแล้ว …แต่สิ่งที่ผมยังจำได้แม่นคือ ผมประสบอุบัติเหตุเฉียดตาย ต่อที่ผมไปออกไปทำข่าวภาคสนาม ไปกับเพื่อนๆขับรถไป
แต่ผมก็รอดมาได้โดยที่ไม่เป็นอะไรเลย ในใจไม่คิดเป็นอย่างอื่นนอกจากพุทธคุณ “พระสมเด็จวัดระฆัง” องค์นี้ องค์ที่แขวนติดคออยู่ตลอดเวลา
ผมจึงคิดว่าท่านคุ้มครองผมจริงๆ ช่วยทำให้ผมมีสติ และไม่ประมาทในการดำเนินชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม
ด้านโชคลาภผมก็ได้เงินมาแบบฟลุ๊คๆโชคลาภมาแบบฟลุ๊คๆเช่นกันไม่เคยขาดสายเลย
“ก่อนนอนหรือตอนเช้า ผมจะสวดมนต์ อาราธนาพระคาถาชินบัญชรของสมเด็จพุฒาจารย์โต หรือเวลาจะไปเจรจาการค้า ธุรกิจ ผมก็จะอาราธนาก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง”
อัครพงศ์ อารีย์เกื้อตระกูล เป็นคนรุ่นใหม่ แต่ก็ยอมรับตามตรงว่าเชื่อและศรัทธาในเรื่องนี้มาก “พระสมเด็จ” เป็นสุดยอดพระในดวงใจ เพราะมีประสบการณ์กับตัวเอง ใครที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาในทำนองอย่างนี้
ขอเล่าประสบการณ์ให้ฟังนะครับ เล่าต่อไปว่าตัวผมเอง ได้เคยฝ่าอันตรายมาหลายครั้ง แต่ปลอดภัยทุกคราวและว่าน่าประหลาดอย่างหนึ่งที่คนกำลังทะเลาะวิวาทถึงจะทำร้ายกัน ถ้าเรามีพระสมเด็จอยู่กับตัวเข้าไปห้ามปราม คนเหล่านั้นจะเลิกทะเลาะต่างแยกย้ายกันไปในทันที. และประสบการณ์ความเมตตาก็มีนะครับ ผมห้อยออกไป ไปทำงานได้งานกลับมาทุกที. แรงอธิษฐานของผมกับพระสมเด็จวัดระฆัง. ขออะไรได้สมปรารถนาทุกประการ. ของานได้งานขอเงินได้เงิน. ใครได้ครอบครองผู้นั้นมีบุญบารมีอันสูงส่ง. ผมนันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ได้มีประสบการณ์กับพระสมเด็จมาหลายครั้งหลายหน. เลยมาถ่ายทอดประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง
ใครได้ครอบครองผู้นั้นมีบุญบารมีครับ
ศรัทธา” นำมาซึ่ง “ปาฏิหาริย์” เชื่อไม่เชื่ออย่างไรโปรดอย่าได้ “ลบหลู่”.
นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ