จังหวัดลพบุรี ร่วมกับ
เทศบาลตำบลเขาพระยาเดินธง
เมื่อเวลา 12.30 นาฬิกา เมื่อวันอาทิตย์อาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567
บริเวณจุดชมวิวบนยอดเขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี โดยมี
นายพิษณุ ประภาธนานันท์ ปลัดจังหวัดลพบุรี เป็นประธานกิจกรรมปลูกป่าแบบดันกล้า และยิงเม็ดไม้ด้วย หนังสติ๊ก
ครั้งที่.5 พร้อมด้วย
นายสุรศักดิ์ เจิมสม นายกเทศมนตรีตำบลเขาพระยาเดินธง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ร่วมกันบูรณาการกันหลายหน่วยงาน เพื่อที่จะปรับภูมิทัศน์ให้เขาพระยาเดินธง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
ซึ่งชุมชนร่วมใจปลูกต้นไม้เทิดไทองค์ราชันหน่วยงานที่มาร่วมกิจกรรมการปลูกต้นไม้
ชมรมคนรักษ์ป่าลพบุรี กรมป่าไม้ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดลพบุรี
กลุ่มพารามอเตอร์โปรยเมล็ดมะค่า ยาง หว้า หางนกยูง มะขาม สัก ประดู่ ตะเคียน เต็ง รัง รอบเขาพระยาเดินธง โรตารี่พระนารายณ์ ชมรมทหารเอกพระนารายณ์รักในหลวง
พันธุ์ไม้ที่ปลูก อาทิ ต้นทองอุไร จำนวน 500 ต้น ชมพูพันธุ์ทิพย์ จำนวน 400ต้น ราชพฤกษ์ จำนวน 400 ต้น บริเวณสองข้างจากจุดทางขึ้นเขาพระยาเดินธง 3.1 กิโลเมตร ซึ่งทางการปลูกป่าในครั้งนี้ทาง เทศบาลตำบลเขาพระยาเดินธง ได้ใช้หนังสติ๊กในการยิงพันธุ์ไม้ให้ไปตกตามจุดต่างๆของเขาพระยาเดินธงที่ชาวบ้านเดินเข้าไม่ถึง โดยร่วม กับชุมชนร่วมใจปลูกต้นไม้เทิดไทองค์ราชัน คาดหวังจะปรับภูมิทัศน์ให้ทางขึ้นเขาพระยาเดินธงเบ่งบานไปด้วยดอกพันธุ์ไม้ดอกชนิดต่างได้เบ่งบานสวยงานตลอดสองข้างทางขึ้นเขาให้ดูสวยงานยิ่งนัก นอกจากนั้นส่วนที่เป็นพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ทางเทศบาลตำบลเขาพระยาเดินธง กับชุมชนร่วมใจปลูกต้นไม้เทิดไทองค์ราชัน ได้ใช้หนังสติกยิงเมล็ดพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ไปยังรอบ ๆ เขาพระยาเดินธงอีกด้วย นอกจากนั้น กลุ่มพารามอเตอร์โปรยเมล็ดมะค่า ยาง หว้า หางนกยูง มะขาม สัก ประดู่ ตะเคียน เต็ง รัง รอบเขาพระยาเดินธงเพื่อให้งอกงามเต็มพื้นที่เขาพระยาเดินธงให้ดูเขียวชอุ่มไปทั้งเขาอีกด้วย
และเนื่องในโอกาส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
92 พรรษา 12 สิงหาคม 2567.
“รวมพลังพลิกฟื้นผืนป่า ป่าไม้มั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”
“เขาพระยาเดินธง”จากเขาหัวโล้นเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว
เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ที่มีเนื้อที่ 5,971ไร่ แห่งนี้ เคยเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม เพราะถูกบุกรุกทำลาย จนทุกวันนี้มีทั้งร่องรอยของการตัดต้นไม้ใหญ่ สัตว์ใหญ่น้อยย้ายถิ่นอาศัยออกไป เพราะหมดสภาพป่า แต่ในช่วง4-5ปี ได้มีหน่วยงานต่างๆได้เข้ามาร่วมปลูกป่า พลิกฟื้นป่าให้อุดมสมบูรณ์ จนในปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีจุดชมวิวที่สวยงาม
ซ่อมฝายไว้ให้ความชุ่มชื่นแก่พื้นดิน
การฟื้นฟูเขาพระยาเดินธง ได้มีภาคเอกชนอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ซึ่งได้ร่วมกับ กรมป่าไม้ ในการฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าแห่งนี้ เป็นเวลาหลายปี จนทำให้ป่ามีความชุมฃื้นขึ้น และล่าสุด ทางซีพีเอฟ ได้จัดกิจกรรมซ่อมฝายชะลอน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ฤดูฝน ภายใต้โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ปีที่ 5 ในระยะที่ 1 (ปี 2559-2563) พร้อมขยายโครงการสู่ระยะที่2 ในปี 2564-2568 และมีชุมชนรอบพื้นที่เข้าร่วมกว่า 200 คน เพื่อปลูกป่าเพิ่มเติมในพื้นที่ พร้อมสร้างเครือข่ายชุมชน ดูแล ปกป้องผืนป่าและคืนสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน
นายสุรศักดิ์ เจิมสม นายกเทศมนตรีตำบลเขาพระยาเดินธง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
กล่าวว่า จังหวัดลพบุรีนับว่าเป็นพื้นที่ที่มีต้นทุนทางธรรมชาติ ทั้งน้ำ จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และป่า ที่เขาพระยาเดินธง เป็นผืนป่าสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ทั้งยังเป็นป่าต้นน้ำของภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จากภาพในตอนนี้ที่ป่าเริ่มมีสีเขียวของต้นไม้ปกคลุม ต่างจากแต่ก่อนที่มีการเข้ามาใช้ทรัพยากรจนนำไปสู่ป่าเสื่อมโทรม ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่าหรือสร้างฝายที่ทางโครงการได้ดำเนินการ ทำให้รู้สึกมั่นใจว่าป่าจะกลับมาสู่ความสมดุล และชุมชนได้ตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของการช่วยกันปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ตามแนวทางพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ การปลูกป่าในใจคน ทำให้ประชาชน เกิดความรักและหวงแหนต้นไม้ สู่การลงมือทำจริง และการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก คือ เพียงแค่เราไม่ตัดไม้ทำลายป่า
ฝายที่ใช้ชะลอน้ำ บนเขาพญาเดินธง
รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง กล่าวว่า จุดประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อซ่อมแซมฝายชะลอน้ำในพื้นที่ของโครงการฯ ในช่วงเข้าสู่ฤดูฝน จำนวน 6 ฝาย จากที่สร้างไว้ 45 ฝาย และยังได้ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 4-5 แสนต้น ทั่วทั้งพื้นที่ 5,971 ไร่ เพราะพื้นที่ภูเขาแห่งนี้เมื่อก่อนมีความแห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ ดินขาดความชุ่มชื่น จึงได้มีการเข้ามาทำโครงการดังกล่าว เพื่อพลิกฟื้นต้นไม้ พืชพรรณต่างๆ และได้สร้างความชุ่มชื่นให้กับผืนดิน ชะลอการไหลของน้ำเวลาฝนตก สู่การสร้างความสมดุลทางระบบนิเวศ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้กิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี คือ การรวมพลังของชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง เข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ ลงมือ และตระหนักถึงความสำคัญของป่าในพื้นที่บ้านเกิดของตัวเอง
“ดังนั้นในระยะเวลา 5 ปีที่ได้ทำโครงการนี้ รู้สึกภูมิใจและดีใจที่ต้นไม้เหล่านี้ค่อยๆเจริญเติบโต มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์นานาชนิดซึ่งจะสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยบรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อน โดยในปี 2562 ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ จากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ 39,690 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และแน่นอนว่าในอนาคตป่าแห่งนี้จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไปและสถานศึกษาเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมโครงการยุทธศาสตร์สร้างสุข ปลูกผักปลอดสารคนในชุมชนปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคเองและเก็บเมล็ดพันธุ์สำหรับการเพาะปลูกและแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านชุมชนใกล้เคียง และอนุบาลปลาลงแหล่งน้ำสาธารณะอีกด้วย”
เขาพระยาเดินธง เป็นป่าเบญจพรรณกว่า 5,000 ไร่ ซึ่งแต่ก่อนมีสภาพแห้งแล้ง มีปัญหาไฟป่า อีกทั้งยังมีร่องรอยการบุกรุกตัดต้นไม้ใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นป่าเสื่อมโทรม 100% แต่เมื่อได้มีการร่วมมือทำโครงการนี้ ก็ได้ใช้ใช้รูปแบบการปลูกป่า 4 รูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ คือ 1.การปลูกแบบพิถีพิถันใช้ในพื้นที่ที่เสื่อมโทรมมาก ด้วยการใช้ระบบน้ำหยด ต้นไม้จะเจริญเติบโตได้เร็ว 2. การปลูก แบบเสริมป่า ใช้ในพื้นที่ที่มีการเสื่อมโทรมเป็นจุดๆ 3.การปลูกป่าแบบวิธีการส่งเสริมการสืบพันธุ์ธรรมชาติ ก็จะเลือกตัดเถาวัลย์ในพื้นที่ที่ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น และมีวัชพืช เพื่อเปิดแสงให้กับไม้พื้นบ้านได้งอกขึ้นมา
- ปลูกป่าเชิงนิเวศ เป็นการปลูกป่าเลียนแบบธรรมชาติ ไม่มีระบบน้ำหยด ส่งผลให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าค่อนข้างเร็ว และทำให้สัตว์ได้กลับคืนสู่ป่า อย่างที่มีการพบ หมาใน หรือนกกระทา และนก ที่มีหลากหลายชนิดมากขึ้น ในส่วนพื้นที่การซ่อมฝายครั้งนี้ จะมีการส่งเสริมอนุรักษ์ต้นน้ำ ลำธาร เพราะเดิมไม่มีการสร้างฝาย ทำให้เวลาฝนตกน้ำจะไหลลงไปยังพื้นที่ด้านล่างค่อนข้างเร็ว และเมื่อพ้นหน้าฝน ดินบนเขาก็จะแห้งแล้ง แต่เมื่อมีการสร้างฝายทำให้น้ำฝนชะลอการไหลลงสู่พื้นที่ด้านล่าง และยังช่วยให้ดินบนเขากักเก็บความชุมชื่นไว้ได้ และยังเป็นดินที่มีธาตุอาหารเยอะด้วย การอนาคตอาจจะพัฒนาเป็นป่าชุมชน
“ไฮไลต์ของวันนี้คือ” นายพิษณุ ประภาธนานันท์ ปลัดจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วย นายสุรศักดิ์ (นายกตี๋) เจิมสม นายกเทศมนตรีตำบลเขาพระยาเดินธง น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี นางชนิตตา แสงพลบ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดลพบุรี
น.ส.สวามินี อิสระทะ
ประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี และ พระครูภัทรธรรมคุณ ดร. เจ้าคณะอำเภอพัฒนานิคม เจ้าอาวาสวัดพัฒนาธรรมาราม
ใช้หนังสติ๊กยิงเมล็ดพันธุ์ไม้ บริเวณจุดชมวิวบนยอดเขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ออกเพราะเมล็ดพันธุ์ไม้ไปไม่ไกลตกอยู่ใกล้ๆแค่นี้เอง
ฝีมือไม่แม่น เลย
ต้องไปฝึกใหม่
ปีนี้ไม่ได้ปีหน้าเอาใหม่
นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
ผู้อำนวยการ ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ