ในภาพเป็นพระวัดอัมพวัน ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งถือเป็นชุมชนชาวมอญเมืองละโว้ที่ใหญ่ที่สุด ได้จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีพระทิ้งบาตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าประเพณีตักบาตรข้าวรวม ซึ่งชาวบ้านจะนำข้าวใส่รวมกับกลับข้าว ใส่บาตรพระรวมกัน ซึ่งถือเป็นธุดงคบาตร คล้ายการออกบำเพ็ญธุดงค์ของสงฆ์อย่างหนึ่ง โดยพระจะต้องตั้งจิตอธิษฐานมั่นคงว่าจะถือปฏิบัติเคร่งครัดในการที่จะฉันภัตตาหารเฉพาะในบาตรของตนเพียงใบเดียวและมื้อเดียวในหนึ่งวันเท่านั้น เป็นการนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้นวันนั้น ทั้งข้าวสุก อาหารหวาน-คาว หรือรวมทั้งผลไม้ ใส่รวมกันลงในบาตร เป็นการฝึกไม่ให้พระสงฆ์ติดในรสชาติ
ซึ่งในอดีตพระสงฆ์จะนำบาตรเปล่าไปส่งให้ญาติโยมบ้านใดบ้านหนึ่งแล้วกลับวัดในทันที เรียกกว่า ทิ้งบาตร จากนั้นญาติโยมก็จะนำอาหารใส่รวมกันทั้งหมดลงในบาตร แล้วนำมาส่งให้พระสงฆ์ที่วัด ทั้งนี้ เมื่อใดก็ตามที่พระสงฆ์ไปฉันภัตตาหารในภาชนะอื่น นอกเหนือจากบาตรดังกล่าว จะถือว่าการธุดงค์บาตรนั้นสิ้นสุดโดยปริยาย โดยประเพณีดังกบ่าวจะจัดขึ้นหลังวันเข้าพรรษา1วัน และจะทำติดต่อกันเป็นเวลา 7วัน หลังจากใส่บาตรพระแล้วชาวบ้านก็จะมีการแลกเปลี่ยนข้าวรวมใส่บาตรเพื่อแลกเปลี่ยนกันกินสร้างความสามัคคีขึ้นในชุมชนอีกด้วย
ซึ่งพระปัญญาวุฒิ วุฒิ โกผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เล่าว่าประเพณีนี้ชาวมอญได้สืบสานประเพณีนี้มายาวนานนับ100ปี จะทำกันหลังวันเข้าพรรษา1วัน จากอดีตจะเรียกพระทิ้งบาตร โดยพระจะนำบาตรไปไว้บ้านโยม เช้าโยมจะนำบาตรมาถืนพระ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนจากการทิ้งบาตร มาเป็นการรับบาตรแทน อย่างไรก็ตาม การฉันภัตตาหารในบาตรตามวัตรปฏิบัตินั้น พระสงฆ์แต่ละรูปจะกำหนดระยะเวลาไม่เท่ากัน พระบวชใหม่อาจจะกำหนดเพียง 3 วัน 7 วัน
นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
ผู้อำนวยการ ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ