เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๗ เวลา ๑๐.๓๐ น.ผู้สื่อข่าวรายงานจากวัดบางเตยกลาง ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี นายคมสัน ญาณวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ให้เกียรติมาเป็นประธาน พิธีทำบุญ ครบรอบวันมรณะภาพ ๑๗ ปี พระครูธีรานุวัตร (หลวงพ่อหอม) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง พร้อมด้วย แขกผู้มีเกียรติ คณะศิษยานุศิษย์ พี่น้องประชาชน เข้าร่วมพิธี กันอย่างคึกคัก มีพระครูวิสุทธิธีราจาร (เจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง) คอยต้อนรับ ก่อนเริ่มพิธีได้มีคณะศิษย์ยานุศิษย์พี่น้องประชาชนทั้งใกล้ทั้งไกล ต่างทยอยมาที่วัดบางเตยกลางซึ่งเป็นสถานที่จัดงาน ภายในงานมีการออกโรงทานของคณะศิษยานุศิษย์ จำนวน ๕๐ โรงทาน มีอาหารมากมายหลายอย่างไว้บริการสำหรับ พี่น้องประชาชนที่มาร่วมทำบุญได้รับประทานฟรี ต่อมาเมื่อเวลา ๑๐.๐๐.น นายคมสัน ญาณวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี พร้อมคณะได้เดินทางมาถึงวัดบางเตยกลาง จากนั้นเข้ากราบนมัสการ พระครูวิสุทธิธีราจาร พระอาจารย์อนงค์ เจ้าคณะตำบลกระแชง-บ้านปทุม เจ้าอาวาสวัดบางเตยกลาง เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์สวด พระพุธมนต์ และเวลา ๑๑.๐๐ น.ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ จากนั้นคณะศิษยานุศิษย์ พี่น้องประชาชนร่วมรับประทานอาหารเป็นเสร็จพิธี ส่วนประวัติหลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี หลวงปู่หอม เดิมว่า เปรื่อง นามสกุล ศิลปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๔๙๕ โยมบิดาชื่อ แปลก โยมมารดา ชื่อ เปลื้อง นามสกุล ศิลปีโยมแม่มีเชื้อสายรามัญประกอบอาชีพในการทำนาค้าขายเมื่อเติบโต ขึ้นมาเล่าเรียนเขียนอ่านตามสมัย จบแล้วก็ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพ จนกระทั่งอายุครบบวช จึงได้บวชที่วัดไผ่ล้อม ต.บ้านงิ้ว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี พระอธิการจ่าง เกสโร วัดไผ่ล้อมเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ช่วงเป็นพระคู่สวดภายหลังอุปสมบทได้รับฉายาว่า ”รามธมฺโม” แต่แรกนั้นท่านตั้งใจว่าจะบวชเพียงพรรษาเดียว ด้วยช่วงนั้นทางวัด กำลังก่อสร้างปรับปรุงบูรณะเสนาสนะต่าง ๆ พระอาจารย์เป๋ เจ้าอาวาส วัดบางเตยกลาง ชักชวนให้ช่วยเหลืองานด้านการก่อสร้าง ท่านก็อยู่ช่วยเหลือประกอบกับพระอาจารย์เป๋ ชราภาพมากด้วยจึงช่วยงานทางวัดตลอดมา พระหอม พระหนุ่มผู้มุ่งมั่นในด้านวิชาอาคมมาตั้งแต่เป็นฆราวาส เมื่อโอกาสก็เดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ช่วง ซึ่งท่านนี้เป็นเกจิอาจารย์รูปหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนกัน เสียดายที่ท่านไม่เคยสร้างเหรียญรูปเหมือนแม้แต่พระอาจารย์ของปู่ช่วง คือ หลวงปู่แดง ก็ไม่มีการสร้างเหรียญหรือรูปเหมือนเช่นเดียวกันนอกจากจะศึกษาวิทยาคมและ หลักการสร้างพระเครื่องแล้วหลวงปู่หอม ยังได้เล่าเรียนวิชาจากหลวงปู่ช่วงเอาไว้มาก โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากรรมฐาน จนมีความรอบรู้พอสมควรนอกจากนี้ยังได้ไปเล่าเรียนศึกษา จากพระอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่านด้วยกันเป็นเจ้าอาวาส ด้วยพระอาจารย์เป๋ เจ้าอาวาสองค์ชราภาพ แล้วมรณภาพลง เจ้าคุณพระปทุมวรนายก (สอน) เจ้าอาวาสวัดเทียนถวาย และเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เห็นว่าพระอาจารย์หอมมีความสามารถทางด้านช่าง และเหมาะสมที่จะเป็นเจ้าอาวาส จึงให้พระอาจารย์หอม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ด้วยพรรษาของพระอาจารย์หอมตอนนั้น ๕ พรรษาท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาจนถึงปัจจุบันเมื่อเป็นเจ้าอาวาส ได้ค่อยๆ พัฒนาวัดมาโดยตลอดจนปัจจุบัน วัดบางเตยกลางเป็นวัดที่ใหญ่โตทีเดียว มีสิ่งก่อสร้างครบทุกอย่าง พระภิกษุสามเณร ปฏิบัติวัตร อย่างเคร่งครัด วัดบางเตยกลาง ตั้งอยู่ริมถนนสายปทุมธานี อ.เสนา สร้างขึ้นมาแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อวัดมอญแปลง แล้วเปลี่ยนมาเป็นวัดแค วัดส้มปีส่วนชื่อตามภาษารามัญเรียกกันว่า”วัดเปิ้ง” วัดเปิ้งวัด นี้ท่านพระยามไหศวรรค์ นำทัพไปปราบเงี้ยว มาถึงวัดนี้เห็นว่าเป็น ที่สงบร่มรื่นแล้วได้แวะพักทัพแล้วได้ตั้งอธิษฐานให้ได้ชนะเมื่อเสร็จศึกใน การปราบเงี้ยว ได้มาบูรณะวัดที่ทรุดโทรมให้มั่นคงแข็งแรงจากหลักฐานวัดนี้ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อปี ๒๔๒๐ สำหรับเจ้าอาวาสที่พอจะสืบทราบประวัติมีด้วยกัน ๖รูป ปัจจุบันคือ พระครูธีรานุวัตร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันอย่างสนิทปากว่า หลวงปู่หอม รามธมฺโม วัตถุมงคลขลังในช่วงสงครามโลกจะระเบิดขึ้น นั้น ท่านได้สร้างพระอมขึ้นมา อันเป็นตำราที่เล่าเรียนมาจากพระอาจารย์ที่ใช้ผสมในการทำพระเครื่องจะเขียน ตัว “นะ” ต่าง ๆ ยันต์ต่าง ๆ ลบเอาผงนั้นผสมพระอมของท่านพระเครื่องรุ่นนั้นองค์ไม่โตอะไรมากนัก ดังมากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ผู้คนที่มีพระอมของท่านจะแคล้วคลาดอันตรายทุกคนด้วยชาวสามโคกมีอาชีพในการทำ อิฐมอญเผาและก็ทำนา ชาวบ้านเล่าสู่กันฝังว่าเมื่อใดที่ลงไปในน้ำมักจะใช้พระอมของหลวงพ่อหอมที่ มีขนาดเล็กอมไว้ใต้ลิ้นทำให้ปลอดภัยจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆที่มากับน้ำแม้กระ ทั้งปลิงดูดเลือดยังไม่เกาะ แล้วก็มีการสร้างพระเครื่องขึ้นมา ต่อจากรุ่นพระอม จะเรียกว่าสร้างในช่วงเดียวกันก็ได้มีพระเครื่องที่สร้างขึ้นเป็นเนื้อผง ผสมทั้งหมด ๖ พิมพ์ รวมทั้งพระผงอมด้วยก็ ๗ พิมพ์ มีดังนี้ ๑.พระผงสมเด็จ ๓ พิมพ์ คือแบบฐาน ๕ ฐาน ๗ ชั้นแบฐาน๙ ชั้น ๒ .พระผงพิมพ์สมาธิ ๓.พิมพ์นางพญา ๔.พิมพ์โคนสมอเหล็ก ๕.พิมพ์วัดพลับ มีทั้งปิดตาและสมาธิ สำหรับพระเครื่องเนื้อผงผสมเทียนชัย องค์จะเล็กแบบพระเม็ดน้อยหน่า หรืออาจจะเล็กกว่าด้วยซ้ำไป เนื้อจะออกดำแบบพรนะเม็ดน้อยหน่าพระของท่าน ทางแคล้วคลาดป้องกันภัยดีมาก ด้วยมีประสบการณ์มากมายมาแต่อดีต พอมาถึงตะกรุดคนถึงต้องการและเสาะหามากขึ้นจะถึงล้านดอกแล้วเหรียญรุ่นแรก รุ่นแรกนั้นชื่อว่าเหรียญนพเก้า สร้างขึ้นในปี ๒๕๑๕ ทรงกลม ในเหรียญมีพระพุทธรูปถึง ๙ องค์ จึงเรียกว่านพเก้าจำนวนที่สร้างมีมากถึงสี่หมื่นเหรียญ เหรียญรูป เหมือนรุ่นแรก เป็นเหรียญรูปทรงไข่ ด้านหน้าเป็นท่านครึ่งองค์หน้าตรง ข้างๆ มีดอกบัวข้างละดอก เหนือศีรษะเขียนว่า “พระครูธีรานุวัตร (หอม)”ด้านหลังใช้ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ เหรียญรุ่นนี้มีด้วยกันสามเนื้อทองคำ ๑๘ เหรียญ เนื้อเงินมี ๙๙ เหรียญ และเนื้อทองแดงรมดำเป็นเหรียญที่นักนิยมสะสมเหรียญนิยมเก็บไว้บูชา เหรียญรุ่นที่สอง สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๙ ทรงรูปไข่ จะไม่ป่องออกกลมเหมือนเหรียญรุ่นแรก รุ่นนี้ท่านนั่งเต็มองค์
ด้านข้างมีดอกบัวข้างละดอก ยันต์ใช้ยันต์เหมือนเหรียญรุ่นแรก มีเนื้อเงิน ๕๐” เหรียญ ทองแดง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ สำหรับเหรียญรุ่นที่สาม นั้นมีเนื้อทองแดงอย่างเดียว มีจำนวนการสร้างมากถึงหมื่นเหรียญ รุ่นนี้มีพระเกจิอาจารย์ดังๆ ในยุคนั้นมาร่วมในพิธีหลายองค์ด้วยกันที่จำได้มีหลวงพ่อฟ้อน วัดป่างิ้ว หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา หลวงพ่อหวล วัดกร่าง หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองฯนอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีการสร้างขึ้นมาอีกหลายรุ่นด้วยกัน ส่วนมากเป็นเหรียญแทบทั้งสิ้น เคยมีคนถามหลวงพ่อหอมว่า วัตถุมงคลของหลวงพ่อใช้ในด้านไหนเมตตาหรือคงกระพัน หลวง พ่อหอมบอกว่า อธิษฐานเอาเองใช้ได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราขาดการนึกถึง คุณบิดา คุณมารดา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เหมือนเราแขวนดิน เพราะฉะนั้น หลวงพ่อหอมจะบอกให้นึกถึงและปฏิบัติต่อบิดา มารดา เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ดีชีวิตก็ดีขึ้นเจริญขึ้น หลวงพ่อหอมมีอายุ ๙๐ ปี ๖๙ พรรษา ลูกศิษย์และญาติโยมจึงพร้อมใจกันจัดงานทำบุญอายุ ๙๐ ปีขึ้น และฉลองวิหารกับหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อหอมด้วยในวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หลว พ่อหอม ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา สิริอายุรวม ๙๑ พรรษา ๗๐ ก่อนหน้านี้ คณะศิษยานุศิษย์ได้นำหลวงพ่อหอม เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนนทเวช เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ/รายงาน