การทุจริต คือการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น (ป.อาญา ม.1(1)
การทุจริต เป็นภัยร้ายแรงที่สำคัญที่ทำลายความมั่นคงของชาติประเทศของเราได้ถูกจัดอันดับว่ามีการทุจริตอันดับที่ 85 ของโลกจากจำนวน 175 ประเทศ ถือว่าอยู่เกณฑ์ที่ต่ำมาก กลุ่มที่มีการทุจริตมากที่สุดคือกลุ่มนักการเมืองทั้งในระดับระดับชาติและในระดับท้องถิ่นร่วมกับกลุ่มข้าราชการประจำที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูง การทุจริตนักการเมืองมิอาจทำได้โดยลำพัง ผู้ที่มีหน้าที่ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างส่วนใหญ่เป็นข้าราชการทั้งสิ้น ส่วนนักการเมืองจะอยู่เบื้องหลัง
ในการจัดซื้อจัดจ้างตามกฎหมายและระเบียบแล้วจะต้องมีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เช่นคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา,คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา, คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา,คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ,คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ,คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ,คณะกรรมการตรวจการจ้าง คณะกรรมการต่างๆเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการทั้งสิ้น ถ้าคณะกรรมการทุกคนทำงานตรงไปตรงมา การทุจริตจะไม่เกิดขึ้น เช่นสร้างสถานีตำรวจสร้างถนนต่างๆ. วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาสร้างถูกต้องหรือไม่ ความหนาความกว้าง ความยาวของถนนเป็นอย่างไร
สรุป การทุจริตทุกโครงการไม่ว่าในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติเป็นการร่วมมือกันระหว่างนักการเมืองกับข้าราชการระดับสูงทั้งสิ้นเป็นการฉ้อราษฎร์บังหลวงทั้งสิ้น ไม่ได้หมายความถึงนักการเมืองทุกคน และไม่ได้หมายความถึงข้าราชการทุกคน ที่ทุจริตมีเพียงบางคนเท่านั้น อย่างนักการเมืองที่เป็นอดีตส.ส. หรือ อดีต ส.ว.บางคน ไม่มีแม้แต่ข้าวสารจะกรอกหม้อบางคนต้องไปบวชและตายคาผ้าเหลือง บางคนล้มละลายสิ้นเนื้อประดาตัว ข้าราชการก็เช่นกันประมาณ99% ไม่เคยทุจริต คนที่เคยทุจริตส่วนใหญ่จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างทั้งสิ้น
สำหรับข้าราชการบางหน่วยเช่น ข้าราชการตำรวจระดับสถานีตำรวจไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องการจัดซื้อจัดจ้าง กระดาษ สมุดปากกา หมึกพิมพ์ต่างๆต้องเบิกจากตำรวจภูธรจังหวัดทั้งสิ้น ไม่มีอำนาจบริหารเงินงบประมาณผู้บริหารระดับโรงพักจึงไม่มีโอกาสทุจริตเงินงบประมาณแผ่นดินเลย ในระบอบประชาธิปไตย คนจะเป็นนักการเมืองได้นั้น จะต้องให้ประชาขนเลือกตั้งเข้ามา เมื่อชนะการเลือกตั้งแล้ว เขาก็ยังเป็นนักการเมืองไม่ได้. เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตรวจสอบว่า เขามีคุณสมบัติครบและชนะการเลือกตั้งด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม จึงจะรับรอง เมื่อ กกต.รับรองแล้ว เขาจึงจะได้เป็นนักการเมือ เมื่อมาเป็นนักการเมืองแล้ว มาทำหน้าที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง เราก็มีองค์กรอิสระ ข้าราชการ ประชาชนคอยควบคุมนักการเมืองมิให้ทุจริตถ้านักการเมืองทุจริต
เราควรตำหนิใครดี ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมรับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่ประชาชนคนเลือกตั้ง กกต. องค์การอิสระ เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมนักการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย เราจะตำหนินักการเมืองฝ่ายเดียวไม่ได้ ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องช่วยกัน ร่วมมือกันป้องกันและปราบปรามการทุจรติอย่างเต็มที่