สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำทีมนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยสร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทย โดยสามารถคว้ารางวัล JDIE Grand Award ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของงานจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในเวที “Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2024) เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ณ Tokyo Ariake Garden Convention Center, Japan กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัล JDIE Grand Award ได้แก่ ผลงานเรื่อง “หุ่นยนต์ต้นแบบมือเทียมกลสวมแขนสำหรับผู้พิการแขนขาดบริเวณกึ่งกลางปลายแขนโดยใช้สัญญาณอิเล็กโทรมิโอแกรมและเทคนิคปัญญาประดิษฐ์” จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย ดร.ฐิตาภรณ์ กนกรัตน และคณะ ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบมือเทียมกลสวมแขนและใช้เทคนิคการประมวลผลสัญญาณเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อในการทำท่าทางพื้นฐาน โดยใช้เซ็นเซอร์วัดสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อราคาถูก และทำการลดขนาดสัญญาณ กำจัดสัญญาณรบกวน คุณลักษณะเด่น และการใช้โมเดลการเรียนรู้ด้วยเครื่อง โมเดลที่พัฒนานี้ได้นำไปใช้งานร่วมกับระบบควบคุมแขนเทียมสำหรับการทดลองเคลื่อนไหวท่าทางกำมือและแบมือ
นอกจากนี้ ยังมีผลงานเรื่อง “อุปกรณ์ช่วยลงน้ำหนักเท้าสำหรับผู้ป่วยขาหัก” โดย นายวิชัย สังฆะมะณี และคณะ จากวิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย ได้รับรางวัลจาก Special Prize จากผู้จัดงาน และยังมีประดิษฐกรรมและและนวัตกรรมอีก 5 ผลงานที่ได้รับ Special Prizes on stage จากองค์กรนานาชาติ ดังนี้
- ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมปากล่างนกเทียมจากเครื่องพิมพ์สามมิติสำหรับนกกาฮัง” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์และคณะ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลจาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
- ผลงานเรื่อง “การผสานสารสกัดจากธรรมชาติด้วยนวัตกรรม RAS-O เพื่อลดรอยแตกลายบนผิวหนัง” โดย ดร.เดวิด มกรพงศ์ และคณะ จากบริษัท อินโน ไวเทิลเทค จำกัด ได้รับรางวัล World Invention Intellectual Property Associations ไต้หวัน
- ผลงานเรื่อง “airstack turbine: กังหันลมรูปแบบแกนแนวตั้งแบบเรียงซ้อนระบบโรเตอร์ร่วมแกน” โดยนายวิชัย สีสุด และคณะ จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ได้รับรางวัลจาก ITE Expo สหราชอาณาจักร
- ผลงานเรื่อง “ระบบบันทึกข้อมูลสัญญาณความผิดพร่องในระบบไฟฟ้าที่รองรับหน่วยวัดเฟสเซอร์ตามเวลาจริง” โดยนายเสถียร ประทุมมา และคณะ จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รับรางวัลจาก Highly Innovative Unique Foundation ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
- ผลงานเรื่อง “การออกแบบลวดลายผ้าใยกล้วย สู่การสร้างสรรค์อัตลักษณ์ชุมชนเชิงพาณิชย์” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนากานต์ เรืองณรงค์ และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับรางวัลจาก Iranian Top Inventors สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
พร้อมนี้ ผลงานของนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยยังคว้าเหรียญทองจากเวที JDIE 2024 ในประเภทต่างๆ ดังนี้
-เหรียญทอง 50 ผลงาน
-เหรียญเงิน 19 ผลงาน
-เหรียญทองแดง 4 ผลงาน
พร้อมด้วย Special Prize อีกเป็นจำนวนมากจากประเทศต่างๆ ได้แก่ อังกฤษ ฮ่องกง ไต้หวัน อินโดนีเซีย อิหร่าน เป็นต้น
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ผอ.วช.) ได้รับเชิญให้กล่าวแสดงความยินดีกับนักประดิษฐ์นักวิจัยที่ได้รับรางวัลในพิธีมอบรางวัลเวที JDIE 2024 โดย ดร.วิภารัตน์ ได้กล่าวแสดงความยินดีและชื่นชมผู้ได้รับรางวัลทั้งจากประเทศไทยและนานาประเทศที่ได้อุทิศตนในการสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมที่มีศักยภาพต่อวงการสิ่งประดิษฐ์ วิจัย และนวัตกรรมออกสู่สายตาประชาคมผ่านเวทีประกวดนานาชาติ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโลก และท้ายสุดต้องขอขอบคุณ WIIPA ที่ให้เกียรติ (วช.) ในนามประเทศไทยนำผลงานของนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยร่วมประกวดแข่งขันและจัดแสดงในงาน
สำหรับ 31 หน่วยงาน จากประเทศไทยที่ร่วมคว้ารางวัลในเวที “Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2024) ได้แก่
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยรังสิต
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
- วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน
- วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย
- โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี
- โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
- โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย
- โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
- โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา
- โรงเรียนสตรีศรีน่าน
- โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- โรงเรียนราชินีบน
- โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา”
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- บริษัท อินโน ไวเทิลเทค จำกัด
- บริษัท 7 ดราก้อน อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท เวลเนส เอเซีย จำกัด
- บริษัท เฮลทิเนส จำกัด
- บริษัท เซน อินโนเวชั่น กรุ๊ป จำกัด
- บริษัท ไทยมรดก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดและโลกในระดับสากล ซึ่งผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพเหล่านี้ได้ในระดับสูงตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จึงจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการเรียนรู้ จึงได้ร่วมมือกันปรับเป้าหมายการจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนเรียนรู้ร่วมกันด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ดำเนินการวัดและประเมินผลเน้นผลผลิตที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง ด้วยเกณฑ์มิติคุณภาพ (Rubrics) ตอบสนองแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) ที่เน้นให้พัฒนาทักษะการคิด การปฏิบัติ และการสร้างเจตคติ ค่านิยมที่ดีร่วมกัน สามารถสร้างความรู้ในระดับหลักการไปสร้างผลงานในระดับนวัตกรรม สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ทุกมิติ นำพาประเทศไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างความรู้และสร้างค่านิยมตามแนวทางประชาธิปไตย ซึ่งไม่เน้นการเรียนแบบอ่าน ท่อง สอบ แล้วลืมอีกต่อไป