เนื่องจากมีชาวบ้านแจ้งว่าลำแม่ลาบริเวณหมูที่ 10 และหมูที่ 12 ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
น้ำเน่าเสียทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมาก
วันที่ 7 มิถุนายน 2567 นางสุพัตรา เผือกจีน ประมงจังหวัดสิงห์บุรี มอบหมายให้นายก้องเกียรติ ปานพรหมมินทร์ ตำแหน่ง นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดสิงห์บุรี เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ลำน้ำแม่ลาฝั่งตะวันออกหมู่ที่ 12 และหมู่ที่ 10 ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี พบว่าน้ำมีสีคล้ำน้อยลง คุณภาพน้ำเริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีการปล่อยน้ำดีมาไล่น้ำเสียทิ้งทำให้พื้นที่ที่รับน้ำเสียต่อเกิดผลกระทบปลาลอยตายเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ผู้นำชุมชนช่วยกันเฝ้าระวังโดยการตักปลาที่ตายออก เพื่อไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็น ทางสำนักงานประมงจะส่งหน่วยเคลื่อนที่ตรวจคุณภาพที่เน่าเสียอยู่ตลอดเพื่อหาแนวทางแก้ไขบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องช่วยกัน
โดยการใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย เป็นวิธีการใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไป อีกทั้งยังช่วยให้น้ำเน่าเสียเจือจางลง การใช้พืชน้ำกรองสิ่งสกปรก ใช้พืชน้ำทำหน้าที่ดูดซับความสกปรก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย การเติมอากาศ โดยใช้เครื่องเติมอากาศ พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเพิ่มออกซิเจนละลายน้ำสำหรับสัตว์น้ำ อีกทั้งยังช่วยให้แบคทีเรียทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำได้เร็วขึ้นกำจัดปลาที่ตายในแหล่งน้ำ โดยวิธีขุดหลุม โรยปูนขาว และฝังกลบชุมชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการติดตามการตายของสัตว์น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาน้ำเน่าเสีย การบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกัน แก้ไข และหาสาเหตุปัญหาการตายของสัตว์น้ำ
กชกร พวยไพบูลย์
ผู้สื่อข่าวภูมิภาคประจำจังหวัดสิงห์บุรี