กระจายรายได้สร้างรายได้การจ้างแรงงานในท้องถิ่นด้วยการกระตุ้นการขายให้ทุกคนในแต่ละชุมชนมีอาชีพทำกินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและในทุกๆจังหวัดอย่างยั่งยืน
นายธนาตรัยฉัตร ภูโชคอนันต์ (เชน ธนา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อมาโด้ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า วันนี้ตนเเละคณะ เดินทางลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี ร่วมกับกลุ่มภูมิปัญญาทั้งถิ่นเพื่อพบปะผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดราชบุรีเพื่อส่งเสริมช่วยเหลือผลักดันการตลาดให้กับกลุ่มผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภครวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุจากธรรมชาติ อาทิเช่น เถาวัลย์ ผักตบชวา หวาย เครื่องปั้นดินเผา (โอ่งราชบุรี) ที่เป็นสินค้าจากฝีมือแรงงาน ชาวราชบุรี ที่นำมาผลิตกระเป๋า รองเท้า รวมถึง ผ้าฝ้ายทอมือ รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนถึงน้ำมะพร้าว น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลที่ผลิตจากอ้อยดำ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือซอฟต์ พาวเวอร์ by ราชบุรีที่หลายคนยังไม่รู้จักมากนัก
“เชน ธนา” กล่าวว่า ดังนั้นการที่ตนเปิดบริษัท โชว์บายเชน ธนา จำกัด เพื่อเสาะแสวงหาสินค้าจากชุมชนจากทั่วประเทศนำมาจำหน่ายเเละโชว์ศักยภาพของชุมชนนั้นๆเพื่อสร้างรายได้กระจายลงไปสู่ชุมชน ดังนั้น “โชว์บายเชนธนา” จึงได้ร่วมกับสินค้าโอท็อปทั่วประเทศในการผลักดันสู่ตลาดออนไลน์เพื่อให้เป็นสินค้าซอฟต์ พาวเวอร์ของไทยโดยเร็วเเละยั่งยืน
”เเละการมาจังหวัดราชบุรีในวันนี้คือจังหวัดที่เจ็ดที่ตนตั้งเป้าจะเเสวงหาสินค้าวิสาหกิจชุมชน สินค้าโอท็อปเเละผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ยังไม่มีการเปิดตัวจากทุกจังหวัดทั่วประเทศเพราะคือซอฟต์ พาวเวอร์ 77 จังหวัดของเมืองไทยโดยระบบการค้าออนไลน์เเละรายการต่างๆที่ตนรับผิดชอบนั้นจะช่วยเป็นประตูการค้าบานใหม่ให้ชาวราชบุรีมีช่องทางสร้างรายได้เเละขยายตลาดได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว เเละคนรุ่นใหม่เเละคนรุ่นต่างๆของราชบุรีจะได้เรียนรู้ทักษะการค้าบนโลกออนไลน์ที่ตนยินดีให้ข้อเเนะนำเพื่อให้พวกเขาภูมิใจในการขายสินค้าชุมชนของตัวเองที่สะสมองค์ความรู้มาหลายชั่วคนให้รู้จักมากขึ้น“
สืบสานมรดกการทอผ้าจกไท-ยวน ซึ่งมีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความละเอียดอ่อนทั้งลวดลายและการเลือกใช้สี ซึ่งสีที่นิยมใช้ คือ สีเขียว สีแดง สีดำ ด้วยความเชื่อที่ว่า เป็นสีที่ทรงพลังและสดใส ถักทอแซมให้เกิดเป็นหลากหลายลวดลาย ในรูปแบบลวดลายดั้งเดิม และพัฒนาออกแบบเป็นลวดลายที่ร่วมสมัย
แรงบันดาลใจของคุณชนัยพรฯ คือเป็นคนชอบนุ่งผ้าซื่น ผ้าไทย โดยเฉพาะผ้าไทยยวน จึงอยากจะช่วยเผยแพร่ สู่กลุ่มคนภายนอกให้รู้จักมากขึ้น จึงเริ่มจากการซื้อผ้าจากชาวบ้าน เพิ่มบาบาทชุมชนให้เข้มแข็ง นำเข้าวิสาหกิจและขายต่อไปยังทั่วประเทศไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ผ้าจกมรดกไทย-ยวนให้สืบทอดต่อไป