เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 : นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy: WelDA) โดยมี นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมในพิธีเปิด ณ สถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ โดยนายชาติวุฒิ ทองกัน ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 1 สมุทรปราการ นายสุชิน ทวีทรัพย์ล้ำเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ให้การต้อนรับ และพาเยี่ยมชมพันธมิตรของสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม ที่ได้มาร่วม เปิดบูช เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการเชื่อมในปัจจุบัน และชมกิจกรรมการเชื่อมของสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม ซึ่งได้รับความสนใจจากประธานในพิธีอย่างมาก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และบริการ โดยเฉพาะช่างเชื่อมโลหะซึ่งเป็นแรงงานทักษะฝีมือชั้นสูง ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหลักของประเทศ เช่น การก่อสร้างระบบราง ท่าเรือน้ำลึก อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ช่างเชื่อมต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีทักษะมาตรฐานสากล รองรับการขยายตัวของเขตเศรษฐกิจพิเศษ เขต EEC อุตสาหกรรมหลัก เรือเดินทะเล และงานตรวจซ่อมรื้อถอนใต้น้ำ เป็นต้น จึงเป็นสาขาอาชีพที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ แรงงานต้องรับการพัฒนายกระดับทักษะเพื่อให้สามารถปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีด้านงานเชื่อมสมัยใหม่ มีมาตรฐานสากล รวมทั้งรองรับการเปลี่ยนแปลงของทักษะฝีมือแรงงานในอนาคต กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน จึงได้จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy) หรือ WelDA เพื่อขับเคลื่อนการทำงานตามนโยบายรัฐบาล ยกระดับศักยภาพแรงงานไทย ทั้งการ Up-skill Re-skill ฝีมือแรงงาน ให้ได้มาตรฐาน รองรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ตามนโยบายค่าแรงของรัฐบาล และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ นายสุชิน ทวีทรัพย์ล้ำเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้กล่าวถึงหลักสูตร และภาระกิจสำหรับการอบรมช่างเชื่อมประกอบด้วย ภารกิจที่ 1.สำหรับช่างเชื่อมสากล สาขาช่างเชื่อมไฟฟ้าโลหะด้วยมือ Manual Metal Arc Welding (MMAW) ช่างเชื่อมทิก Tungsteninert Gas (TIG) ช่างเชื่อมแม็ก Metal Active Gas ภารกิจที่ 2. เป็นการฝึกอบรมเฉพราะทาง ด้านงานเชื่อม ตามความต้องการของสถานผู้ประกอบการ ซึ่งสถานผู้ประกอบการสามารถเลือกกระบวนการเชื่อม ชนิดรอยต่อ ประเภทของวัสดุ รวมถึงลักษณะท่าทางที่จะใช้ในการฝึกตามความเหมาะสมของงาน และกิจกรรมของผู้ประกอบการเอง ภารกิจที่ 3. สอบรับรองฝีมือช่างเชื่อม ตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ มาตรฐานสากล ผู้ผ่านรับรองตามหลักสูตรที่กำหนด จะได้วุฒิบัตรรับรองฝีมือตามประเภทของการทดสอบ เช่น วุฒิบัตรการรับรองตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ วุฒิบัตรการรับรองตามมาตรฐานสากล ISO9606-1 วุฒิบัตรการรับรองตามมาตรฐานสากล EN 287-1 สถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็น 1ใน 6 แห่ง ในประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด มีการติดตามด้านมาตรฐานทุกๆ 5 ปี ภายใต้กรอบสมาชิก 59 ประเทศทั่วโลก สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาบุคลากรการเชื่อม (Welding Skill Development Academy) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 1 สมุทรปราการ เลขที่ 1039 หมู่ที่ 15 ถนน เทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง สมุทรปราการ โทรศัพท์ 0 2315 3804 E-mail : welda.dsd@gmail.com
แชร์ให้เพื่อน