ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่บุคลากร รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาสังคมและประเทศชาติในอนาคต
จากความสำคัญเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีดังกล่าว คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จึงได้ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT ) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงานเเถลงข่าว “โครงการแข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจแห่งอนาคต ครั้งที่ 3” นำโดย นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมฯ พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และอาจารย์สมมาตร ทองคำ คณบดี คณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ร่วมแถลงข่าวในโครงการดังกล่าว ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรียินดีสนับสนุนให้ใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่จัดงานการเเข่งขัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ได้ตระหนักถึงความสำคัญเชิงนโยบายของมหาวิทยาลัยฯ จึงได้ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT ) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมี อาจารย์สมมาตร ทองคำ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และนายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT ) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว พร้อมด้วยอาจารย์กฤษติกร เจริญผล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และนายสุโรจน์ แสงสนิท อุปนายกฯฝ่ายอุตสาหกรรมและการพัฒนาธุรกิจ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ร่วมลงนามในโอกาสนี้ด้วย
ในการนี้ ผศ.ดร.เสงี่ยม บุษบาบาน รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผศ.ดร.ณัฐวรรณ สาสิงห์ ผู้ช่วยอธิการบดี และรองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ คณบดีและผู้แทน รวมทั้งคณาจารย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ร่วมพิธีเป็นสักขีพยานด้วย ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารสปอร์ตคอมเพล็กซ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567
การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมของสองหน่วยงานดังกล่าว เพื่อร่วมกันพัฒนาการผลิตและพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้านยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มีศักยภาพ เเละพร้อมตอบรับการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันที่ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และจะมีส่วนช่วยในการผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงเเละเเข็งเเรง อีกทั้งยังเป็นการตอบรับนโยบายกระทรวง อว. เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
นอกจากนี้ ความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว ยังมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อการร่วมมือกันในการร่างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อพัฒนาสมรรถนะ กำลังคนให้ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การร่วมมือกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วางรากฐานและแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า การร่วมมือกันวิจัย พัฒนา นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ ไฟฟ้า และเพื่อร่วมกันใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของทั้งสองฝ่าย ทั้งด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ บุคลากร และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนในด้านการวิจัย พัฒนา นวัตกรรม การพัฒนา บุคลากร การฝึกอบรม และด้านการจัดกิจกรรม และโครงการต่างๆ
อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ส่งเสริมการใช้รถ EV ในพื้นที่มหาวิทยาลัยฯคณะวิศวกรรมศาสตร์จึงเตรียมเปิดหลักสูตรผลิตและพัฒนาสมรรถนะกำลังคนด้าน EV รวมถึงการวิจัยพัฒนานวัตกรรมด้าน EV ซึ่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมุ่งมั่นที่จะเป็นเครือข่ายที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายด้าน EV ของประเทศ