สิ่งลี้ลับสิ่งที่มองไม่เห็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุดก็คืออาถรรพ์ ผู้ใดโดนไปแล้วผู้นั้นถึงดวงขาด ผู้ใดเคารพนับถือผู้นั้นจะร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี ทำธุรกิจเจริญรุ่งเรือง อย่าร้องดีอย่าลบหลู่สิ่งที่มองไม่เห็น
พูดถึงลิง ต้องมาที่เมืองลพบุรี หรือเมืองละโว้ธานี พี่มีอายุกว่า 3,000 ปี
เป็นที่ท่องเที่ยวของ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ซึ่งคนในพื้นที่ และคนในจังหวัดใกล้เคียงจะรู้จักในชื่อของ “ลิงเจ้าพ่อพระกาฬ”
เมื่อสมัยก่อนที่นี่เป็นป่าทึบ ไม่มีบ้านเรือนประชาชนเหมือนในปัจจุบัน
ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด และเส้นทางรถไฟสายเหนือ ภายในเป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำนาจ
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนลพบุรีที่นับถือมายาวนาน ผู้ใดเคารพบูชาผู้นั้นจะได้ร่ำรวยเงินทองผู้ได้ลบหลู่หรือทำร้ายลูกของท่านคือลิงแสมที่อยู่บริเวณศาลผู้นั้นจะเกิดภัยพิบัติ และเกิดอาถรรพ์ต่างๆนานาและบางรายถึงชีวิต
ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดิน
เป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม
ศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตามฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ 16 “อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา”
ทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ 1 และศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม (จารึกหลักที่ 18) อักษรหลังปัลลาวะภาษามอญโบราณ
จากกรณีจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่หักพังนั้น พบว่าเสานี้ถูกทุบทำลายให้ล้มพังอยู่กับที่มิได้เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น จึงสันนิษฐานว่าศาลพระกาฬอาจเคยเป็นศาสนสถานของนิกายเถรวาทมาก่อน ภายหลังถูกดัดแปลงเป็นเทวสถานในนิกายไวษณพของศาสนาฮินดูแทน
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้สร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ทรงตึกเป็นแบบฝรั่งหรือเปอร์เซียผสมผสานกับไทยบนฐานศิลาแลงเดิม ตัวศาลเป็นอาคารชั้นเดียวหลบแดดขนาดสามห้อง ภายในบรรจุทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับเทวรูปสีดำองค์หนึ่ง
ประมาณกันว่าเป็นศาลประจำเมืองก็ว่าได้
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองลพบุรีในปี พ.ศ. 2421 ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับศาลสูง ความว่า “ออกจากพระปรางค์สามยอดเดินไปสักสองสามเส้น ถึงศาลพระกาล ที่หน้าศาลมีต้นไทรย้อย รากจดถึงดิน เป็นหลายราก ร่มชิดดี เขาทำแคร่ไว้สำหรับนั่งพัก…ที่ศาลพระกาลนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไปมาก มีบันใดหลายสิบขั้น ข้างบนเป็นศาลหรือจะว่าวิหารสามห้อง เห็นจะเป็นช่อฟ้า ใบระกา แต่บัดนี้เหลืออยู่เพียงแต่ผนัง ที่แท่นมีรูปพระนารายณ์สูงประมาณ ๔ ศอก เป็นเทวรูปโบราณทำด้วยศิลา มีเทวรูปเล็ก ๆ เป็นพระอิศวรกับพระอุมาอีก ๒ รูป ออกทางหลังศาลมีบันใดขึ้นไปบนเนินสูงอีกชั้นหนึ่ง มีหอเล็กอีกหอหนึ่ง มีแผ่นศิลาเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑแผ่นหนึ่ง มีรูปนารายณ์ประทมสินธุ์แผ่นหนึ่งวางเปะปะ ไม่ได้ตั้งเป็นที่…”
ราวปี พ.ศ. 2465 ศาลเทพารักษ์หลังเดิมขนาดสามห้องได้ทรุดโทรมลงมาก จึงมีการอัญเชิญเทวรูปองค์ดำดังกล่าวลงมาประดิษฐาน ณ เรือนไม้มุงสังกะสีบริเวณพระปรางค์ชั้นล่าง
มีต้นไทรและกร่างปกคลุมทั่วบริเวณ
ในปี พ.ศ. 2480 จึงมีการสร้างกำแพงเตี้ย ๆ ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 บ้างว่า พ.ศ. 2495 ได้มีการสร้างศาลพระกาฬขึ้นใหม่เนื่องจากเรือนไม้สังกะสีเดิมได้ทรุดโทรมลง บางแห่งว่ามาจากการริเริ่มของศักดิ์ ไทยวัฒน์ ข้าหลวงประจำจังหวัดลพบุรีในขณะนั้นจากการสนับสนุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น บางแห่งว่าชลอ วนะภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญร่วมกับองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งชาวลพบุรีและผู้ศรัทธาจำนวนมาก เงินสำหรับก่อสร้างได้มาจากการเรี่ยไรจากชาวลพบุรีและใกล้เคียง รวมทั้งสิ้น 304,586.22 บาท
ศาลพระกาฬหลังใหม่จึงถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมทรงไทยร่วมสมัยของกรมศิลปากรสมัยหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นหัวหน้ากองสถาปัตยกรรมก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2496
ซึ่งดูเด่นเป็นสง่า ณ บริเวณหน้าฐานพระปรางค์โบราณ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2495
เจ้าพ่อพระกาฬเป็นเทวรูปรุ่นเก่าซึ่งอาจเป็นพระวิษณุ หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
เป็นเทวรูปรุ่นเก่า
ศิลปะลพบุรี
แต่เดิมเจ้าพ่อพระกาฬมีพระกายสีดำ ทำจากศิลา ไม่มีพระเศียร และพระกรทั้งหมด
กล่าวกันว่าเจ้าพ่อพระกาฬได้ไปเข้าฝันผู้ประสงค์ดีท่านหนึ่ง นัยว่าขอพระเศียรและพระกรเท่าที่จะหามาได้ ซึ่งได้มีผู้ศรัทธาได้จัดหาเศียรพระศิลาทรายศิลปะสมัยอยุธยา[8] ส่วนพระกรนั้นได้เพียงข้างเดียวจากทั้งหมดสี่ข้าง
ปัจจุบันเจ้าพ่อพระกาฬไม่เหลือเค้าเดิมซึ่งมีสีดำอีกแล้ว ด้วยถูกปิดทองจากผู้ศรัทธาแลดูเหลืองอร่ามจนสิ้น
กล่าวกันว่าปีหนึ่งมีผู้มานมัสการไม่ต่ำกว่าหนึ่งแสนคน
ลิงศาลพระกาฬ หรือ ลิงเจ้าพ่อพระกาฬ ดั้งเดิมเป็นลิงแสม ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมดกว่า 500 ตัว
ไม่นับรวมลิงกลุ่มอื่น ๆ ในลพบุรีที่มีกว่า 2,000 ตัว ทั้งนี้ทั้งนั้นลิงฝูงดังกล่าวมิได้มีความเกี่ยวข้องกับศาลพระกาฬเลยแต่อย่างใด แต่เดิมบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬเป็นป่าคงมีลิงป่าอาศัยอยู่ ลิงดังกล่าวยังชีพด้วยของถวายแก้บน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลไม้
ปัจจุบันลิงทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ
ลิงศาล หรือ ลิงเจ้าพ่อ เป็นลิงฝูงใหญ่อาศัยบริเวณโดยรอบศาลพระกาฬช่วงเที่ยง และอาศัยที่พระปรางค์สามยอดและบางส่วนของโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยช่วงเช้าและเย็น เมื่อพลบค่ำพวกมันจะกลับมานอนที่ศาลพระกาฬ กลุ่มนี้มีความเป็นอยู่ค่อนข้างดี มักได้รับของเซ่นไหว้จากผู้ศรัทธาเสมอ ซึ่ง ลิงศาล อาจแบ่งย่อยได้อีกสามกลุ่มคือ กลุ่มศาลพระกาฬ, กลุ่มพระปรางค์สามยอด และกลุ่มโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย
ลิงมุมตึก หรือ ลิงนอกศาล หรือ ลิงตลาด เป็นลิงจรจัดซึ่งแตกหลงฝูงและมิได้รับการยอมรับกลับเข้าฝูง มักเร่ร่อนตามมุมตึก ร้านค้าบ้านเรือนในชุมชนเมืองลพบุรี ลิงกลุ่มนี้มักสร้างปัญหาและความเสียหายอยู่เสมอ
จำนวนลิงก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดในเขตเมืองเก่า และเริ่มออกมาจากแหล่งเดิมไปอาศัยอยู่ย่านขนส่งสระแก้ว และสี่แยกเอราวัณซึ่งเป็นเขตเมืองใหม่[13] ก่อนหน้านี้เคยมีแนวคิดที่จะควบคุมประชากรลิงมาตลอด อาทิ การทำหมันลิง
จนในปลายปี พ.ศ. 2557 ได้มีการร้องเรียนจากชาวบ้าน ว่าลิงที่ศาลพระกาฬบางตาลงเนื่องจากทางเทศบาลเมืองลพบุรีได้ส่งเจ้าหน้าที่มาจับ[15] การนี้จำเริญ สละชีพ นายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มาชี้แจงว่าลิงที่ถูกจับนั้นเป็นลิงที่แตกฝูงและเกเรไปไว้ที่สวนสัตว์ลพบุรีจำนวน 74 ตัว ที่ส่วนใหญ่อิดโรยและมีแผลทั่วตัว นอกจากนี้ยังพบว่ามีลิงศาลพระกาฬจำนวน 30-40 ตัวถูกจับและปล่อยทิ้งไว้ที่ตำบลดอนดึง อำเภอบ้านหมี่
ภายหลังจึงมีแผนจัดการที่จะนำลิงไปไว้ที่ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมืองลพบุรี โดยทำในลักษณะสวนลิง
มีเรื่องเล่าความอาถรรพ์ของลิงศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ร่ำลือกันว่ามีวัยรุ่นขี้เมา ขับขี่มอเตอร์ไซค์
ไม่เชื่อเรื่องที่ชาวบ้านบริเวณศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ห้ามไม่ไปทำร้ายลิงของเจ้าพ่อพระกาฬ เพราะจะทำให้มีอันเป็นไปวัยรุ่นคนดังกล่าวไม่สนใจคำห้ามปรามใด ๆ ตั้งใจหรือจงใจ ขับรถชนลิงเจ้าพ่อพระกาฬ ตายได้มีฝูงลิงน้อยใหญ่รุมกันเจี๊ยวจ๊าวเสียงดังไปทั่วถนน อีกไม่นานวัยรุ่นคนดังกล่าวได้เกิดอุบัติเหตุเสียหลักชนรั้วโรงเรียนชื่อดังของเมืองลพบุรีได้เสียชีวิตคอหัก สาเหตุเพราะว่าไปชงลิงตายตัวเองก็ตายตามไปด้วยเพราะเจ้าพ่อพระกาฬลงโทษ
เพราะไปทำร้ายลูกศิษย์ของท่านท่านเลยลงโทษวัยรุ่นคนดังกล่าวโทษฐานคิดมิตรดีนิร้ายต่อลิงลูกศิษย์เจ้าพ่อพระกาฬ นั่นเอง
และความอาถรรพ์เรื่องที่ 2 ได้มีนักธุรกิจชื่อดังของลพบุรีรายหนึ่ง คิดจะรักย้ายลิงได้เกิดอาถรรพ์ บ้านตัวเองที่กรุงเทพฯเกิดไฟไหม้ไม่ทั้งหลัง ไม่ทราบสาเหตุที่รู้มาว่าตัวเองจะย้ายลิงออกจากจังหวัดลพบุรีเลยเกิดอาถรรพ์ขึ้นมาและไม่กี่ปีตัวเองก็เสียชีวิตลงอย่างไม่มีสาเหตุ
ไม่แน่ใจว่าวัยรุ่นและนักธุรกิจตายเป็นเพราะอาถรรพ์ที่ไปทำร้ายลิงของศาลเจ้าพ่อพระกาฬ หรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ สิ่งที่เป็นสาเหตุก็น่าจะมาจากเวรกรรมเสียมากกว่า จากการที่ไปขับรถจักรยานยนต์ชนลิงตายอย่างโหดร้ายทารุณ ตั้งแต่เรื่องนี้ดังไปทั่วหมู่บ้าน ก็ไม่มีใครกล้าไปทำร้ายลิงที่นั่นอีกเลย นอกจากทางปศุสัตว์จะเข้าไปทำหมัน และทำวัคซีนให้ เพื่อเป็นการควบคุมประชากร และควบคุมโลกให้แก่ลิงเพียงเท่านั้น เรื่องแบบนี้ไม่เชื่อก็ไม่จำเป็นต้องลบหลู่เป็นดีที่สุด
นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ