สมาคมนักเรียนเก่าพิบูลวิทยาลัย.ลพบุรี
จัดพิธีมอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่น “รวมพลคนเขียว-แดง 2567
ณ สนามโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ลพบุรี
ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
ปีนี้จะยิ่งใหญ่ต้อนรับสงกรานต์มหาสนุก
เมื่อวันศุกร์ ที่ 15 มีนาคม 2567 ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ รายงานข่าวว่า
ทางสมาคมนักเรียนเก่าพิบูลวิทยาลัย.ลพบุรี
มอบโล่ห์ศิษย์เก่าดีเด่น “รวมพลคนเขียว-แดง 2567
ภายใต้งานสงกรานต์มหาสนุก ณ สนามโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ลพบุรี
ในวันที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 18.00 นเป็นต้นไป
ในปีนี้ได้จัดพิธีมอบโล่ให้ให้แก่ศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2567
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ ขอแสดงความยินดีกับนายกอ้วน-นายพีรพล ปานเกลียว นายกสมาคมผู้สื่อข่าวและสื่อมวลชนจังหวัดลพบุรี ,
ผู้สื่อข่าวภูมิภาคหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ , ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี บรรณาธิการหนังสือพิมพ์แสงธานี
ที่ได้รับโล่รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย สาขาผู้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่รัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชน ประจำปี 2567
หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปโบราณศักดิสิทธิ์แห่งวัดพระยาออก ประดิษฐาน ณ วิหารโถงจัตุรมุข ภายในอาณาบริเวณโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวลพบุรี โดยเฉพาะ คณะครูและนักเรียนในโรงเรียน ที่มากราบสักการะขอพรอยู่เป็นเนืองนิตย์
วัดพระยาออก หนึ่งในโบราณสถานสำคัญของจังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง ไม่ไกลนักจากแนวคูเมืองและกำแพงเมืองชั้นที่ 1 ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ประวัติการก่อสร้างศาสนาสถานหลังนี้ไม่ปรากฏอย่างชัดเจน แต่จากหลักฐานที่กรมศิลปากรสำรวจพบ อันได้แก่ พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะอยุธยา บนวิหารร้างของวัด (ด้านหลังหอประชุม ภุมมสโร ในปัจจุบัน) ที่ชาวบ้านมักเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” อาจด้วยองค์พระเดิมเป็นสีขาวทั้งองค์นั้น ด้านหลังขององค์พระจะมีผนังก่ออิฐถือปูนติดอยู่ ทั้งหมดตั้งประดิษฐานบนฐานศิลาแลง และยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายสมัยลพบุรีสภาพชำรุดอีกจำนวนหนึ่ง จากรูปแบบทางศิลปะของพระพุทธรูปปูนปั้นหลังติดผนังโบสถ์ที่พบนั้น จึงไม่น่าจะถูกเคลื่อนย้ายได้โดยง่าย ต่างจากชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายขนาดเล็กที่
กระจัดกระจายอยู่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า วัดพระยาออกนี้น่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเช่นกัน
หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปูนปั้น หน้าตักกว้าง 420 เซนติเมตร ประทับนั่งปางสมาธิขัดราบ เหนือฐานบัว (ปัจจุบันได้ถูกพอกทับเป็นฐานหน้ากระดาน) ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี ชายจีวรยาวพาดข้อพระกรซ้าย พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม อันแสดงถึงอิทธิพลของศิลปะเขมร พระรัศมีเป็นเปลวซึ่งได้รับอิทธิพลของศิลปะสมัยสุโขทัย จัดเป็นพุทธลักษณะแบบ “อู่ทองรุ่นที่ 2” องค์พระหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก อาจเทียบได้กับพระประธานในอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี และวัดอื่นๆ ที่มีอายุการสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น อาทิ วัดราษฎร์บูรณะ, วัดพุทไธสวรรค์, วัดพระราม และวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น จึงสันนิษฐานว่าอาจสร้างในยุคเดียวกัน
ซึ่งทางกรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 24 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2479
ต่อมา ทางโรงเรียนได้จัดสร้าง “วิหารโถงจัตุรมุข” คลุมทับเหนือพระประธาน ผนังปูนและฐานศิลาแลงเมื่อปี พ.ศ.2516 โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณณสิริ) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์ ส่วน ‘องค์หลวงพ่อขาว’ ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงเรื่อยมา
วิหารหลวงพ่อขาว ถือเป็นศาสนสถานสำคัญประจำโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย และ หลวงพ่อขาว ก็เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานคู่โรงเรียนมาช้านาน เป็นที่เคารพสักการะและยึดเหนี่ยวจิตใจของคณะครู นักเรียน และประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี ที่มักใช้จัดกิจกรรมวัดสำคัญทางพระพุทธศาสนา และประกอบศาสนกิจในโรงเรียน เช่น คณะครูและนักเรียนร่วมกันทำบุญตักบาตร เป็นต้น
โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย นับเป็นโรงเรียนเก่าแก่ประจำ แม้ต้องโยกย้ายพื้นที่และชื่อมาหลายครั้ง ตั้งแต่โรงเรียนวัดเสาธงทองวิชาเยนทร์-พระนารายณ์ จนมาถึง ‘พิบูลวิทยาลัย’ ศิษย์ทุกรุ่นมีผลงานดีเด่นมาโดยตลอด ทั้งในสายสามัญ วิชาชีพ ศิลปะ ดนตรี กีฬา และกิจกรรมต่างๆ ศิษย์เก่าที่จบไปเป็นจำนวนมาก ได้สร้างชื่อเสียงแก่โรงเรียนและสร้างประโยชน์แก่สังคมนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้น ในโอกาสครบรอบการสถาปนาโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย 123 ปี ในปี พ.ศ.2567
จัดยิ่งใหญ่
นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ