วันพฤหัสบดี ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 13.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานฝ่ายฆารวาส พร้อมด้วย พระสุนทมุนี รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมือง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชน โดยมีนายสมชาย เกตะมะ ท้องถิ่นจังหวัดน่านกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของกิจกรรมดังกล่าว สืบเนื่องจาก โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนความเป็นมาของโครงการ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ วัดพระพุทธแสงธรรม ตำบลหนองนาก อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี มหาเถรสมาคม ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชน และภาคีความร่วมมือ รวมทั้งสิ้น 15 หน่วย ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อดำเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570 ) เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของมหาเถรสมาคม เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและมีแนวทางการบูรณาการความร่วมมือร่วมกับส่วนราชการ/หน่วยงานในส่วนภูมิภาค และภาคีความร่วมมือในระดับพื้นที่ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการพัฒนาด้วยแนวทาง 3 - 5 - 7 - 9 คือ 3 พันธกิจ 5ส 7 ขั้นตอนและ 9 พื้นที่ ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เพื่อการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ รวมถึงกิจกรรมเชิงพุทธ โดยจะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงและสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างวัดกับชุมชน ทำให้พระสงฆ์มีสุขภาพแข็งแรง วัดมีความมั่นคง ชุมชนมีความเข้มแข็งสืบไปวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนารูปแบบและนำแนวคิดของ 5ส ซึ่งประกอบไปด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สร้างมาตรฐาน และสร้างวินัย ลงสู่บริบทของวัดและชุมชน,เพื่อส่งเสริมให้วัดเป็นพื้นที่ต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ พื้นที่การเรียนรู้ พื้นที่ทางจิตใจและปัญญา โดยการบูรณาการแนวคิด 5ส หลักสัปปายะ 7 และหลักความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ประชาชนโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง,เพื่อพัฒนาและจัดระบบฐานข้อมูล องค์ความรู้ในการพัฒนาวัดและชุมชน รวมทั้งการออกแบบพื้นที่ของวัดให้เป็นสัปปายะสถานและการพัฒนาสู่วิถีแห่งอารยสถาปัตย์,เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในสังคมไทย รวมถึงกลุ่มวิชาชีพ ตื่นตัวเรื่องการช่วยเหลือสังคมการมีจิตอาสา ความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อทำให้เกิดสังคมสุขภาวะและความยั่งยืน โดยมีพันธกิจของโครงการ ดังนี้ การพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพของวัดและชุมชนให้สะอาด ร่มรื่น สวยงามเป็นสถานที่สัปปายะ,การพัฒนาพื้นที่ทางสังคมและการเรียนรู้ของวัดและชุมชนด้วยวิถีวัฒนธรรมเชิงพุทธ,การพัฒนาพื้นที่จิตใจและปัญญาของวัดและชุมชนตามแนวพระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายสำคัญ "วัดสวยด้วยความสุข" และ "การสร้างวัดในใจคน" หลักการทำงานโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โครงการใช้กระบวนการ 5ส หลักสัปปายะ 7 และหลักความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นหลักการสำคัญในการพัฒนากิจกรรมและพื้นที่ทางกายภาพของวัด โดยมีหลักการสำคัญ ได้แก่ การจัดการพื้นที่ทางกายภาพ โดยมีการจัดการพื้นที่ทางกายภาพของวัดให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยมีการดำเนินการใน 2 ด้าน ประกอบด้วย ดังนี้ การออกแบบผังแม่บทและการปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิ์ สัปปายะ และความศรัทธาในพื้นที่วัดทั่ว,การจัดการสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่และโครงสร้างพื้นฐานของวัด,การจัดการพื้นที่ทางสังคมและการเรียนรู้ ให้วัดและชุมชนได้มีการจัดการพื้นที่ทางสังคมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และกิจกรรมเชิงพุทธที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายในวัด โดยพัฒนากิจกรรมทางสังคม เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิถีพุทธ เช่น การทำจิตอาสาของคนในชุมชน การจัดการพื้นที่ส่งเสริมสุขภาวะเป็นลานวัด ลานกีฬา ลานวัฒนธรรม ลานกิจกรรมต่อต้านยาเสพติด การจัดกิจกรรมเชิงประเพณีของสังคมไทย การทำบุญตักบาตร เป็นต้น ,การอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในวัดและชุมชน เช่น การบวชป่าการอนุรักษ์พื้นที่ป่าตันน้ำ การจัดพื้นที่อนุรักษ์ของวัดและชุมชน เป็นต้น,การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม เช่น การส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง และประเพณีอื่นๆ ของแต่ละชุมชน/ท้องถิ่น ให้เป็นกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ,การจัดการพื้นที่ทางจิตวิญญาณและปัญญา โดยการจัดให้พื้นที่ของวัด เช่น อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นสถานที่แสดงธรรมเทศนา บรรยายธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้วิถีพุทธ เช่น การจัดกิจกรรมบรรยายธรรมประจำวันพระ และวันสำคัญทางศาสนา ,ส่งเสริมการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน,ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านจิตวิญญาณ,การจัดให้มีพื้นที่การเรียนรู้ทางจิตใจและปัญญาผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น
ธงชัย พานิชรุ่งเจริญกิจ นักข่าว5เหล่าทัพ ประจำจังหวัดน่าน รายงาน