พิสูจน์ความอร่อย อร่อยขั้นเทพ เหมือนเชฟมืออาชีพมาทำให้เราทาน
บรรดาเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดโพธิ์เกษตร ตำบล หัวสำโรง
อำเภอท่าวุ้ง
จังหวัดลพบุรี
ได้โชว์ลีลาทำอาหารพื้นบ้าน
ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
ภายใต้โครงงานอาชีพ การเรียนรู้การทำอาหารไทยพื้นบ้านภาคกลาง
ได้เดินทางลงพื้นที่ไปที่
โรงเรียนวัดโพธิ์เกษตร
ตำบล หัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี
ไปพบ
นางสาวชุลีพร คำดี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์เกษตร เจ้าของไอเดียการทำอาหารไทยพื้นบ้านในภาคกลางให้กับเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ 1 และปีที่ 3 เพื่อฝึกฝนเป็นอาชีพเสริมให้กับบรรดาเด็กนักเรียนที่จบการศึกษาไปมีความรู้ในเรื่องอาหารพื้นบ้านในภาคกลาง
และมีครูพี่เลี้ยง
นางสาวอัชรี เอี่ยมแจ้งพันธ์ และนางสาวมัลลิกา การกสิขวิธี ได้มาขยายผลและจัดหลักสูตรโครงงานอาชีพโดยจัดการเรียนการสอนอาหารไทยพื้นบ้าน
เมนูนี้เป็นแนวคิดของบรรดาเด็กๆและให้การสนับสนุนวัตถุดิบมาจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์เกษตร เป็นแรงหมุน เป็นแรงสนับสนุนให้เด็กๆมีอาชีพติดตัวเพื่อพัฒนาตนเองสู่โลกกว้างได้อย่างสง่างาม
นางสาวชุลีพร คำดี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์เกษตร เปิดใจตอนหนึ่งว่า
อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์มากๆโดยเฉพาะอาหารที่มีกลิ่นหอมของสมุนไพร แล้วยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราอีกด้วย อาหารจานนี้ก็เป็นอาหารไทยอีกอย่างหนึ่งที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทยมากมาย รสชาติอร่อย จัดจ้าน หอมเตะจมูกแน่นอน
เมนูที่พูดถึงก็คือเมนู
ต้มโคล้ง เป็นกับข้าวพื้นบ้านภาคกลาง
ตำรับตำราจากรุ่นย่าทวดท่านกำกับไว้ว่า อุตส่าห์ทำให้ง่ายแต่อร่อย กินได้ทุกมื้อทุกฤดูกาลแล้ว เครื่องปรุงก็น้อยอย่าง มีแค่ หอมแดง พริกแห้ง และน้ำมะขามเปียกเท่านั้น ไม่มี กะปิ น้ำตาล กระเทียม ห้ามใส่ กระชาย ข่า ตะไคร้ มะกรูดไม่ว่าใบหรือลูก เพราะมันจะไม่ได้รสต้มโคล้งของแท้ ของโบราณท่านใช้มะขามสดด้วยซ้ำ กับใบมะขามอ่อน
ตั้งน้ำ ขณะรอเดือด ก็ละลายน้ำมะขามเปียกไว้ ปอกหอมแดงเอามาบุบ พริกแห้งหั่นเคาะเม็ดออกเสียหน่อย ตับปลาแห้งลนไฟพอหอม รูดจากตับไม้ ตะลิงปลิงแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
พอน้ำเดือดพล่านก็ลงหอมแดง พริกแห้ง ปลาแห้ง และน้ำส้มมะขาม ปรุงรสด้วยเกลือเอาเค็ม น้ำปลาเอากลิ่น ได้ที่แล้วค่อยหย่อนตะลิงปลิงลงไป พอช้ำก็ได้เวลาเนื้อปลาแห้งนุ่ม ไม่ต้องลอยผักชีต้นหอมอะไรทั้งสิ้น ตักใส่ชามไปซดประชดสายฝนเสียในบัดดล ทีมข่าวลองชิมแล้วบอกต่อว่าอร่อยจริงฝีมือของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 และปีที่ 3 โชว์ลีลาทำอาหารไทยพื้นบ้านเหมือนมืออาชีพทำเลยทีเดียว
แกงเผ็ดร้อนรสจัดที่เป็นอาหารพื้นบ้านของไทย คำว่า ‘โคล้ง’ สันนิษฐานว่า มีที่มาจากชื่อแกงโบราณคือ ‘โพล้ง’ ที่ใช้วัตถุดิบใกล้เคียงกับต้มโคล้งในปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะและรสชาติคล้ายต้มยำ แต่ต่างเมนูกัน ต้มโคล้งมักใช้ปลาย่าง หรือปลากรอบ ในขณะที่ต้มยำจะใช้ปลาสด หรือกุ้งสด และต้มโคล้งจะใช้มะขามเปียก หรือมะม่วง สำหรับปรุงรสเปรี้ยว ต่างจากต้มยำที่ใช้มะนาว
ที่มาของเมนูต้มโคล้งเกิดจากวิถีชีวิตคนไทยสมัยก่อน เมื่อหาปลาได้จำนวนมากในฤดูน้ำหลาก และไม่ทราบว่าจะเก็บอย่างไร จึงหาวิธีถนอมอาหารเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน เช่น การใส่เกลือตากแดด ทำปลาเค็ม ปลาร้า และอื่น ๆ รวมถึงปลาย่าง ภายหลังปลาย่างถูกนำมาปรุงต่อยอดเป็นแกง ใส่พริกชี้ฟ้าแห้งที่ฉีกเป็นชิ้น ๆ ลงไป กลายเป็นเมนูต้มโคล้งในที่สุด ปลาย่างและพริกชี้ฟ้าแห้งจะทำให้ต้มโคล้งมีกลิ่นหอมต่างจากต้มยำ และปรุงสะดวกกว่า เพราะส่วนใหญ่จะใช้ของแห้งที่สามารถตุนไว้ในครัวได้ ไม่ว่าจะเป็นปลากรอบ มะขามเปียก พริกชี้ฟ้าแห้ง หัวหอมแดง รวมถึงพืชผักสวนครัวที่คนไทยนิยมปลูกหรือมักมีไว้ไม่ขาดมือ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และพริกขี้หนู
ประโยชน์ของพืชผักสมุนไพร
ต้มโคล้งปลาย่างหอมแดงเผาต้านหวัด’ ช่วยป้องกันโควิด-19 ได้
ต้มโคล้งเป็นเมนูพื้นบ้านประเภทแกงที่มีรสเผ็ดร้อน น้ำพริกแกงจะใส่หอมแดงเผา ปลาย่าง และใบมะขามอ่อน ช่วยให้เกิดรสเปรี้ยว ปรุงรสเปรี้ยวจัด เค็ม และเผ็ด ช่วงใกล้ทำอาหารเสร็จจะโรยด้วยพริกชี้ฟ้าแห้ง เพื่อให้แกงมีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ต้มโคล้งยังมีส่วนประกอบของสมุนไพรอย่าง ข่า และหอมแดง ที่มีสารสำคัญช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบ ป้องกันโรคโควิด-19 รับประทานเพื่อสุขภาพได้ทั้งครอบครัว
‘หอมแดง’ มีฤทธิ์ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการอักเสบ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส*
‘ข่า’ มีฤทธิ์ช่วยป้องกันอาการแพ้ ป้องกันการอักเสบ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส**
‘ใบโหระพา’ มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ และปรับภูมิคุ้มกัน***
‘ผักชีฝรั่ง’ ช่วยเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น จึงป้องกันการเจ็บป่วย และต้านการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกายได้
ส่วนผสม
ปลาดุกย่างรมควัน ปลาช่อน และปลาทู ใช้ปลาอะไรก็ได้ที่หาง่ายตามธรรมชาติหรือหาซื้อได้ตามตลาดสดทั่วไป
100 กรัม
ข่า 10 กรัม
มะกรูด 2 กรัม
หอมแดง 20 กรัม
พริกแห้ง 3 กรัม
ใบกะเพรา 3 กรัม
ผักชีฝรั่ง 3 กรัม
น้ำมะนาว 50 กรัม
น้ำสต๊อกไก่ 500 กรัม
น้ำปลา 50 กรัม
นี่ล่ะส่วนผสมของอาหารไทยพื้นบ้าน ต้มโคล้ง บอกคำเดียวว่าอร่อย
ข้างหน้าจะเอาอาหารของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์เกษตรนำเสนอความคืบหน้าอีกต่อไปมีหลายเมนูที่แนะนำข้างหน้าจะหยิบยกมารายงานให้ทราบต่อไป
นันท์นภัส ลิ้มนุสนธิ์
ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ