เนื้อหาโดยสรุปของมาตราที่สำคัญและอยู่ในความสนใจของสังคม มีเช่น
มาตรา 6 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสมาชิก 220 คน อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ถวายคำแนะนำ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำหน้าที่สภา
ผู้แทนราษฏร วุฒิสภา และรัฐสภา
มาตรา 19 และ 20 ระบุให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกฯ และคณะรัฐมนตรีอีก 35 คน โดยนายกฯ
ไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส.มาก่อน และนายกฯ และ รัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก หรือเคยเป็นสมาชิกพรรค
การเมืองภายในระยะเวลา 3 ปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้งมาก่อน ต้องไม่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
รวมทั้งต้องไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษา หรือตุลาการ อัยการ กรรมการการเลือกตั้ง
ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มาตรา 28 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติจำนวน 250 คน อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี โดยมาตรา 30 ได้ให้อำนาจคสช.
ดำเนินการคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ
มาตรา 32 ให้มีคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นจำนวน 36 คน เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
ซึ่งประกอบด้วย ประธานกรรมาธิการที่คสช.เสนอ, กรรมาธิการที่สภาปฏิรูปเสนอ 20 คน, และ
กรรมาธิการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และคสช.เสนออีกฝ่ายละ 5 คน
มาตรา 44 ในอำนาจหัวหน้าคสช.สั่งการ ระงับ ยับยั้ง หรือกระทำการใดๆ ที่เห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อ
ประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่างๆ การส่งเสริมความสามัคคี และความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ
หรือเพื่อป้องกันระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือ ความ
มั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภาย
นอกราชอาณาจักรโดยไม่ว่าการกระทำนั้นจะมีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือทางตุลาการ
ให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำ รวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและ
รัฐธรรมนูญนี้เป็นที่สุดทั้งนี้เมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวให้มีการรายงานประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
มาตรา 48 บรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน
เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติรวมทั้งการกระทำของบุคคลที่เกี่ยว
เนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
อันกระทำไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทำดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะทำในวันที่กล่าวหรือหลัง
วันที่กล่าว หากกระทำนั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ทั้งนี้ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ตามลิงค์นี้
เปิดรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557