พบ ตำนาน ผู้สืบสายตำนานผ้ามัดหมี่ เสริม ทักษะอาชีพ การทอดผ้า ต่อยอดภูมิปัญญาชาวบ้าน โคกเจริญ
บนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช.
ที่โด่งดังไปทั่วโลก สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยและลพบุรี
ซอฟต์พาวเวอร์
โคกเจริญ. เป็นอำเภอเล็กๆ. ตั้งอยู่เหนือสุดของจังหวัดลพบุรี มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่อง. ผ้าทอ พื้นเมือง. ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว. ถ่ายทอดมารุ่นต่อรุ่น. บนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ให้เกิดจากการต่อ ยอดและพัฒนาภูมิปัญญา ผ้าแบบโบราณมาสู่การเป็นนวกรรม. การออกแบบ สร้างสรรค์ลายบน ผืนผ้า. ที่ วิจิตร งดงาม. ตอนถูกคัดเลือกให้นำมาตัดเย็บเป็นชุด สำหรับบุคคลสำคัญระดับประเทศ ใครจะรู้ ว่าที่นี่เป็น เป็นผู้เย็บและออกแบบให้กับบุคคลสำคัญระดับประเทศมาแล้ว. ได้ตัดเย็บชุด ให้กับท่านนายกรัฐมนตรี คณะ รัฐมนตรี ที่รับแขกบ้านแขกเมือง ที่โดดเด่นในเนื้อผ้าก็ที่นี่เป็นผู้ออกแบบ ให้ทั้งสิ้น. ณ กลุ่มทอผ้ามัดหมี่ ศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทย อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี
โดยมี อ.วินัย ปัจฉิม ครูภูมิปัญญาไทย ผู้คิดค้น และสร้างสรรค์นวัตกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่ “ผ้ามัดหมี่” สินค้า OTOP จ.ลพบุรี ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ. ไป ทั่วโลก
“นายวินัย ปัจฉิม” ครูศิลปะจาก ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมัดหมี่ ผู้คิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม “ผ้าทอพื้นเมือง” ที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ ได้เล็งเห็น “ศักยภาพ” บนความ “ด้อยโอกาส” ของเยาวชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการ “ภูมิปัญญากับการพัฒนางานอาชีพเรื่องนวัตกรรมตำนานผ้าภูมิปัญญาโคกเจริญ” ขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะของเด็กนักเรียนให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพทอผ้า เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหาด้านเศรษฐกิจความยากจน และปัญหาสังคมหรือครอบครัวในอนาคต สร้างอาชีพสร้างรายได้แม้จะอยู่ที่บ้าน โดยได้รับการสนับสนุน “ทุนครูสอนดี” จากโครงการ “สังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง ครูสอนดี”ที่ขับเคลื่อนโดย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ “สสค.”
โดย “ทุนครูสอนดี” ที่ได้รับถูกนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และฝึกฝนกระบวนการผลิตผ้าทอในทุกขั้นตอน จนเกิดทักษะและความสามารถเตรียมการผลิตผ้าทอ เพื่อสร้างรายได้เสริมระหว่างเรียนในช่วงวันหยุดเมื่อไปช่วยทอผ้าที่ “ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย” ของชุมชน
“การทอผ้ามัดหมี่ที่นำเอาทุนของสังคมคือภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน เป็นเหมือนกับการสร้างคน สร้างงาน และสร้างชาติ มีวลีหนึ่งที่ว่า สุภาพบุรุษมัดหมี่ สุภาพสตรีทอผ้า เด็กๆ ปั่นหลา คนชราเลี้ยงไหม ตรงนี้ทำให้เห็นว่าสมาชิกครอบครัวทุกคนได้ทำงานร่วมกัน สามีมัดหมี่ ไปให้ภรรยาทอ ภรรยาทำเสร็จแล้วก็ต้องส่งให้ลูกปั่นหลา ส่วนคนชราที่มักจะคิดว่าตัวเองเป็นปัญหาของสังคม ถูกลูกๆ ทอดทิ้งไม่มีรายได้ เมื่อคนชรามีรายได้ของตัวเอง เขาก็จะอยู่ในครอบครัวอย่างมีความสุข การทอผ้าจึงเป็นงานที่ทำต่อเนื่องกัน ทุกคนมีหน้าที่พึงกระทำซึ่งกันและกัน ก็ทำให้สังคมอยู่อย่างมีความสุข ครอบครัวมีความสุข สังคมมีความสุข” ครูวินัยระบุ
โดยการเรียนรู้เรื่องผ้าทอพื้นเมืองจะมุ่งเน้นในเรื่องทักษะชีวิตให้เด็กๆ ได้รู้จักคุณค่าของการทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคม รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักรักท้องถิ่น รู้จักความกตัญญู รู้จักว่าพ่อและแม่นั้นหาเงินมาได้ด้วยความยากลำบาก และมีความภาคภูมิใจในตัวเองจากผลสำเร็จของงาน
และทอผ้าพื้นเมืองยังสามารถบูรณาการการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการวิชาได้ทั้งหมด ตั้งแต่วิชาประวัติศาสตร์ผ่านการเรียนรู้ตำนานผ้าจากยุคโบราณถึงปัจจุบัน วิชาคณิตศาสตร์ ในเรื่องของการคำนวณและออกแบบเส้นและลายไหม วิชาศิลปะศาสตร์การออกแบบสีสันและลวดลาย หรือวิทยาศาสตร์ในเรื่องของการผสมสีต่างๆ เพื่อให้ได้สีสันบนผืนผ้า ฯลฯ เพราะฉะนั้นในทุกขั้นตอนการเตรียมการผลิต “ครูวินัย” จึงบอกว่าเป็นจุดที่สามารถต่อยอดให้ความรู้ในด้านต่างๆ กับนักเรียนได้ทั้งหมด และผ้าทอของเรามีเอกลักษณ์ตรงที่มีจำนวนกลุ่มของเส้นไหมยี่สิบห้าลำทีกระบวนการทอผ้ามากที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะได้ผ้าที่สวยงามออกมา แต่กว่าจะได้เป็นผืนผ้าคนทอจะต้องจำทั้งลายผ้า การชักกระสวย และการเหยียบไม้
“ผ้าทอพื้นเมืองเดิมๆ จะไม่มีการผสมสีเป็นสีพื้นๆ แต่ผ้าทอของบ้านโคกเจริญจะมีการผสมสีที่แปลกตาและมีลวดลายที่สวยงาม โดยทุกวันเสาร์และอาทิตย์ก็จะไปช่วยคุณครูที่บ้านเพื่อผลิตผ้าทอในขั้นตอนของการโอบ มัด และย้อมหมี่” น้องน้ำฝน กล่าวว่ารู้สึกภาคภูมิใจกับผ้าทอของบ้านโคกเจริญที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ เพราะตัวเองและเพื่อนๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเตรียมการผลิตในขั้นตอนการมัดย้อมจนเกิดเป็นผืนผ้าทอที่สวยงามขึ้นมา
“ถ้ามีเวลาว่างก็อยากฝึกการทอผ้าให้เก่งขึ้น เพราะนอกจากจะนำไปประกอบอาชีพได้แล้ว ยังช่วยสืบสานงานทอผ้าซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชุมชนได้อีกด้วย” น้องนาเดียร์กล่าว
โดย “ครูวินัย” เปิดเผยว่า สังคมไทยในปัจจุบันผู้ปกครองส่วนใหญ่ต่างมุ่งหวังให้บุตรหลานของตนเองนั้นเรียนจบและทำงานเป็นเจ้าคนนายคนหรือทำงานบริษัท ไม่อยากให้มาทำงานรับจ้างหรือประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหมือนพ่อแม่ แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีเด็กนักเรียนอีกจำนวนมากที่หลุดจากวงโคจรหรือระบบของการศึกษา เนื่องจากปัญหาความยากจน ปัญหาสังคม การมีครอบครัวก่อนวัยอันควร ดังนั้นเด็กนักเรียนกลุ่มนี้ถ้าเขาได้มีรับการพัฒนาทักษะและมีความสามารถในเรื่องการทอผ้า เขาก็จะสามารถมีรายได้ โดยไม่ต้องรอดินฟ้าอากาศ และไม่จำเป็นต้องเรียนจบในระดับที่สูง
“เพราะการทอผ้าไม่ต้องรอกลางวันกลางคืน ทำที่ไหนก็ได้ ในร่มก็ได้ ในบ้านก็ได้ ใต้ถุนบ้านก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เพราะเมื่อไรที่กี่ดัง สตางค์ก็มา นอกจากนี้การทอผ้ายังเป็นการสร้างทักษะชีวิต เมื่อเรียนแล้วหากไม่ได้นำไปประกอบอาชีพ ก็ยังสามารถนำความรู้ในกระบวนต่างๆ ของการทอผ้าเข้าไปใช้ในวิชาอื่นๆ ได้ เช่นถ้าเป็นหมอก็เป็นหมอที่เย็บแผลสวยมีความเรียบร้อย มีการคิดคำนวณต้นทุนกำไร ซึ่งตรงนี้ก็จะไปเกี่ยวข้องกับทำงานหรือใช้ชีวิต ที่เขาจะสามารถจะวางแผนชีวิตของตัวเองได้” ครูวินัยสรุป. ืประวัติย่อ ของครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน.
นายวินัย ปัจฉิม ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
โปรแกรมวิชาศิลปกรรม ปี 2547
ท่าน
เกิด 25 พฤศจิกายน 2500
สถานที่เกิด บ้านเลขที่ 9 หมู่ 4 ตำบลโพสังโฆ อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
บิดา นายฉาบ ปัจฉิม
มารดา นางจง ปัจฉิม
ภรรยา นางบัวทอง ปัจฉิม
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 4 ตำบลโคกเจริญ อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี
การศึกษา
พ.ศ. – ครุศาสตรบัณฑิต(ศิลปศึกษา) วิทยาลัยครูเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
พ.ศ. 2547 ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์(ศิลปกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี
ประวัติการทำงาน
- เป็นครูสอนอยู่ในโรงเรียนอนุบาลโคกเจริญ
ด้านสาธารณประโยชน์
- การจัดตั้งกลุ่มทอผ้าของอำเภอโคกเจริญ
- จัดตั้งศูนย์พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นฯ เพื่อเป็นสถานที่จัดการเรียน การสอน การเรียนรู้ท้องถิ่น “การทอผ้าพื้นเมือง”
- ได้ถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่างๆ ด้านการทอผ้าให้กับกลุ่มทอผ้าในอำเภอโคกเจริญ
- ร่วมงานประเพณีต่างๆ เช่น จัดรถบุษผาชาติในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ ฯลฯ
- ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เช่น การเขียนรูปนิทานชาดกให้กับวัด งานเขียนหน้าบันโบสถ์ งานตกแต่งศาลาการเปรียญ
ผลงานดีเด่น
- รางวัลชนะเลิศผลิตภัณฑ์ดีเด่น จังหวัดลพบุรี หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (ผ้ามัดหมี่ลายปรางค์สามยอดและวังนารายณ์) ปี พ.ศ.2545
- รางวัลชนะเลิศผลิตภัณฑ์ดีเด่นภาคกลาง ผ้าไหมประเภทภูมิปัญญา (ผ้าไหมมัดหมี่ลายราตรีวังนารายณ์) ปี พ.ศ.2545
- รางวัลชนะเลิศการประกวดผลิตภัณฑ์ภาคกลาง (ผ้ามัดหมี่ลายหลุยส์) ปี พ.ศ. 2546
- รางวัลชนะเลิศการประกวด การประดิษฐ์ของที่ระลึกจากวัสดุทั่วไปเป็นดอกทานตะวัน ปี พ.ศ. 2546
- รางวัลการประกวดลายผ้าจังหวัดลพบุรี (ลายดอกพิกุล) ปี พ.ศ. 2547
- เกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ “ครูดีในใจดวงใจ”
- เกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี”
- เกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ “ครูภูมิปัญญาไทย” ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม(นวัตกรรมลายผ้าไทย)
- เกียรติบัตรผู้ให้การช่วยเหลือการศึกษานอกโรงเรียนดีเด่น
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม
- เกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ผู้นำอาชีพก้าวหน้าดีเด่นจังหวัดลพบุรี
- เกียรติบัตรเป็นผู้ร่วมจัดตั้งสถาบันพัฒนาภูปัญญา OTOP
- ได้รับโล่คนดีศรีลพบุรี “สาขาผู้สร้างสรรค์งานศิลปะและช่างฝีมือ” ประจำปี 2550. และ ได้หันตัวเองมาเป็นครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน. ในอำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี จนถึงปัจจุบัน. เป็นผู้ก่อตั้งศูนย์ เรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทย. อำเภอโคกเจริญ. จังหวัดลพบุรี เป็นผู้คิดค้นและ ค้นพบข้อมูล ผ้าโบราณในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. ใครสนใจ มัดหมี่ ที่ทอด้วยมือชาวบ้าน. หรือซื้อไปฝาก ญาติมิตรผู้ใหญ่ เป็นของขวัญ ของกำนัลและเทศกาลต่างๆ. ติดต่อได้ที่ ศูนย์เรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทย และจำหน่ายสินค้า OTOP. อำเภอโคกเจริญ. จังหวัดลพบุรี มีสินค้าประเภทผ้านานาชนิดให้เลือกซื้อกันได้ หรือ จะติดต่อดูงานเป็นหมู่คณะ ให้ติดต่อทาง ที่ว่าการอำเภอโคกเจริญ. จังหวัดลพบุรี วัน เวลาราชการ.
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ศูนย์ข่าวภาคกลางหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ