วันที่27มกราคม2567 นางสาวอรกัลยา พิชชาออน หัวหน้าองค์กรผู้ประสานงานองค์กร เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพและศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง จังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยชาวบ้าน อสม. ม.2 ต.บางพูน อ.เมือง จ.ปทุมธานี ประมาณ 30 คน เข้าพบหัวหน้าสาธารณสุขอำเภอเมือง หลังจากที่รักษาการ ผู้อำนวยการ รพ.สต.บางพูน 2ไม่ให้ความสำคัญการบริการกับชาวบ้าน โดยทางหัวหน้าสาธารณสุขอำเภอเมืองปทุมธานี ไม่ให้สัมภาษณ์ โบ้ยให้ไปถามนิติกรของสาธารณสุขจังหวัดเอง ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจต่างวิพากษ์วิจารณ์ถึงระบบการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขที่มองชาวบ้านสร้างปัญหา
นางสาวอรกัลยา พิชชาอ่อน ผู้ประสานงานองค์กร เครือข่ายผู้หญิงเพื่อสุขภาพและศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง จังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่าปัญหาของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบางพูนที่ย้ายมาใหม่เข้ากับชาวบ้านไม่ได้เข้ากับ อสม.ไม่ได้ ชาวบ้านเขาทนไม่ไหวจึงได้มาร้องเรียนเรา เราซึ่งเป็นหน่วยรับร้องเรียนก็ต้องลงไปดูก็เป็นจริงตามที่เขาร้องเรียนมาซึ่งเป็นพฤติกรรมของ ผอ.ที่เป็นแบบนั้นจริงๆ จึงได้ไปสืบหาข้อเท็จจริงจากสาธารณสุขอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวกับเขา แต่ท่านสาธารณสุขอำเภอก็บอกให้พวกเราอดทนเพราะนิสัยเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆแล้วเขาอยากทำงาน ซึ่งเราก็ไปคุยจริงๆคุยกันแล้วหลายรอบจนครั้งสุดท้ายชาวบ้านต้องมาร้องเรียน เราก็ได้ไปคุยกับทั้งสาธารณสุขอำเภอและสาธารณสุขจังหวัด โดยได้บอกกับชาวบ้านว่าถ้าจะร้องเรียนให้ไปล่ารายชื่อมาได้จำนวน 182 คนจึงได้แนบรายชื่อส่งไปให้สาธารณสุขจังหวัดตอนนี้อยู่ในขั้นของกระบวนการตรวจสอบแต่ชาวบ้านเขาข้องใจว่าทางคณะผู้ตรวจสอบเวลาลงไปตรวจสอบไม่ได้ไปหาพวกเขาก็ไม่ทราบว่าลงไปหาใครจนทำให้คนในพื้นที่แตกคอกัน วันนี้ในฐานะที่เป็นหัวหน้าศูนย์รับรองเรียนก็ต้องทำหน้าที่พาชาวบ้านไปที่สาธารณสุขอำเภอให้ท่านชี้แจงแต่ท่านก็ชี้แจงว่าอยู่ในกรอบขั้นขบวนการตรวจสอบ เนื่องจากเราไม่ได้ส่งหนังสือไปที่สาธารณะสุขอำเภอท่านก็ให้พวกเราไปสาธารณสุขจังหวัดชาวบ้านเขาไม่พอใจอยู่แล้วจริงๆ ซึ่งสาธารณสุขอำเภอน่าจะคุยอะไรได้มากกว่านี้ไม่ใช่มาพูดว่ามันอยู่ตามขั้นตอนโน่นนี่นั่นซึ่งไม่เกี่ยวกับตนเอง แต่ก็ไม่เป็นไรเมื่อท่านบอกว่าไม่เกี่ยวแต่ก็ไม่เป็นไรเราก็จะไปติดตามที่สาธารณสุขจังหวัดต่อไป จะได้พูดคุยกันนิติกรที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ผอ รพ.สต.คนนี้ต่อไป ซึ่งเราก็จะนัดชาวบ้านที่แนบชื่อไปนั้นให้คณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบโดยตรงต่อไป เรื่องแบบนี้มันมีมูลมานานมีมูลมาหลายเดือนตั้งแต่ ผอ.ท่านนี้ย้ายมา 8 เดือน อบรมประชุมอสม.แค่ครั้งเดียวซึ่งจริงๆแล้วการเป็นผู้บริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและมีอสมอยู่ภายใต้ช่วยทำงานเนี่ยมันต้องประชุมกันเดือนละ 1 ครั้งตามหลักการ แล้วยังก็มีการคุยเล่นกระแนะกระแหนมันไม่ใช่วิสัยของคนเป็นผู้อำนวยการทำให้ชาวบ้านบางคนเขาไม่OK ถ้ายังไงก็แนบคำให้การของผู้ให้การที่เป็นชาวบ้านในพื้นที่ก็แล้วกัน
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ของชาวบ้าน ม.1 ม2 ม.3 และ ม.5 เพื่อทราบปัญหาการให้บริการของ รพ.สต. บางพูน แห่งนี้สรุปได้รับคำตอบไปในทางลบ
นางสมนึก สายบางหลวง ชาวบ้านม.2 เปิดเผยว่าตนเองไม่ยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวเรื่องการทำงานของ ผอ.รพ.สต.ท่านนี้แต่อย่างใด แต่ในเมื่อระบบการบริหารของ ผอ.เข้าหูออกมาในทางลบก็เกิดวิตกกังวลในเรื่องของการให้บริการต่อชาวบ้านรวมถึงผู้สูงอายุว่าจะไม่ดูแลได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากรุ่นปูย่าตายายของตนได้บริจาคที่ดินตรงนี้ให้สร้างอนามัยเพื่อไว้คอยช่วยเหลือชาวบ้านในเบื้องต้น ซึ่งปัจจุบันในยาฐานะเป็น รพ.สต.และมีการพัฒนามากขึ้น ก็ยากให้ผู้บริหารคำนึงถึงเจตตนารมณ์ของผู้บริจาคคือการทำงานแบบเสียสละเป็นที่ตั้ง
นางสมนึก สุขทวีไพบูลย์ ชาวบ้าน ม.3 เปิดเผยว่าตั้งแต่ ผอ.คนนี้ย้ายเขามาตนเองก็ไม่เคยเห็นหน้าเลย ตนเองเป็นผู้สูงอายุแล้วเวลาเจ็บป่วยก็ต้องไปที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ซึ่งอยู่ใกล้บ้านก่อนเนื่องจากเวียนศรีษะเพราะประวัติการป่วยมีอยู่ที่นี่แล้ว พอไปถึงก็ได้รับการให้บริการจากเจ้าหน้าที่ให้จับบัตรคิว คิดว่าจะได้พบหมอและรับยา แต่เจ้าหน้าที่นัดให้มาพบหมอในวันต่อไป ซึ่งต่างจาก ผอ.คนที่แล้ว พบผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มารพ.สต.ก็จะลงมาต้อนรับสอบถามอาการ แต่ ผอ.คนนี้ไม่ใช่
ภาพ/ข่าว สมาคมนักข่าวปทุมธานี