โบอิ้ง 777 ของมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH17 ตกที่ยูเครน พร้อมชีวิตผู้โดยสาร 295 คน
โดยทางการยูเครนมุ่งเป้าไปที่ ‘บู๊ค มิสไซล์’ ในฐานะผู้ต้องสงสัยเป็นอาวุธมรณะสอยเครื่องบินโดยสาร
ตก แล้ว บู๊ค มันคืออะไร…
ท่ามกลางข่าวสารหลังจากเกิดเหตุเครื่องบินโดยสารมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบิน MH17 ตกที่ยูเครน ชื่อของ
‘บู๊ค มิสไซล์’ ก็ปรากฎขึ้นมาจากทางรัฐบาลยูเครนในฐานะผู้ต้องสงสัยเป็นอาวุธมรณะสอยเครื่องบินโดยสาร
ตกว่าสงสัยกันไหมว่า มันคืออะไร
เมื่อเวลาประมาณ 22.30 น.วันที่ 17 ก.ค.2557 มีการรายงานว่าเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง 777-200 ของ
สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ MH17 หายไปจากจอเรดาร์ และไม่สามารถติดต่อได้ โดยเครื่องบิน
ลำดังกล่าวนำผู้โดยสารจำนวน 280 คนและ ลูกเรืออีก 15 คน ออกเดินทางจากกรุงอัมสเตอร์ดัม มุ่งหน้าสู่
ปลายทางกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ต่อมามีการเผยภาพของเศษซากเครื่องบินจากสื่อต่างประเทศ
ที่เมื่อดูจากซากก็สามารถยืนยันรูปพรรณได้ ว่านั่นเป็นเครื่องบินของมาเลเซียแอร์ไลน์ ที่หายไปในน่านฟ้า
ยูเครนใกล้กับชายแดนรัสเซียนั่นเอง
หลังจากนั้น นายแอนทอน เกราเชนโก้ ที่ปรึกษาของรัฐบาลยูเครน ออกมาระบุว่า เครื่องบินถูกยิงตกโดย
อาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศต่อต้านอากาศยาน หรือ จรวดแซม (SAM) จาก บู๊ค ลันเชอร์ (Buk launcher)
อันเป็นอาวุธที่พัฒนาโดยอดีตสหภาพโซเวียต แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่ชัดเจนว่าอาวุธชนิดดังกล่าว ทำให้
เครื่องบินตกจริงอย่างที่เขาอ้างหรือไม่ ทั้งนี้ตามรายงานระบุว่า เครื่องบินบินที่ความสูงประมาณ 33,000 ฟุต
หรือ 10 กม.จากพื้นผิวโลก เหนือน่านฟ้ายูเครนใกล้กับชายแดนติดกับรัสเซียก่อนที่จะตก
เว็บไซต์ Mashable ได้สัมภาษณ์ นายซิม ทัก นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงของ Stratfor ระบุว่า พื้นที่บริเวณ
ดังกล่าวนั้นมาการวางระบบป้องกันภัยทางอากาศหลากหลายแบบทั้งของยูเครนและรัสเซีย และทั้งหมดนั้น
ก็มีโอกาสที่จะยิงเครื่องบินตกได้ อันที่น่าสงสัยในเรื่องนี้มากที่สุดเห็นจะเป็น ระบบมิสไซล์บู๊ค
(Buk Missle System) หรือที่นาโตรู้จักมันในชื่อ เอสเอ-11 แกดฟลาย และ เอสเอ-17 กริซลีย์ และยังมี
ระบบ S-300 และ S-400 ที่ใช้ยิงในระยะไกล แต่ไม่มีการยืนยันว่าอาวุธเหล่านี้มีการวางไว้ที่จุดใด หรือ มี
จำนวนมากน้อยเพียงใด แต่เชื่อได้ว่าน่าจะมีระบบบู๊คอยู่ในพื้นที่ใกล้จุดเกิดเหตุ
อย่างไรก็ตามทั้งทางการของรัสเซียและยูเครนออกมาปฏิเสธว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือ สั่งให้มีปฏิบัติการ
ทางทหารใดๆ ต่อเครื่องบินโดยสารของพลเรือน หรือ กระแสข่าวที่ว่ากลุ่มกบฎในโดเนสก์ที่นิยมรัสเซียได้มี
ระบบอาวุธบุ๊กมิสไซล์ครอบครองอย่างน้อย 1 ระบบ ก็ไม่ได้เป็นที่ยืนยัน หรือถ้าเข้าถึงได้ก็อาจสามารถใช้
งานได้ แต่จะต้องมีการฝึกใช้งานมาแล้ว เพราะก่อนหน้านี้มีรายงานว่าเครื่องบินของทางการยูเครนถูกยิงตก
จากอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบบุคคล หรือ MANPADS ที่สามารถถือเคลื่อนที่ไปมาได้ แต่อาวุธแบบ
นี้มีระยะยิงแค่ 10 กม.ในระดับเพดานบินไม่สูงมากเท่านั้น
สำหรับ ระบบมิสไซล์บู๊ค (Buk Missle System) หรือที่นาโตรู้จักมันในชื่อ เอสเอ-11 แกดฟลาย และ
เอสเอ-17 กริซลีย์ ในรัสเซียใช้รหัสเรียกว่า 9М38 หรือ 9M317 เป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ ต่อต้าน
อากาศยานพิสัยกลางนำวิถีด้วยเรดาร์เซมิแอคทีฟ (ใช้คลื่นเรดาร์นำทางตลอดเวลาจนกว่ากระทบเป้าหมาย)
จุดระเบิดด้วยเรดาร์เฉียดระเบิด (Radar proximity fuse) หัวรบเป็นระเบิดแรงสูงและสะเก็ดหนัก 70 กก.
ยิงได้ไกล 30 กม. ยิงได้สูงถึง 46,000 ฟุต (บางรุ่นยิงได้ถึง 80,000 ฟุต) ความเร็วสูงถึง 4 มัค โดยจรวด
จะติดตั้งกับยานสายพานหุ้มเกราะ พร้อมชุดยิง เรียกว่า Buk-M2 ออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นอากาศยาน
ปีกนิ่ง-ปีกหมุน ขีปนาวุธร่อน และอากาศยานไร้นักบิน เป็นต้น
นิค เดอ ลารินากา นักวิเคราะห์ของ IHS Jane’s Defence ยืนยันข้อสงสัยของนายทัก ว่า ระบบบู๊ค 9K37
หรือ S-300 หรือ ชื่อนาโต เอสเอ-10 กรัมเบิล น่าจะมีส่วนในเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โดยรัสเซียและยูเครน
ต่างมีระบบแซมชนิดนี้อยู่ในคลังอาวุธของตัวเอง
ก่อนหน้านี้ นักข่าวของเอพี รายงานว่าพบระบบบู๊คใกล้กับทางตะวันออกของยูเครนในเมือง Snizhne
ขณะที่มีภาพจากทวิตเตอร์ของกลุ่มกบฎที่นิยมรัสเซีย โพสภาพของระบบมิสไซล์บู๊คที่ในเวลาต่อมา
ได้มีการลบภาพนี้ออก ทำให้เป็นข้อสงสัยว่ากลุ่มกบฎมีระบบอาวุธชนิดนี้ในครอบครองอย่างน้อย 1 ระบบ
พล.อ.เควิน ไรอัน นายทหารเกษียนอายุ ผู้อำนวยการโครงการกลาโหมและข่าวกรองที่ Belfer
ศูนย์วิทยาศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า ระบบบุ๊คมี
ความสามารถในการสอยเครื่องบินโดยสารตกจากความสูงมากกว่าระดับนั้น แแต่ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่
กลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดนที่นิยมรัสเซียเหล่านี้ สามารถที่จะควบคุมระบบอาวุธที่ซับซ้อนแบบนี้ แล้วใช้
มันยิงเครื่องบินโดยสารตก เนื่องจากต้องใช้เวลาฝึกอบรมนานพอสมควร และ จะต้องมีการประสานการ
ทำงานเพื่อที่จะยิงให้มิสไซล์กระทบเป้าหมาย ดังนั้นหากมันถูกยิงตกจริงนั่นต้องเป็นฝีมือของทหารมืออาชีพ
หรือ ไม่มันก็เป็นเรื่องอุบัติเหตุ เพราะระบบบู๊คมิสไซล์ไม่ใช้อาวุธแบบที่ใครก็สามารถลากออกมาจากโรงรถ
แล้วเอาไปยิงได้
แดน วอสเซอบลีย์ บรรณาธิการของ IHS Jane’s Defence อเมริกา กล่าวกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ว่า
โดยทั่วไปแล้วชุดยิงมิสไซล์ต่อต้านอากาศยาน ต้องมีรถควบคุมสั่งการ รถที่ติดตั้งระบบเรดาร์ ชุดยิง
เคลื่อนที่ได้ พร้อม ระบบรถบรรทุกลูกมิสไซล์และตัวโหลดมิสไซล์ จึงถือเป็น 1 ฐานยิงที่สมบูรณ์
ทั้งนี้ ระบบต่อต้านอากาศยาน บู๊ค มีใช้งานในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศในเอเชีย อาทิ อินเดีย
จีน เกาหลีเหนือ และ เวียดนาม ที่เพิ่งสั่งซื้อ Buk-M2E ไป 6 ระบบ