จังหวัดลพบุรี
มีเอกลักษณ์โดดเด่น หลายอย่าง หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ จังหวัดลพบุรีเป็นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เพราะเหตุว่าเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราชธานี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงประทับเสด็จ ที่จังหวัดลพบุรีมากกว่าที่ กรุงศรีอยุธยา เสียอีก
จนแทบจะกว่าได้ว่า ลพบุรี เป็นเมืองหลวงแห่งที่ สอง ของไทยในยุคนั้น
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระราชชนนีคือ พระองค์เจ้าศิริกัลยา พระราชธิดา ในสมเด็จ พระเอกาทศรก พระสูตรเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พุทธศักราช 2175 เมื่อพระชันษา ได้ 1 เดือน ได้ค่าพิธีขึ้นพระอู่ก็เกิดเหตุมหัศจรรย์ ขณะที่พระราชกุมารอบรรทมอยู่ในพระอู่ พระญาติ ฝ่ายในยังเอิญเห็นพระองค์มี 4 พระกร พระเจ้าประสาททองจึง ตรัสให้เอานิมิตนี้เป็นพระนาม ของราชกุมารว่า “พระนารายณ์ราชกุมาร”
ในเวลาต่อมา เมื่อทรงอยู่ในเยาว์วัย ได้เกิดไฟไหม้ที่พระที่นั่ง มังคลาภิเษก ในขณะทำการดับไฟที่กำลังลุกไหม้อย่างโกลาหลอยู่นั้น ผู้คนเป็นอันมากต่างก็แลเห็นพระองค์มี 4 พระกร เสด็จขึ้นไปดับไฟ และไฟก็มอดด้วยพระเดชานุภาพของพระองค์ ข้าราชการทั้งปวงจึงถวายพระนามว่า “พระนารายณ์”
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2199 ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา เฉลิมพระนามตามที่ปรากฏ ในพระสุพรรณบัฏว่า
“สมเด็จพระบรมราชาธิราชธิบดีศรีสรรเพชญ์..(ตามด้วยข้อความอื่นๆ ยาว 10 บรรทัด)….
มหาดิลกนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์”
แต่ผู้คนทั่วไปขนานพระนามว่า”สมเด็จพระนารายณ์” มากกว่า ต่อมาในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี จึงถวายสมัญญาว่า”มหาราช”
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นทั้งนักรบและปกครอง และ นักปราชญ์ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ ต้องกรำศึกกับพม่าอยู่นานจนกระทั่งพม่ายอมแพ้ราบคาบ ไม่กล้ามาตอแยอีก ต่อจากนั้นพระองค์จึงทรงหันมาทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญในทุกๆด้าน มีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศ ไปไกลถึงทวีปยุโรป แผ่นดินไทยยุคนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีความก้าวหน้าทุกด้าน การแต่งตำราเรียนภาษาไทย เล่มแรกก็เริ่มในรัชกาลนี้ เนื่องมาจากสมเด็จพระนารายณ์ ทรงเห็นว่า อยุธยาอยู่ใกล้ปากอ่าว ซึ่งเรือรบข้าศึกจากต่างประเทศอาจเข้ามาถึงได้ง่าย พระองค์จึงทรงโปรดให้จัดสร้างพระราชวังขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ ลพบุรี เมื่อปี 2209 และทรงประทับอยู่ ณ ที่นี่ปีละ 8-9 เดือน ตลอดรัชสมัยของพระองค์ หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ในปี2231
ก็ถูกปล่อยให้รกร้าง กระทั่งได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี 2399 นั่นคือ พระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ ในปัจจุบัน
งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้น มีการจัดเป็นประจำทุกปีมาช้านาน เมื่อรำลึกถึงพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ โดยกำหนดจัด
ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ มีการทำบุญบวงสรวงนายตอนเช้า ตอนสายๆ มีการแสดงรำกระบี่กระบอง อาวุธที่พระองค์ทรงโปรด และการแสดงมวยไทยคาดเชือก
กลางคืนมีการแสดงมหรสพต่างๆ บางปีก็จัดยิ่งใหญ่ บางพลีก็จัดแต่พอเป็นพิธี ทั้งนี้เป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจของบ้านเมืองเป็นสำคัญ
กิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ มีการแสดงกระบวนแห่และแสดงแบบจำลอง วิถีชีวิตผู้คนสมัยก่อนนั้นจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัย นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี
จุดประสงค์นอกจากเป็นการรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์แล้วยังเป็นการกระตุ้น ให้เกิดการท่องเที่ยว ผู้คนทุกสารทิศเดินทางมาร่วมและชมงานอย่างล้นหลามทุกปี
“งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดครั้งแรก 17-18 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2522 เห็นเวลา 45 ปี แล้ว
จนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วและจิตอยู่ในปฏิทินการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
การจัดงานปีนี้กำหนดให้มีขึ้น
ระหว่างวันศุกร์ที่ 9 ถึงวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 รวมระยะเวลา 10 วัน 10 คืน ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ และโบราณสถานใกล้เคียง
จึงขอถือ
โอกาสนี้กริ่งขอถือโอกาสนี้เชิญชวนทุกท่านไปเที่ยวและชม ท่านชายแต่งกายด้วยชุดไทย ท่านหญิง แต่งกายด้วยชุดห่มสไบเฉียงสีแดงสด ที่อัดกลีบ พร้อมนุ่งผ้าลายอย่าง สวมเครื่องทอง
กิจกรรมในงานนี้มีทั้งกลางวันและกลางคืนด้วยบรรยากาศและสีสันที่แตกต่างกันซึ่งจะหาชมที่อื่นใดไม่ได้อีกแล้ว ผู้ที่มาชมงานนอกจากจะได้สัมผัสกับบรรยากาศย้อนยุคแล้วท่านยังจะได้เที่ยวชมและซื้อสินค้า OTOP ของฝากนานาชนิดติดมือกลับบ้านด้วย
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ผู้อำนวยการ ศูนย์ข่าวภาคกลาง หนังสือพิมพ์
5 เหล่าทัพ